วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม 
Maejo Information Technology and Innovation Journal (MITIJ)
 ค้นหา | หน้าแรก   
 
 
 
» หน้าแรก
» ฉบับปัจจุบัน
» ฉบับย้อนหลัง
» ค้นหาวารสาร/บทความ
» ลงทะเบียน (OJS/PKP)
 

                               :: รายละเอียดบทความ ::
กลับสู่เมนูค้นหา 
ชื่อบทความ
การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์: กรณีศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนประถมสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
ชื่อผู้แต่ง นราธิป บาลลา, ประชา อุดมญาติ และศิริพล แสนบุญส่ง (Narathip Banla, Pracha Udomyad and Siripon Saenboonsong)
หน่วยงาน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
ชื่อวารสาร วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 กรกฏาคม – ธันวาคม 2558
บทคัดย่อ
            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 2) เพื่อศึกษาคุณภาพของแอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อแอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 4/2 โรงเรียนประถมสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา จำนวน 36 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ แบบประเมินคุณภาพ และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
            ผลการวิจัยพบว่าคุณภาพแอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษบนระบบปฏิบัติการ
แอนดรอยด์ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหามีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( = 4.43, S.D. = 0.55) และด้านเทคนิคและการออกแบบอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.56, S.D. = 0.50)  และผู้ใช้มีความพึงพอใจต่อแอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.55, S.D. = 0.62) สรุปได้ว่าแอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ที่พัฒนาขึ้น สามารถนำไปใช้เป็นสื่อประกอบการเรียนในวิชาภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษาปีที่ 4 ได้
คำสำคัญ การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์: กรณีศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนประถมสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
ปี พ.ศ. 2558
ปีที่ (Vol.) 1
ฉบับที่ (No.) 2
เดือนที่พิมพ์ กรกฎาคม - ธันวาคม
เลขที่หน้า (Page) 69-81
ISSN 2672-9008 (Online)
DOI 10.14456/mitij.2015.14
ORCID_ID 0009-0009-6174-199X
ไฟล์บทความ https://mitij.mju.ac.th/ARTICLE/R58014.pdf
  
เอกสารอ้างอิง 
  ดาราวรรณ นนทวาสี และวิวัฒน์ มีสุวรรณ์. (2556). การพัฒนาแอพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ : กรณีศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนท่าขุมเงินวิทยาคาร จังหวัดลำพูน. การประชุมทางวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15 มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น. ค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2558, จาก http://gsbooks.gs.kku.ac.th/57/grc15/files/hmo31.pdf.
  ณัฐกร สงคราม. (2553). การออกแบบและพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  เนาวรัตน์ กองตัน. (2551). การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนคาศัพท์ภาษาอังกฤษ สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
  บุรัสกร อยู่สุข คงเทพ บุญมี วรพันธ์ สาระสุรีย์ภรณ์ และนิติ วิทยาวิโรจน์. (2558). แอพพลิเคชันคำสั่งเสียงเพื่อเข้าสู่บทเรียนภาษาอังกฤษ. วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 1(1): 55-69.
  พรทิพย์ เล่หงส์ ปณิตา วรรณพิรุณ และปรัชญนันท์ นิลสุข. (2557). การพัฒนาบทเรียนแบบการ์ตูนแอนิเมชันบนแท็บเล็ตเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านเขียนภาษาไทยของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ 5(2): 67-75.
  วิลัยพร ไชยสิทธิ์. (2554). การพัฒนาแอพพลิเคชั่นฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์บนเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตสาหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
  ศรีศักดิ์ จามรมาน. (18 มกราคม 2548). สัมภาษณ์. ประธานผู้บริหาร. วิทยาลัยการศึกษาทางไกลทางอินเทอร์เน็ต มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ.
  สุนันทา กสิวิวัฒน์ พิทักษ์ นิลนพคุณ และชาตรี เกิดธรรม. (2557). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนคาศัพท์ภาษาอังกฤษ สาหรับนักเรียนช้ันประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารวไลย-อลงกรณ์ปริทัศน์ 4(2): 115-126.
  สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
  โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2555). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
  Reychav, I., & Wu, D. (2015). Mobile collaborative learning: the role of individual learning in groups through text and video content delivery in tablets. Computers in Human Behavior, 50, 520-534.
  Thornbury, S. (2546). วิธีการสอนศัพท์. (อมรา เวชพฤติ และคณะ, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: ออฟเซ็ท ครีเอชั่น.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กลับสู่ เมนูค้นหา
       
กองบรรณาธิการวารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290  mitij@mju.ac.th