วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม 
Maejo Information Technology and Innovation Journal (MITIJ)
 ค้นหา | หน้าแรก   
 
 
 
» หน้าแรก
» ฉบับปัจจุบัน
» ฉบับย้อนหลัง
» ค้นหาวารสาร/บทความ
» ลงทะเบียน (OJS/PKP)
 

                               :: รายละเอียดบทความ ::
กลับสู่เมนูค้นหา 
ชื่อบทความ
การพัฒนาโปสเตอร์อินโฟกราฟิกอัจฉริยะผ่านสื่อความเป็นจริงเสริม เรื่อง มาตราตัวสะกด
ชื่อผู้แต่ง มหาชาติ อินทโชติ, กัลยาณี เจริญช่าง นุชมี, กมลพรรณ ชุ่มอิ่ม, จารุวรรณ เหล็กไหล, นภสร นวลสี (Mahachart Inthachot, Kalyanee Charoenchang Nuchmee, Kamolpan Chum-Im, Juraiwan Leklai, Napasorn Nualsri)
หน่วยงาน สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (Major of Educational Technology and Communication, Faculty of Technical Education, Rajamangala University of Technology Thanyaburi)
ชื่อวารสาร วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2561
บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโปสเตอร์อินโฟกราฟิกอัจฉริยะผ่านสื่อความเป็นจริงเสริม เรื่อง มาตราตัวสะกด 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนจากโปสเตอร์อินโฟกราฟิกอัจฉริยะผ่านสื่อความเป็นจริงเสริม เรื่อง มาตราตัวสะกด และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนจากโปสเตอร์อินโฟกราฟิกอัจฉริยะผ่านสื่อความเป็นจริงเสริม เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนธัญญสิทธิศิลป์ จ.ปทุมธานี จำนวน 30 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) โปสเตอร์อินโฟกราฟิกอัจฉริยะผ่านสื่อความเป็นจริงเสริม เรื่อง มาตราตัวสะกด 2) แบบประเมินคุณภาพสื่อ 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน

         ผลการวิจัยพบว่า (1) คุณภาพของโปสเตอร์อินโฟกราฟิกอัจฉริยะผ่านสื่อความเป็นจริงเสริม เรื่อง มาตราตัวสะกด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.53 มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก  (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพบว่า หลังเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน เท่ากับ 25.10 และก่อนเรียน 13.57 และ (3) ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโปสเตอร์อินโฟกราฟิกอัจฉริยะผ่านสื่อความเป็นจริงเสริม เรื่อง มาตราตัวสะกด มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.00 อยู่ในระดับมากที่สุด

คำสำคัญ การพัฒนาโปสเตอร์อินโฟกราฟิกอัจฉริยะผ่านสื่อความเป็นจริงเสริม เรื่อง มาตราตัวสะกด
ปี พ.ศ. 2561
ปีที่ (Vol.) 4
ฉบับที่ (No.) 1
เดือนที่พิมพ์ มกราคม - มิถุนายน
เลขที่หน้า (Page) 1-13
ISSN 2672-9008 (Online)
DOI 10.14456/mitij.2018.1
ORCID_ID 0009-0005-8025-8806
ไฟล์บทความ https://mitij.mju.ac.th/ARTICLE/R61001.pdf
  
เอกสารอ้างอิง 
  วนิดา บุตตะมา.(2555). ความสำคัญของเทคโนโลยีในสังคมปัจจุบัน. [ออนไลน์] สืบค้นวันที่22 มกราคม 2557. เข้าถึงได้จาก http://www.gotoknow.org/posts/503459.
  รักษพล ธนานุวงศ์. (2556). เรียนรู้สภาวะโลกร้อนด้วย STEM Education แบบ บูรณาการ. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2559. เข้าถึงได้จาก http://physics.ipst.ac.th/wp-content/uploads/sites/2/2014/11/STEM_Penguins.pdf.
  ภาสกร ใหลสกุล.(2557). Augmented Reality (AR) ความจริงต้องขยาย. [ออนไลน์] สืบค้นวันที่ 16 มกราคม 2559. เข้าถึงได้จาก https://tednet.wordpress.com/2014/05/19/gamification-เปลี่ยนโลกให้เป็นเกม/
  ณัฐมา ไชยวรโยธิน. 2556. การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องศิลปะการแสดงประจำชาติไทยในประชาคมอาเซียนด้วยเทคโนโลยีออรัสม่า ปริญญามหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีและสื่อสาร การศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, หน้า8.
  ไปรพล เทพวงษ์ และคณะ. การพัฒนาบทเรียนสื่อความจริงเสริมบนอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ เรื่องพืชรอบตัวเราสำหรับนักเรียนที่บกพร่องทางการได้ยิน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. ตาม หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต. สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 2558.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กลับสู่ เมนูค้นหา
       
กองบรรณาธิการวารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290  mitij@mju.ac.th