วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม 
Maejo Information Technology and Innovation Journal (MITIJ)
 ค้นหา | หน้าแรก   
 
 
 
» หน้าแรก
» ฉบับปัจจุบัน
» ฉบับย้อนหลัง
» ค้นหาวารสาร/บทความ
» ลงทะเบียน (OJS/PKP)
 

                               :: รายละเอียดบทความ ::
กลับสู่เมนูค้นหา 
ชื่อบทความ
การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชื่อผู้แต่ง ทรัพย์หิรัญ จันทรักษ์, สุรสิทธิ์ อุ้ยปัดฌาวงศ์ (Suphirun Jantarak and Surasit Uypatchawong)
หน่วยงาน (1) คณะครุศาสตร์ สาขาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร (2) คณะวิทยาศาสตร์ สาขาคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
ชื่อวารสาร วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2561
บทคัดย่อ
           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบและตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างโมเดลภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็นสองระยะ คือ ระยะแรกเป็นการพัฒนาโมเดล โดยศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ระยะที่สองเป็นการตรวจสอบสมมติฐานการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2561 จำนวน 400 คน ได้มาโดยใช้วิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.38 ถึง 0.66 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .89 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน
         ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียน ประกอบด้วย 1. ใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน 2. ใช้เทคโนโลยีในการบริหารงาน 3. ใช้เทคโนโลยีในการวัดผลประเมินผลและ 4. มีจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี โมเดลองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าสถิติวัดความกลมกลืนของโมเดล (X2= 52.01, p-value = 0.92, df = 68, X2/df = 0.76, RMSEA = 0.00, GFI = 0.98, AGFI = 0.97) และเมื่อพิจารณาค่าน้ำหนักองค์ประกอบ พบว่า ใช้เทคโนโลยีในการวัดผลและประเมินผล มีค่าน้ำหนักมากที่สุด รองลงมา คือ ใช้เทคโนโลยีในการบริหารงาน ใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน และมีจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีตามลำดับ
คำสำคัญ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ปี พ.ศ. 2561
ปีที่ (Vol.) 4
ฉบับที่ (No.) 1
เดือนที่พิมพ์ มกราคม-มิถุนายน
เลขที่หน้า (Page) 25-37
ISSN 2672-9008 (Online)
DOI 10.14456/mitij.2018.3
ORCID_ID
ไฟล์บทความ https://mitij.mju.ac.th/ARTICLE/R61003.pdf
  
เอกสารอ้างอิง 
  กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). รายงานผลการศึกษาตัวชี้วัด ICT ด้านการศึกษาในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการปีการศึกษา 2557. ค้นเมื่อ 12 มกราคม 2561, จาก http://www.moc.moe.go.th/upload-cms/files/ICT(7).pdf.
  นิคม นาคอ้าย. (2549). องค์ประกอบคุณลักษณะผู้นำเชิงอิเล็กทรอนิกส์และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลภาวะผู้นำเชิงอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
  บรรจบ บุญจันทร์. (2554). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
  บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
  พิชิต โคตรมา. (2551). การศึกษาสภาพและปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.
  พวงรัตน์ เกษรแพทย์. (2545). การวางแผนกลยุทธ์สาหรับนักการศึกษา. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
  เพ็ญวรา ชูประวัติ. (2553). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  รุ่งนภา จิตรโรจนรักษ์. (2556). เปิด 6 อุปสรรคการทำงานครูไทย สอนหนัก ขาดจิตวิญญาณ ไร้ทักษะ ICT. ค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2561, จาก http://www.enn.co.th/5942.
  สุธาสิณี สว่างศรี (2554). การพัฒนาภาวะผู้นำด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ ค.ด. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
  สุริยานนน์ พลสิม. (2556). ไอซีทีกับสังคมแห่งการเรียนรู้. ค้นเมื่อ 23 มกราคม 2560, จาก https://www.gotoknow.org/posts/555573.
  เสาวณี ตรีพุทธรัตน์. (2547). ปัจจัยองค์การที่ส่งผลต่อความมีประสิทธิผลในการนำหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 ไปใช้ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
  อุทัย แดนพันธ์. (2557). สภาพและปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
  eBizMBA. (2015). Top 15 Most Popular Social Networking Sites | December 2015. Retrieved 18 January 2017,fromhttp://www.ebizmba.com/articles /socialnetworking-websites.
  Kozloski, K. C. (2006). Principal leadership for technology integration: A study of principal technology leadership. Doctoral dissertation, Drexel University.
  Redish, T., & Chan, T. C. (2007). Technology leadership: Aspiring administrators’ perceptions of their leadership preparation program. Electronic Journal for the Integration of Technology in Education, 6(1), 123-139.
  Silver, C.A. (2000). Where technology and knowledge meet. Journal of Business Strategy, 21(6), 28-33.
  Southwest Educational Development Laboratory. (2009). Leadership. Retrieved 30 January 2017, fromhttp://www.sedl.org/expertise/leadership.html.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กลับสู่ เมนูค้นหา
       
กองบรรณาธิการวารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290  mitij@mju.ac.th