วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม 
Maejo Information Technology and Innovation Journal (MITIJ)
 ค้นหา | หน้าแรก   
 
 
 
» หน้าแรก
» ฉบับปัจจุบัน
» ฉบับย้อนหลัง
» ค้นหาวารสาร/บทความ
» ลงทะเบียน (OJS/PKP)
 

                               :: รายละเอียดบทความ ::
กลับสู่เมนูค้นหา 
ชื่อบทความ
ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้ Google Classroom ของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ชื่อผู้แต่ง วรชนันท์ ชูทอง และ เอกวิทย์ สิทธิวะ (Warachanan Choothong and Ekkawit Sittiwa)
หน่วยงาน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ (Major of Computer Science and Information Technology, Faculty of Science and Technology, Nakhon Sawan Rajabhat University)
ชื่อวารสาร วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2561
บทคัดย่อ
           จุดประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้ Google Classroom 2) ระดับการยอมรับการใช้ Google Classroom และ 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะของการประยุกต์ใช้ Google Classroom กับการเรียนการสอนของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ วิธีการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายจากอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ จำนวน 198 คน ผลการวิจัย พบว่า  1)  ปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์ของ Google Classroom (perceived usefulness) และ พฤติกรรมความตั้งใจจะใช้ Google Classroom (behavioral intention) มีอิทธิพลทางบวกต่อการยอมรับการใช้ Google Classroom  โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยสมการพยากรณ์คือ  Y = 0.366 + (0.262*)X1 + (0.789*)X3     2) การยอมรับการใช้ Google Classroomฯ อยู่ในระดับมาก 3)  ข้อเสนอแนะการใช้ Google Classroom คือ  การมีนโยบายหรือข้อบังคับให้อาจารย์และนักศึกษานำไปใช้ และมีการจัดอบรมการใช้งาน Google Classroom อย่างต่อเนื่อง
คำสำคัญ ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้ Google Classroom ของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ปี พ.ศ. 2561
ปีที่ (Vol.) 4
ฉบับที่ (No.) 1
เดือนที่พิมพ์ มกราคม - มิถุนายน
เลขที่หน้า (Page) 48-60
ISSN 2672-9008 (Online)
DOI 10.14456/mitij.2018.5
ORCID_ID 0009-0003-1685-9573
ไฟล์บทความ https://mitij.mju.ac.th/ARTICLE/R61005.pdf
  
เอกสารอ้างอิง 
  กฤษตฌา พรหมรักษา และคณะ. (2561). แนวทางส่งเสริมการยอมรับกูเกิลแอปส์เพื่อการเรียนการสอน กรณีศึกษา : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม.วารสารบัณฑิตศึกษา.15(69), 33-42.
  ธีระ กุลสวัสดิ์. (2557). การยอมรับอีเลิร์นนิ่งของนิสิตระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal. 7(1),308-320.
  นพมาศ เสียมไหม. (2554). การศึกษาการยอมรับในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ e-Government (G2E) ของข้าราชการระดับปฏิบัติการ กรณีศึกษา : สำนักปลัดกระทรวงมหาดไทยกับสำนักปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารเทคโนโลยี, วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
  ปัทมา เหมียนคิด. (2551). ความพร้อมและการยอมรับ ในการจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยศรีปทุม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยการศึกษา, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
  พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2547). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: เฮ้าส์ ออฟิ เคอร์มีสท์.
  สรพรรค ภักดีศรี. (2556). การศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ผ่านเว็บของผู้เรียน. วารสารนักบริหาร Executive Journal. 33(4), 26-32.
  Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychological Testing. 5th ed. New York: Harper Collins.
  Davis, F. D. (1989). Perceived Usefulness, Perceived Ease of Use, and User Acceptance of Information Technology. MIS quarterly, 319 - 340.
  Google. (2560). Classroom ความช่วยเหลือ. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2560 จาก https://support.google.com/edu/classroom.
  Venkatesh, V., & Davis, F. D. (2000). A theoretical extension of the technology acceptance model: Four longitudinal field studies. Management Science, 46(2), 186–204.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กลับสู่ เมนูค้นหา
       
กองบรรณาธิการวารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290  mitij@mju.ac.th