วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม 
Maejo Information Technology and Innovation Journal (MITIJ)
 ค้นหา | หน้าแรก   
 
 
 
» หน้าแรก
» ฉบับปัจจุบัน
» ฉบับย้อนหลัง
» ค้นหาวารสาร/บทความ
» ลงทะเบียน (OJS/PKP)
 

                               :: รายละเอียดบทความ ::
กลับสู่เมนูค้นหา 
ชื่อบทความ
การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้บนสมาร์ทโฟน เรื่อง สัตว์มีกระดูกสันหลัง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวรดิตถ์วิทยาประสูทน์
ชื่อผู้แต่ง สุเมธ ปัจฉิมสุภาคม, จิรายุทธ รุ่งแสง และ สุวนิตย์ รุ่งราตรี (Sumate Patchimsipakom, Jirayut Rungsaeng and Suwanit Rungratri)
หน่วยงาน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา (Department of Computer Education, Faculty of Education, Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University)
ชื่อวารสาร วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2561
บทคัดย่อ
           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้บนสมาร์ทโฟน เรื่อง สัตว์มีกระดูกสันหลัง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวรดิตถ์วิทยาประสูทน์ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง สัตว์มีกระดูกสันหลัง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวรดิตถ์วิทยาประสูทน์ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้บนสมาร์ทโฟน กลุ่มเป้าที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนวรดิตถ์วิทยาประสูทน์  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้บนสมาร์ทโฟนเรื่อง สัตว์มีกระดูกสันหลัง 2) แบบประเมินคุณภาพ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบวัดความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าทดสอบที
           ผลการวิจัย พบว่า 1) แอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้บนสมาร์ทโฟนที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.27, S.D. = 0.63) 2) นักเรียนที่เรียนด้วยแอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้บนสมาร์ทโฟนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อแอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้บนสมาร์ทโฟนอยู่ในระดับมาก (= 3.70, S.D. = 0.17)
คำสำคัญ แอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้, สมาร์ทโฟน, สัตว์มีกระดูกสันหลัง
ปี พ.ศ. 2561
ปีที่ (Vol.) 4
ฉบับที่ (No.) 2
เดือนที่พิมพ์ กรกฏาคม-ธันวาคม
เลขที่หน้า (Page) 46-57
ISSN 2672-9008 (Online)
DOI 10.14456/mitij.2018.12
ORCID_ID
ไฟล์บทความ https://mitij.mju.ac.th/ARTICLE/R61013.pdf
  
เอกสารอ้างอิง 
  ณัฐกร สงคราม. (2553). การออกแบบและพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  ดาราวรรณ นนทวาสี, วิวัฒน์ มีสุวรรณ์ และเอกสิทธิ์ เทียมแก้ว. (2557). การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์กรณีศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนทาขุมเงินวิทยาคาร จังหวัดลำพูน. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15 มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (น. 2182-2191). ขอนแก่น.
  นราธิป บาลลา, ประชา อุดมญาติ และศิริพล แสนบุญส่ง. (2558). การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์: กรณีศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนประถมสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม. 1(2), 69-81.
  ภูมินทร์ ดวงหาคลัง, พัฒน์นรี ศรีสมพันธ์ และโรเบิร์ท แบทซิงเงอร์. (ม.ป.ป.). MIT App Inventor กับการพัฒนาเพื่อการประยุกต์ใช้จริง Real-world Applications Development with MIT App Inventor. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย.
  วชิราพรรณ แก้วประพันธ์ และคณะ. (2559). เกมการศึกษาที่ใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือบนโทรศัพท์เคลื่อนที่. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี. 12(6), 1564-1602.
  ศรีศักดิ์ จามรมาน. (2548). สัมภาษณ์. ประธานผู้บริหาร. วิทยาลัยการศึกษาทางไกลทางอินเทอร์เน็ต มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ.
  สุทธิกานต์ บ่อจักรพันธ์ และคณะ. (2561). การพัฒนาแอปพลิเคชันการเรียนรู้ เรื่อง ระบบย่อยอาหารของมนุษย์ ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสมือน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 6(1), 95-111.
  สุรางค์ เธียรหิรัญ และคณะ. (2560). คู่มือการเรียนรู้ความหลากหลายทางชีวิภาพด้านสัตว์ (พิมพ์ครั้งที่ 1). สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหาผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.
  อนุสา แก้วสมทอง และอนุรักษ์ อุดมเวช. (2560). การพัฒนาแอปพลิเคชันบนระบบแอนดรอยด์เพื่อการเรียนรู้เรื่องโมเมนต์ของแรง สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 20(3), 229-235.
  อลงกต เกิดพันธุ์, และเอกนฤน บางท่าไม้. (2557). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียวิชาคอมพิวเตอร์ เรื่อง อินเทอร์เน็ต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลนครปฐม. วารสารวิชาการ Viridian E-Journal. 7(3), 1098-1112.
  Reychav, I., & Wu, D. (2015). Mobile collaborative learning: the role of individual learning in groups through text and video content delivery in tablets, Computers in Human Behavior, 50, 520-534.
  Richey, R. C., Klein, J. D., & Tracey, M. W. (2011). The instructional design knowledge base. New York: Taylor & Francis.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กลับสู่ เมนูค้นหา
       
กองบรรณาธิการวารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290  mitij@mju.ac.th