วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม 
Maejo Information Technology and Innovation Journal (MITIJ)
 ค้นหา | หน้าแรก   
 
 
 
» หน้าแรก
» ฉบับปัจจุบัน
» ฉบับย้อนหลัง
» ค้นหาวารสาร/บทความ
» ลงทะเบียน (OJS/PKP)
 

                               :: รายละเอียดบทความ ::
กลับสู่เมนูค้นหา 
ชื่อบทความ
การสำรวจระดับความลึกน้ำบาดาลเพื่อสนับสนุนการขุดเจาะน้ำบาดาลของเกษตรกร จังหวัดนครราชสีมา
ชื่อผู้แต่ง กิตติธัช วิชัยรัตน์, อำนาจ แสงกุดเลาะ และ ชเนตตี พิมพ์สวรรค์ (Kittithuch Wichairat, Amnat Sangkudloa and Chanettee Pimsawan)
หน่วยงาน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (Faculty of Information Technology, Rajabhat Mahasarakham)
ชื่อวารสาร วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2562
บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ระดับความลึกของน้ำบาดาลในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา 2) จำลองภูมิประเทศชั้นหินอุ้มน้ำใต้ผิวดินจังหวัดนครราชสีมา และ 3) คำนวณหาอัตราค่าใช้จ่ายในการขุดเจาะน้ำบาดาล
             ผลการวิจัย การวิเคราะห์ระดับความลึกของน้ำบาดาล เรียงตามพื้นที่ พบว่า ระดับความลึก 26-50 เมตร มีพื้นที่มากที่สุดอันดับที่ 1 คือ 10,192.04 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 49.12 พบพื้นที่มากที่สุดในอำเภอปากช่อง อันดับที่ 2 ระดับความลึก 51-75 เมตร มีพื้นที่ 5,421.20 ตารางกิโลเมตร พบพื้นที่มากที่สุดในอำเภอปากช่อง คิดเป็นร้อยละ 26.13 ลำดับที่ 3 ระดับความลึก 1-25 เมตร มีพื้นที่ 2,858.96 ตารางกิโลเมตร พบพื้นที่มากที่สุดในอำเภอโนนสูง คิดเป็นร้อยละ 13.78 และระดับความลึกที่มีพื้นที่น้อยที่สุดคือ ระดับความลึก 276 - 300 เมตร มีพื้นที่ 0.20 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 0.001 พบพื้นที่มากที่สุดในอำเภอเทพารักษ์ ผลการวิเคราะห์ระดับภูมิประเทศชั้นหินอุ้มน้ำจังหวัดนครราชสีมา โดยจำแนกออกเป็น 9 ระดับ พบว่าระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลที่มีพื้นที่มากที่สุดคือ 120-180 เมตร มีพื้นที่ 9416.32 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 45.37 อันดับที่ 2 ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 180-240 เมตร มีพื้นที่ 4555.84 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 21.95 อันดับที่ 3 ความสูงจากระดับน้ำทะเล 240-300 เมตร มีพื้นที่ 1802.16 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 8.68 และพื้นที่ที่มีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลน้อยที่สุดคือ 1-60 เมตร มีพื้นที่ 65.52 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 0.32 ของพื้นที่ทั้งหมด และผลจากการคำนวณหาอัตราค่าใช้จ่ายในการขุดเจาะน้ำบาดาล พบว่า ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการขุดเจาะบ่อบาดาล คือ 768 บาท/เมตร

คำสำคัญ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์, ระดับความลึกน้ำบาดาล
ปี พ.ศ. 2562
ปีที่ (Vol.) 5
ฉบับที่ (No.) 2
เดือนที่พิมพ์ กรกฏาคม-ธันวาคม
เลขที่หน้า (Page) 1-12
ISSN 2672-9008 (Online)
DOI 10.14456/mitij.2019.8
ORCID_ID
ไฟล์บทความ https://mitij.mju.ac.th/ARTICLE/R62009.pdf
  
เอกสารอ้างอิง 
  กาญจนา เจริญแนว. (2558). การสำรวจน้ำบาดาลโดยการสำรวจอุทกธรณีวิทยาและการสำรวจธรณีฟิสิกส์พื้นที่บ้านทางพาดปอแดงตำบลโนนสำราญอำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น. ขอนแก่น: สำนักทรัพยากรน้ำบาดาลเขต 4 ขอนแก่น กรมทรัพยากรน้ำบาดาล.
  ไทยรัฐออนไลน์. (2558). วิกฤติภัยแล้ง โคราชระดมทุกหน่วยงาน แก้ปัญหาเขื่อนลำตะคอง. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2560. จาก https://www.thairath.co.th/content/507253
  ศูนย์วิจัยภูมิสารสนเทศเพื่อประเทศไทย. (ม.ป.ป.) ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System). สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2560. จาก www.gisthai.org/about-gis/gis.html.
  สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2558). น้ำบาดาล (groundwater) : แหล่งน้ำสำรอง. เอกสารวิชาการ สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2560 จาก https://library2.parliament.go.th/ejournal/content_af/2558/oct2558-3.pdf
  RALPH C. HEATH, (2526).Basic ground-water hydrology. Reston, VA. U.S. Geological Survey.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กลับสู่ เมนูค้นหา
       
กองบรรณาธิการวารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290  mitij@mju.ac.th