วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม 
Maejo Information Technology and Innovation Journal (MITIJ)
 ค้นหา | หน้าแรก   
 
 
 
» หน้าแรก
» ฉบับปัจจุบัน
» ฉบับย้อนหลัง
» ค้นหาวารสาร/บทความ
» ลงทะเบียน (OJS/PKP)
 

                               :: รายละเอียดบทความ ::
กลับสู่เมนูค้นหา 
ชื่อบทความ
การพัฒนาโปรแกรมการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์แบบพหุมิติ สำหรับการทดสอบ O-NET วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ชื่อผู้แต่ง ศักดิ์ชัย จันทะแสง (Sakchai Jantasang)
หน่วยงาน สำนักงานประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ (Office of Educational Quality Assurance, Rajamangala University of Technology Krungthep)
ชื่อวารสาร วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2562
บทคัดย่อ

       การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำคลังข้อสอบตามค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบแบบเป็นช่วงของแต่ละระดับชั้นร่วมกับการจัดสมดุลเนื้อหา และพัฒนาโปรแกรมการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์แบบพหุมิติ สำหรับการทดสอบ O-NET วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้ข้อสอบ O-NET วิชาคณิตศาสตร์ ของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ระหว่างปีการศึกษา 2551–2553 และปีการศึกษา 2555–2559 มีข้อสอบที่ผ่านเกณฑ์การวิเคราะห์คุณภาพข้อสอบตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติ 3 พารามิเตอร์ จำนวน 193 ข้อ ข้อสอบมีค่าความยากในระดับยาก และพัฒนาโปรแกรมในรูปแบบของ Web Application โดยใช้ภาษา Java พัฒนาโปรแกรมและใช้ภาษา SQL เป็นคำสั่งในการเชื่อมโยงในฐานข้อมูล พัฒนาโปรแกรมการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์แบบพหุมิติตามแนวคิดของ Reckase และ Thompson and Weiss ระบบมีเว็บไซต์ที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว และประเมินความเหมาะสมของโปรแกรม ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง และนักเรียนจำนวน 30 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างตามสะดวก โดยใช้วิธี Black-Box Testing ปรากฏว่า การใช้งานของโปรแกรมการทดสอบด้วยคอมพิวเตอร์แบบพหุมิติ สำหรับการทดสอบ O-NET วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีความเหมาะสมของโปรแกรมอยู่ในเกณฑ์ดี เป็นที่พึงพอใจของผู้เชี่ยวชาญและนักเรียน

คำสำคัญ การทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์แบบพหุมิติ, ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติ, การทดสอบ O-NET วิชาคณิตศาสตร์
ปี พ.ศ. 2562
ปีที่ (Vol.) 5
ฉบับที่ (No.) 2
เดือนที่พิมพ์ กรกฎาคม - ธันวาคม
เลขที่หน้า (Page) 50-69
ISSN 2672-9008 (Online)
DOI 10.14456/mitij.2019.12
ORCID_ID 0009-0008-3759-3846
ไฟล์บทความ https://mitij.mju.ac.th/ARTICLE/R62013.pdf
  
เอกสารอ้างอิง 
  Anderson, L. W., Krathwohl, D. R., Airasian, P. W., Cruikshank, K. A., Mayer, R. E., Pintrich, P. R., ... & Wittrock, M. C. (2001). A taxonomy for learning, teaching, and assessing: A revision of Bloom’s taxonomy of educational objectives, abridged edition. New York: Longman.
  Bloom, B. S., Engelhart, M. D., Furst, E. J., Hill, W. H., & Krathwohl, D. R. (1956). Taxonomy of educational objetives: the classification of educational goals: handbook I: cognitive domain (No. 373.19 C734t). New York, US: D. Mckay.
  Chang, H. H., & Ying, Z. (1996). A global information approach to computerized adaptive testing. Applied Psychological Measurement, 20(3), 213-229.
  Elliott, G. (2004). Global Business Information Technology: An Integrated Systems Approach. Ontario: Pearson Addison Wesley.
  Frey, A., & Seitz, N. N. (2009). Multidimensional adaptive testing in educational and psychological measurement: Current state and future challenges. Studies in Educational Evaluation, 35(2), 89-94.
  Khumyoo, T., Chadcham, S., & Chinnasarn, K. (2013). Diagnostic of English reading skill by applying the attributes hierarchy model and computerized adaptive testing. Research Methodology & Cognitive Science, 10(2). 55-70. (in Thai)
  Krathwohl, D. R. (2002). A revision of Bloom s taxonomy: An overview. Theory into Practice, 41(4), 212-218.
  Lilley, M., Barker, T., & Britton, C. (2004). The development and evaluation of a software prototype for computer-adaptive testing. Computers & Education, 43, 109-123.
  Mejang, S., Wongdee, P., & Konta, U. (2010). A comparison of results from equating O-NET scores with common items and with a three-parameter IRT model. Research Methodology & Cognitive Science, 7(2). 81-92. (in Thai)
  Premthongsuk, P., Chadcham, S., & Praduiprom, P. (2017). Development of the Next Item Selection Procedure Using Hurwicz Criterion and Item Exposure Control for Computerized Adaptive Testing. Science and Technology Silpakorn University, 4(6), 32-50. (in Thai)
  Pluemjai, N., Tinnaworn, P., & Sukhanonsawat, S. (2015). Development of the computerized adaptive testing program for O-NET at the Grade Twelve level. Research Methodology & Cognitive Science, 13(2), 109-125. (in Thai)
  Reckase, M. D. (2009). Multidimensional item response theory. New York: Springer.
  Sakolkijrungroj, S., Chadcham, S., & Sudhasani, S. (2015). The development of computerized adaptive testing program for Thai happiness scale. Research Methodology & Cognitive Science, 13(1). 1-17. (in Thai)
  Sukhanonsawat, S., Chadcham, S., & Chinnasarn, K. (2013). Development of the next item selection procedure using decision theory in computerized adaptive testing. Research Methodology & Cognitive Science, 10(2).71-85. (in Thai) Thompson, N. A., & Weiss, D. J. (2011). A Framework for the development of computerized adaptive tests. Practical Assessment, Research & Evaluation, 16(1), 1-9.
  Urry, V. W. (1977). Tailored testing: A successful application of latent trait theory. Journal of Educational Measurement, 14(2), 181-196.
  Wainer, H., Dorans, N., Eignor, D., Flaugher, R., Green, B. F., Mislevy, R. J., & Steinberg, L. (2001). Computerized adaptive testing: A primer. Quality of Life Research, 10(8), 733-734.
  Weiss, D. J. (1974). Strategies of adaptive ability measurement (Research Report 74-5). Minneapolis: University of Minnesota, Department of Psychology, Psychometric Methods Program, Computerized Adaptive Testing Laboratory
  Weiss, R. S. (1988). Loss and Recovery. Journal of Social Issues, 44(3), 37-52.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กลับสู่ เมนูค้นหา
       
กองบรรณาธิการวารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290  mitij@mju.ac.th