วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม 
Maejo Information Technology and Innovation Journal (MITIJ)
 ค้นหา | หน้าแรก   
 
 
 
» หน้าแรก
» ฉบับปัจจุบัน
» ฉบับย้อนหลัง
» ค้นหาวารสาร/บทความ
» ลงทะเบียน (OJS/PKP)
 

                               :: รายละเอียดบทความ ::
กลับสู่เมนูค้นหา 
ชื่อบทความ
การพัฒนาแพลตฟอร์มการบริการข้อมูลด้วยตัวแทนสนทนาเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดสำนักมาตรฐานวิชาชีพ สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา
ชื่อผู้แต่ง วัชราภรณ์ วิถียุทธ์, สูติเทพ ศิริพิพัฒนกุล และ สัญชัย พัฒนสิทธิ์ (Watcharaporn Vitheeyut, Sutithep Siripipattanakul and Sunchai Pattanasith)
หน่วยงาน สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (Education Communications and Technology Program, Faculty of Education Kasetsart University)
ชื่อวารสาร วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2566
บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแพลตฟอร์มการบริการข้อมูลด้วยตัวแทนสนทนาเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดสำนักมาตรฐานวิชาชีพ สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา 2) ศึกษาผลการใช้งานพัฒนาแพลตฟอร์มการบริการข้อมูลด้วยตัวแทนสนทนาเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดสำนักมาตรฐานวิชาชีพ สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา 3) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรของสังกัดสำนักมาตรฐานวิชาชีพ สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้แพลตฟอร์มการบริการข้อมูลด้วยตัวแทนสนทนาเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดสำนักมาตรฐานวิชาชีพ สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรสังกัดสำนักมาตรฐานวิชาชีพ สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา จำนวน 26 คน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แพลตฟอร์มการบริการข้อมูลด้วยตัวแทนสนทนา 2) แบบประเมินผลการใช้งาน 3) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

                  ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลการประเมินคุณภาพของแพลตฟอร์มการบริการข้อมูลด้วยตัวแทนสนทนา พบว่า คุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดี (  = 4.48 , S.D. = 0.45) และคุณภาพด้านสื่ออยู่ในระดับดีมาก (  = 4.90 , S.D. = 0.17) 2) ผลการใช้งานแพลตฟอร์มการบริการข้อมูลด้วยตัวแทนสนทนา โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก (  = 4.62 , S.D. = 0.54)  3) ผลการศึกษาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดสำนักมาตรฐานวิชาชีพ สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา โดยการสัมภาษณ์ พบว่า แพลตฟอร์มการบริการข้อมูลด้วยตัวแทนสนทนาสามารถตอบคำถามได้ตรงตามความต้องการและตรงประเด็น ฟังก์ชันการพิมพ์ข้อความทำให้สามารถหาคำตอบที่ต้องการได้รวดเร็วและถูกต้องช่วยให้บริการข้อมูลมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 4) บุคลากรมีความพึงพอใจต่อแพลตฟอร์มการบริการข้อมูลด้วยตัวแทนการสนทนา ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.64 , S.D. = 0.51)

คำสำคัญ แพลตฟอร์มการบริการข้อมูล, ตัวแทนสนทนา, ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน, บุคลากรสำนักมาตรฐานวิชาชีพ
ปี พ.ศ. 2566
ปีที่ (Vol.) 9
ฉบับที่ (No.) 2
เดือนที่พิมพ์ กรกฎาคม - ธันวาคม
เลขที่หน้า (Page) 17-33
ISSN ISSN 3027-7280 (Online)
DOI 10.14456/mitij.2023.7
ORCID iD 0009-0001-8205-5827
ไฟล์บทความ https://mitij.mju.ac.th/ARTICLE/R66011.pdf
  
เอกสารอ้างอิง 
  ทิพยรัตน์ สำราญ และนพดล ผู้มีจรรยา. (2564). การพัฒนาแชทบอทช่วยสอนการเขียนภาษา HTML ร่วมกับการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. 760-768.
  ทิพย์วรรณ ฟูเฟื่อง, และคณะ. (2564). การพัฒนาแชทบอทให้ความรู้ด้านดิจิทัลสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ครั้งที่ 4. 29-38.
  บุญช่วย ช่างนับ, และคณะ (มปป). คู่มือการปฏิบัติราชการ การให้บริการด้วยใจ (Service mind). สืบค้นเมื่อวันที่ 16 มกรคม 2566, จาก chrome-extension://oemmndcbldboiebfnlad dacbdfmadadm/https://sa-kwan.go.th/FilesUploads/30512020_16511138821_คู่มือการปฏิบัติราชการ%20การให้บริการด้วยใจ%20Service%20Mind.pdf.
  ประกาศคณะอนุกรรมการอำนวยการทดสอบ เพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู เรื่อง หลักเกณฑ์การเทียบเคียงผลการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู ด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ตามมาตรฐานวิชาชีพครู ประจำปี พ.ศ. 2563-2565.
  รัตนาวลี ไม้สัก และจิราวรรณ แก้วจินดา. (2562). แอปพลิเคชันแชทบอทเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและวัฒนธรรม. คณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
  วสุ บัวแก้ว. (2563). การพัฒนาระบบ LINE BOT สําหรับบัณฑิตวิทยาลัย. การประชุมนําเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15. 2406-2413.
  สหรัฐ ทองยัง, และคณะ. (2564). การพัฒนาแชทบอทเพื่อประชาสัมพันธ์ ข้อมูลรับสมัครนักศึกษาใหม่ ระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. วารสารวิชาการ มทร. สุวรรณภูมิ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 7(1), 96-108.
  สุนิสา ศรแก้ว. (2562). การยอมรับเทคโนโลยี Chatbot ในธุรกิจธนาคารในประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
  สุมนา บุษบก, และคณะ. (2563). การพัฒนาแอปพลิเคชัน Chatbot สำหรับงานบริการนักศึกษา กรณีศึกษา กองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. Research Journal Rajamangala University of Technology Thanyaburi, 19(2), 85-94.
  อรนุช ศรีสะอาด. (มปป). การประเมินตนเอง (Self-Assessment). สืบค้นเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2565, จาก chrome-extension://oemmndcbldboiebfnladdacbdfmadadm/ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemmsu/article/download/153795/111957.
  DANIEL et al. (2564). Covid-19 I-Sabi Chat-Bot Application Using The Natural Language Processing With Dialog-Flow. Innovative Journal of Science, 21(3), 55-72.
  Grice, P. (1975). Logic and conversation. In: Cole, P and Morgan, J. Syntax and semantics 3: Speech Acts. New York: Academic Press.
  Neema Rajabu., & Sanni Shamsudeen. (2563). Interactive Health Information Chatbot for Non-Communicable Diseases in Swahili Language. Journal of Applied Sciences, Information, and Computing, 1(2), 32-38.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กลับสู่ หน้าจอหลัก
       
กองบรรณาธิการวารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290  mitij@mju.ac.th