วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม 
Maejo Information Technology and Innovation Journal (MITIJ)
 ค้นหา | หน้าแรก   
 
 
 
» หน้าแรก
» ฉบับปัจจุบัน
» ฉบับย้อนหลัง
» ค้นหาวารสาร/บทความ
» ลงทะเบียน (OJS/PKP)
 

                               :: รายละเอียดบทความ ::
กลับสู่เมนูค้นหา 
ชื่อบทความ
การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันแบบผสมผสาน ตามหลักทฤษฎีพหุปัญญาเพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติ สำหรับผู้เรียนสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
ชื่อบทความ(English)
The Development of a Blended Collaborative Learning Model Based on The Multiple Intelligences Theory to Support Practical Skills of Information Technology Students
ประเภทบทความ
บทความวิจัย
ชื่อผู้แต่ง เศรษฐาพันธ์ สุกใส* (Settaphun Suksai)
หน่วยงาน สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 2 (Information Technology Phuket Vocational College Institute of Vocational Educational Southern Region 2) *Corresponding author: settaphun@gmail.com
ชื่อวารสาร วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2567
บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษารูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันแบบผสมผสาน ตามหลักทฤษฎีพหุปัญญา เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติ สำหรับผู้เรียนสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันแบบผสมผสาน ตามหลักทฤษฎีพหุปัญญา เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติ  สำหรับผู้เรียนสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (3) เพื่อประเมินผลรูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันแบบผสมผสาน ตามหลักทฤษฎีพหุปัญญา เพื่อส่งเสริมทักษะ  ปฏิบัติ สำหรับผู้เรียนสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยแบ่งวิธีดำเนินการวิจัย ออกเป็น 3 ตอน คือ (1) ศึกษารูปแบบ โดย ผู้เชี่ยวชาญและครูที่เกี่ยวข้อง จำนวน 7 คน ผู้เรียนแผนกวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 40 คน  (2) พัฒนารูปแบบ โดยผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ ที่มีวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาเอก หรือ วิทยฐานะไม่ต่ำกว่าเชี่ยวชาญ จำนวน 15 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และ (3) ประเมินผลรูปแบบ โดย ผู้เรียนสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สถิติที่ใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-test แบบ Independent Sample และ การหาประสิทธิภาพของรูปแบบ (E1/E2) พบว่า สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ อยู่ในกลุ่มการวิเคราะห์ (Analytic) เป็นกลุ่มพหุปัญญาที่เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์พหุปัญญาด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ ลักษณะ กิจกรรมการเรียน  ทำงานเกี่ยวกับรูปแบบ(pattern) และการคิดคำนวณ แยกหมวดหมู่และประเภท ทำงานสิ่งที่เป็นนามธรรมมีเหตุผลเชิงสรุปความสามารถ อาชีพที่เกี่ยวข้อง นักโปรแกรมคอมพิวเตอร์, โปรแกรมเมอร์, นักพัฒนาซอฟต์แวร์, นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ เป็นต้น  โดยผลการตรวจสอบความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และ ความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ พบว่า ด้านองค์ประกอบพื้นฐานของรูปแบบ (Model) จากผู้เชี่ยวชาญ พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุดที่ ค่าเฉลี่ย 4.80 และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  0.45  ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) จากผู้เชี่ยวชาญ พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ที่ ค่าเฉลี่ย 4.93 และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  0.15  ด้านกระบวนการ (Process) จากผู้เชี่ยวชาญ พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ที่ ค่าเฉลี่ย 4.80 และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  0.45  และ ด้านผลผลิต (Output) จากผู้เชี่ยวชาญ พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ที่ ค่าเฉลี่ย 4.68 และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  0.65  ประสิทธิภาพของของรูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันแบบผสมผสาน ตามหลักทฤษฎีพหุปัญญา เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติ สำหรับผู้เรียนสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.48/81.41 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80  และ ความพึงพอใจสำหรับผู้เรียนที่ผ่านรูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันแบบผสมผสาน ตามหลักทฤษฎีพหุปัญญา เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติ สำหรับผู้เรียนสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ  โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.68 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด

คำสำคัญ การเรียนรู้ร่วมกัน, การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน, หลักทฤษฎีพหุปัญญา, ทักษะปฏิบัติ
ปี พ.ศ. 2567
ปีที่ (Vol.) 10
ฉบับที่ (No.) 1
เดือนที่พิมพ์ มกราคม - เมษายน
เลขที่หน้า (Page) 75-98
ISSN ISSN 3027-7280 (Online)
DOI 10.14456/mitij.2024.5
ORCID iD 0009-0007-5399-2030
ไฟล์บทความ https://mitij.mju.ac.th/ARTICLE/R67005.pdf
  
เอกสารอ้างอิง 
  กระทวงศึกษาธิการ. (2562). กรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2562. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ, เล่ม 136 ตอนพิเศษ 56 ง.
  ฐิติชัย รักบํารุง. (2555). Blended-learning: การเรียนรู้แบบผสมผสาน. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 1(16), 31-40.
  ธีรวุฒิ บุณยโสภณ. (2542). การบริหารอาชีวะและเทคนิคศึกษาเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : ศูนย์ผลิตตำราเรียน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
  นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์. (2543). ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. วารสารวิชาการ. 3(2), 23-27.
  บุญธง วสุริย์. (2546). การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อการถ่ายโอนทักษะปฏิบัติ สำหรับอาชีวอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
  ประสาท อิศรปรีดา. (2549). สารัตถะจิตวิทยาการศึกษา. ขอนแก่น : คลังนานาวิทยา.
  ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2522). ปรัชญาการศึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  มารุต พัฒผล. (2563). การประเมินการเรียนรู้ใน New Normal. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
  มาลิณี จุโฑปะมา. (2554). จิตวิทยาการศึกษา. บุรีย์รัมย์ : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
  เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี. (2551). การประเมินโครงการแนวคิดและแนวปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  เยาวพา เดชะคุปต์. (2544). พหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. เอกสารในการอบรมเชิงปฏิบัติการ. ฉะเชิงเทรา : สำนักงานการปฐมศึกษา.
  รวีวัตร์ สิริภูบาล. (2543). การพัฒนาแบบจําลองระบบฝึกอบรมครูเชิงทักษะปฏิบัติ. (ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตประสานมิตร.
  วรรณี ลิมอักษร. (2551). จิตวิทยาการศึกษา. สงขลา : ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยสงขลา
  วิชัย วงศ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2563). การจัดการเรียนรู้ใน New normal เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียน. สืบค้นวันที่ 10 มิถุนายน 2565, จากhttps://oer.learn.in.th/search_detail/result/188043.
  ศักดิ์ชาย ตั่งวรรณวิทย์. (2552). รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมแบบอีเลิร์นนิ่งกับพัฒนาการของผู้เรียนที่มีความแตกต่างทางพหุปัญญา. (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต).
  สมบูรณ์ อินทร์ถมยา. (2547). การพัฒนาเครื่องมือวัดปัญญาด้านการรับรู้ภาวะการเคลื่อนไหวของร่างกาย. (วิทยานิพนธ์). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). กรอบคุณวุฒิแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ : สำนักงานนโยบายและแผนการศึกษา.
  สุชาติ ศิริสุขไพบูลย์. (2526). การสอนทักษะปฏิบัติ (Workshop Teaching). กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
  สุนทร โคตรบรรเทา. (2548). ทษฤฎีพหุปัญญา. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ.
  สุนันท์ ศลโกสุม. (2432). การวัดผลการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามงกุฏราชวิทยาลัย.
  สุวิมล ว่องวาณิช. (2547). วิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  อัญชลี ศรีกลชาญ. (2546). การพัฒนาแบบวัดพหุปัญญาสำหรับนักเรียนชั้มัธยมศึกษาตอนต้น. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, บัณฑิตวิทยาลัย.
  Fasko, D. (2001). Education and Creativity. Creativity Research Journal, 13, 317-327.
  Gardner,Howard. (1983). Frames of Mind: The Theory of Multiple Intelligences. New York : Basic Books.
  Mckenzie, W. 2008. Multiple Intelligences Domain (online). http://surfaquarium.com /MI/mi_domains.htm, January 9 ,2021.
  Pierre. (1999). Scattered Remarks. European Journal of Social Theory, 2(3), 334-340.
  Reardon, Martin.?(2000). Problem-based learning and other curriculum models for the multiple intelligence classroom. Bloomfield Hills, 22(2), 139.
กลับสู่ หน้าจอหลัก
       
กองบรรณาธิการวารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290  mitij@mju.ac.th