วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม 
Maejo Information Technology and Innovation Journal (MITIJ)
 ค้นหา | หน้าแรก   
 
 
 
» หน้าแรก
» ฉบับปัจจุบัน
» ฉบับย้อนหลัง
» ค้นหาวารสาร/บทความ
» ลงทะเบียน (OJS/PKP)
 

                               :: รายละเอียดบทความ ::
กลับสู่เมนูค้นหา 
ชื่อบทความ
แอพพลิเคชันคำสั่งเสียงเพื่อเข้าสู่บทเรียนภาษาอังกฤษ
ชื่อผู้แต่ง บุรัสกร อยู่สุข, คงเทพ บุญมี, วรพันธ์ สาระสุรีย์ภรณ์ และ นิติ วิทยาวิโรจน์ (Burasakorn Yoosooka, Khongthep Boonmee, Waraphan Sarasureeporn and Niti Witthayawiroj)
หน่วยงาน สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (Division of Computer Science, Faculty of Science and Technology, Rajamangala University of Technology Thanyaburi)
ชื่อวารสาร วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2558
บทคัดย่อ
         การสื่อสารในยุคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC นั้น ภาษาอังกฤษมีความสำคัญมาก เนื่องจากใช้เป็นภาษากลางในการติดต่อเจรจาทางธุรกิจและการท่องเที่ยว  ซึ่งหากใครที่ยังใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้ไม่ดีเท่าที่ควร ก็อาจเกิดความเสียเปรียบได้ ดังนั้นเครื่องมือที่ช่วยให้ความรู้ด้านภาษาอังกฤษ จะช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแอพพลิเคชันคำสั่งเสียงเพื่อเข้าสู่บทเรียนภาษาอังกฤษ สำหรับช่วยให้เข้าถึงบทเรียนต่างๆ ได้โดยการใช้เสียงสั่งการ เพื่อความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลบทเรียนได้  แม้ว่าไม่สะดวกที่จะพิมพ์คำสั่งก็ตาม ซึ่งแอพพลิเคชันนี้สร้างด้วยเทคโนโลยีของ Speech Recognition ทำให้สามารถทำคำสั่งจากเสียงพูดหรือคีย์บอร์ดได้ โดยผู้ใช้จะสามารถป้อนคำสั่งเข้าสู่บทเรียนได้โดยใช้เสียงพูด หลังจากนั้นแอพพลิเคชันจะแสดงผลชื่อบทเรียนภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้ใช้เลือกบทเรียน แล้วจึงแสดงบทสนทนาภาษาอังกฤษของบทเรียนนั้นพร้อมคำแปลภาษาไทย ในรูปแบบเสียงและข้อความ โดยคำแปลจะแสดง ความหมายของคำศัพท์  ประเภทของคำศัพท์  คำเหมือน และคำตรงข้าม ให้แก่ผู้ใช้  ในการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้  คณะผู้วิจัยได้ใช้แบบสอบถามแบบ 5 ระดับ  โดยกลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 34 คน และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 6 คน ซึ่งผลการประเมินความพึงพอใจโดยรวมพบว่า 85% ของผู้ใช้มีความพึงพอใจในการใช้ระบบ
คำสำคัญ แอพพลิเคชันคำสั่งเสียง เสียงพูด การรู้จำเสียงพูดอัตโนมัติ บทเรียน ภาษาอังกฤษ
ปี พ.ศ. 2558
ปีที่ (Vol.) 1
ฉบับที่ (No.) 1
เดือนที่พิมพ์ มกราคม-มิถุนายน
เลขที่หน้า (Page) 55-69
ISSN 2672-9008 (Online)
DOI 10.14456/mitij.2015.5
ORCID_ID
ไฟล์บทความ https://mitij.mju.ac.th/ARTICLE/R58005.pdf
  
เอกสารอ้างอิง 
  ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย และคณะ. (2550). ระบบรู้จำเสียงพูด (Automatic Speech Recognition). หน่วยปฏิบัติการวิจัยวิทยาการมนุษยภาษา ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2555, จาก http://www.digitized-Thailand.org/ index.php?option=com_content &view=article&id=44&itemid=104&lang=th.
  ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย และคณะ. (2552). พจนานุกรมสื่ออิเล็กทรอนิกส์ไทย <-> อังกฤษ LEXiTRON. หน่วยปฏิบัติการวิจัยวิทยาการมนุษยภาษา ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2555, จากhttp://lexitron.nectec.or.th/ 2009_1/index_en.php?q=common_manager
  ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย และคณะ. (2554). โปรแกรมวาจา (VAJA) เวอร์ชั่น 6.0. หน่วยปฏิบัติการวิจัยวิทยาการมนุษยภาษา ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2555, จาก http://vaja.nectec.or.th
  ฑีฆายุ สมานรักษ์ และคณะ. (2549). โปรแกรมใช้เสียงพูดเพื่องานพิมพ์เอกสาร (Speech to Text Control Program). วิทยาศาสตรบัณฑิต (สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.
  อานนท์ แสงเมฆ และคณะ. (2552). โปรแกรมช่วยคนพิการใช้งานคอมพิวเตอร์ (Program for Disabled to Use Computer). วิทยาศาสตรบัณฑิต (สาขาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กลับสู่ เมนูค้นหา
       
กองบรรณาธิการวารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290  mitij@mju.ac.th