วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม 
Maejo Information Technology and Innovation Journal (MITIJ)
 ค้นหา | หน้าแรก   
 
 
 
» หน้าแรก
» ฉบับปัจจุบัน
» ฉบับย้อนหลัง
» ค้นหาวารสาร/บทความ
» ลงทะเบียน (OJS/PKP)
 

                               :: รายละเอียดบทความ ::
กลับสู่เมนูค้นหา 
ชื่อบทความ
ระบบสนับสนุนการควบคุมน้ำหนักโดยใช้การช่วยเลือกอาหารผ่านเว็บไซต์ และการแจ้งเตือนผ่านโทรศัพท์มือถือ
ชื่อผู้แต่ง รัตนา ลีรุ่งนาวารัตน์, ดวงกมล โพธิ์นาค (Rattana Leerungnavarat and Duangkamol Phonak)
หน่วยงาน สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, ภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ชื่อวารสาร วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2559
บทคัดย่อ
          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบสนับสนุนการควบคุมน้ำหนักโดยใช้การช่วยเลือกอาหารผ่านเว็บไซต์และการแจ้งเตือนผ่านโทรศัพท์มือถือ และ 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของระบบที่ได้นำเสนอโดยใช้การศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อระบบสนับสนุนการควบคุมน้ำหนักโดยใช้การช่วยเลือกอาหารผ่านเว็บไซต์และการแจ้งเตือนผ่านโทรศัพท์มือถือ ในด้านที่ระบบสามารถช่วยในการตัดสินใจเลือกรับประทานอาหารในแต่ละวันให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมและถูกหลักโภชนาการ และสร้างตารางเมนูอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนักได้ด้วยตนเอง โดยมีการแจ้งเตือนรายการอาหารที่จัดไว้ผ่านทางโทรศัพท์มือถือทั้งนี้ยังสามารถบันทึกผลการควบคุมอาหารได้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ระบบสนับสนุนการควบคุมน้ำหนักโดยใช้การช่วยเลือกอาหารผ่านเว็บไซต์และการแจ้งเตือนผ่านโทรศัพท์มือถือที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น และแบบสอบถามความพึงพอใจซึ่งระบบที่พัฒนามีลักษณะเป็นเว็บแอพพลิเคชั่น (Wed Application) พัฒนาระบบตามแนวทางของวงจรการพัฒนาระบบ WaterFall Model พัฒนาโปรแกรมด้วยภาษา PHP และออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้งานด้วยโปรแกรม Appserv และใช้ MySQL สำหรับจัดการฐานข้อมูลซึ่งจากผลการประเมินพบว่าความเหมาะสมของระบบสนับสนุนการควบคุมน้ำหนักโดยใช้การช่วยเลือกอาหารผ่านเว็บไซต์และการแจ้งเตือนผ่านโทรศัพท์มือถือ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน และกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 30 คน พบว่า ผลการประเมินความเหมาะสมของระบบอยู่ในระดับมาก ( = 4.24, S.D. = 0.59) และผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อระบบ มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.36, S.D. = 0.57)
คำสำคัญ ระบบสนับสนุนการควบคุมน้ำหนักโดยใช้การช่วยเลือกอาหารผ่านเว็บไซต์ และการแจ้งเตือนผ่านโทรศัพท์มือถือ
ปี พ.ศ. 2559
ปีที่ (Vol.) 2
ฉบับที่ (No.) 1
เดือนที่พิมพ์ มกราคม-มิถุนายน
เลขที่หน้า (Page) 28-44
ISSN 2672-9008 (Online)
DOI 10.14456/mitij.2016.4
ORCID_ID
ไฟล์บทความ https://mitij.mju.ac.th/ARTICLE/R59003.pdf
  
เอกสารอ้างอิง 
  กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2541). การประเมินภาวะโภชนาการ. สาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์.
  กิตติมา เจริญหิรัญ. (2548). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. บริษัท สำนักพิมพ์ท้อป จำกัด : กรุงเทพฯ.
  กลุ่มพัฒนาการส่งเสริมคุณภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ศอ.4. (2559). การบริโภคเพื่อควบคุมน้ำหนัก. ค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2559. ค้นจาก http://hpe4.anamai.moph.go.th/hpe/data/ms/Nutrition4wtControl.pdf
  จุฬาภรณ์ รุ่งพิสุทธิกุลพงษ์, (2550). เวชปฏิบัติก้าวหน้าในการดูแลรักษาโรคอ้วน : การประชุมวิชาการโภชนาการแห่งชาติครั้งที่ 2 (3-5 ตุลาคม 2550). มหาวิทยาลัยมหิดล, คณะแพทย์ศาสตร์, ภาควิชาอายุรศาสตร์, โรงพยาบาลรามาธิบดี : กรุงเทพฯ.
  วณิชา กิจวรพัฒน์. (2549). โปรแกรมควบคุมน้ำหนักสำหรับหญิงวัยทำงาน (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข : นนทบุรี.
  ทีมงาน SMSMKT. (2559). ศัพท์พื้นฐานเกี่ยวกับ SMS ที่นักการตลาดควรรู้. ค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2559. ค้นจาก https://www.makewebeasy.com/blog/2015/09/sms-words/
  โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์.(2555). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. ซีเอ็ดยูเคชัน : กรุงเทพฯ.
  โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2558). ระบบฐานข้อมูล. ซีเอ็ดยูเคชัน : กรุงเทพฯ.
  Efraim Turban.(2005).Decision Support Systems and IntelligentSystems(7th Edition). Prentice-Hall, Inc. Upper SaddleRiver, NJ, USA.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กลับสู่ เมนูค้นหา
       
กองบรรณาธิการวารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290  mitij@mju.ac.th