วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม 
Maejo Information Technology and Innovation Journal (MITIJ)
 ค้นหา | หน้าแรก   
 
 
 
» หน้าแรก
» ฉบับปัจจุบัน
» ฉบับย้อนหลัง
» ค้นหาวารสาร/บทความ
» ลงทะเบียน (OJS/PKP)
 

                               :: รายละเอียดบทความ ::
กลับสู่เมนูค้นหา 
ชื่อบทความ
การพัฒนาระบบฐานข้อมูลพืชสมุนไพรกัญชง มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อผู้แต่ง สุภักตร์ ปัญญา, สมชาย อารยพิทยา และ สนิท สิทธิ (Supak Punya, Somchai Arayapitaya and Snit Sitti)
หน่วยงาน สาขาวิชาวิทยาการสมุนไพร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้, กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (Medicinal Plant Science Program, Faculty of Agricultural Production, Maejo University, Technology Digital Division, Office of University, Maejo University and Computer Science Program, Faculty of Science, Maejo University)
ชื่อวารสาร วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2562
บทคัดย่อ
           ระบบงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลพืชสมุนไพรกัญชงของมหาวิทยาลัย  แม่โจ้ในรูปแบบเว็บแอพพลิเคชั่นและระบบสารสนเทศเผยแพร่องค์ความรู้พืชสมุนไพรกัญชง เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนแก่นักศึกษาด้านศึกษาพืชสมุนไพร ศึกษาวิจัยด้านการแพทย์และการใช้ประโยชน์ด้านอื่น ๆ โดยข้อมูลที่ได้จากการศึกษารวบรวมจากสาขาวิชาวิทยาการสมุนไพร คณะผลิตกรรมการเกษตรและแหล่งความรู้จากภายนอกมหาวิทยาลัย ระบบงานพัฒนาขึ้นเขียนโปรแกรมด้วยภาษา ASP.NET ฐานข้อมูล Microsoft SQL Server วิเคราะห์และออกแบบเพื่อหารูปแบบเกี่ยวกับสารสนเทศ ให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้  โดยใช้หลักการตามวงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Circle: SDLC) ใช้แผนภาพยูสเคสช่วยออกแบบระบบการทำงาน การใช้แผนภาพคอมโพแนนท์ช่วยออกแบบฐานข้อมูล โครงสร้างและส่วนประกอบของผังเว็บไซต์ 
            ผลของการพัฒนาระบบงาน พบว่า ได้เว็บแอพลิเคชั่นประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ 1) ส่วนแสดงผลหน้าเว็บไซต์หลัก (Front End) เพื่อให้บุคคลทั่วไปที่สนใจเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวกับประวัติความเป็นมา, ข้อมูลสมุนไพรกัญชง ข่าว/บทความสมุนไพรกัญชง งานวิจัยด้านสมุนไพรกัญชง และเว็บไซต์สมุนไพรกัญชงที่เกี่ยวข้อง ให้กับผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ทั่ว ๆ ไป และ 2) ส่วนการจัดการข้อมูลสำหรับผู้ดูแลระบบ (Back End) เป็นส่วนที่ใช้ในการบริหารจัดการเนื้อหาข้อมูล จัดการข้อมูลลงในฐานข้อมูลและโครงสร้างเว็บไซต์ การเข้าถึงเว็บไซต์ https://hemp.mju.ac.th  ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้เว็บไซต์ รวมทั้งสิ้น 75 คน มีระดับความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีคะแนนค่าเฉลี่ย 4.19 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.52 แสดงว่าระบบที่พัฒนาขึ้นมานี้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในระดับมากและสามารถนำไปใช้งานจริงได้ต่อไป
คำสำคัญ กัญชง, ระบบฐานข้อมูล, ระบบสารสนเทศ
ปี พ.ศ. 2562
ปีที่ (Vol.) 5
ฉบับที่ (No.) 1
เดือนที่พิมพ์ มกราคม-มิถุนายน
เลขที่หน้า (Page) 75-89
ISSN 2672-9008 (Online)
DOI 10.14456/mitij.2019.7
ORCID_ID 0009-0007-5009-1106
ไฟล์บทความ https://mitij.mju.ac.th/ARTICLE/R62007.pdf
  
เอกสารอ้างอิง 
  ชาคริต กุลไกรศรี. (2556). Relational Database Concept แนวคิดของฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์. กรุงเทพ : คณะวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. ค้นเมื่อ 25 กันยายน 2561, จาก https://msit5.wordpress.com/2013/09/11/relational-database-concept.
  นภัทร รัตนนาคินทร์. (2560). แผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram: DFD). ค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2562, จาก http://www.macare.net/analysis/index.php?id=-3.
  บุญชม ศรีสะอาด. (2535). หลักการวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.
  ประสาท มีแต้ม. (2562). กัญชาและกัญชง : พืชที่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ. ค้นเมื่อ 25 กันยายน 2561, จาก https://mgronline.com/daily/detail/9620000036628.
  พาวิน มโนชัย. (2561). ม.แม่โจ้ จับมือ ม.ราชมงคลฯ ล้านนา สร้างเครือข่ายวิจัยพัฒนาสายพันธุ์กัญชาและกัญชงให้ได้มาตรฐานเกรดทางการแพทย์. ค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2562, จาก http://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG190608183050186.
  ไพโรจน์ วิริยจารี. (2545). การประเมินทางประสาทสัมผัส (Sensory Evaluation). คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2561, จาก: http://www.agroind.kmitl.ac.th/kskallay/pdf/sensory%20Evaluation.pdf.
  วิชิต เทพประสิทธิ์. (2557). User Interface Design การออกแบบส่วนต่อประสาน. ค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2561, จาก https://www.gotoknow.org/posts/43505.
  สมชาย อารยพิทยา. (2547). การรวบรวมข้อมูลการเกษตรโดยอาศัยเว็บเซอร์วิสเทคโนโลยี. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2561, จาก: http://www.tnrr.in.th/?page=result_search&record_id=10086470.
  สมชาย อารยพิทยา. (2558). การพัฒนาโปรแกรมฐานข้อมูลพืชสมุนไพร กรณีศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2561, จาก: https://mitij.mju.ac.th/Search_Detail_Journal_MJU.aspx?Herb_ID=0003.
  สิริวัฒน์ สาครวาสี. (2561). กัญชงพืชมหัศจรรย์ญาติกัญชา. ค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2562, จาก https://mjusmartfarm.wordpress.com/2018/10/31/กัญชงพืชมหัศจรรย์ญาติก/.
  อาคม กาญจนประโชติ. ครม.ไทย จะให้ กัญชง ถูกกฏหมาย ผลิตส่งออก. ค้นเมื่อ 25 กันยายน 2561, จาก https://pantip.com/topic/30567114.
  (ม.ช.ต.). (ม.ป.ป.). แบบจำลองความสัมพันธ์ ระหว่างข้อมูล. สงขลา : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. ค้นเมื่อ 25 กันยายน 2561, จาก http://www.sttc.ac.th/~computerbc/backup/elearning/database/chapter7.pdf.
  Campus Star. (2562). ม.แม่โจ้ เปิดสอนวิชาเลือกเสรี กัญชงศาสตร์-ความแตกต่าง กัญชง VS กัญชา. ค้นเมื่อ 25 กันยายน 2561, จาก www.mju-ic.mju.ac.th.
  Suthida Chaichomchuen. (2556). Testing and Debugging. ค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2562, จาก http://www.cs.science.cmu.ac.th/person/areerat/204112/LectureNote/Testing_Debugging.pdf.
  Surasak Ruensri. (2559). กัญชง-กัญชา และประวัติความเป็นมา. ค้นเมื่อ 25 กันยายน 2561, จาก https://www.oncb.go.th/ncsmi/hemp7/กัญชง-กัญชา.pdf.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กลับสู่ เมนูค้นหา
       
กองบรรณาธิการวารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290  mitij@mju.ac.th