วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม 
Maejo Information Technology and Innovation Journal (MITIJ)
 ค้นหา | หน้าแรก   
 
 
 
» หน้าแรก
» ฉบับปัจจุบัน
» ฉบับย้อนหลัง
» ค้นหาวารสาร/บทความ
» ลงทะเบียน (OJS/PKP)
 

                               :: รายละเอียดบทความ ::
กลับสู่เมนูค้นหา 
ชื่อบทความ
การพัฒนาระบบฐานข้อมูลการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อผู้แต่ง สมชาย อารยพิทยา, สมวงค์ ทิพย์ประจักษ์, มยุรี แก้วประภา, อารัทรา พิเชษฐพันธ์, สุพัตรา ตนเล็ก, รัตติกาล ณวิชัย, ละออศิริ พรหมศร และสนิท สิทธิ (Somchai Arayapitaya, Somwong Thipprajak, Mayuree Keawprapa, Arruttra Pishettapun, Suphattra Tonlek, Rattikarn Nawichai, La-orsiri Promsor and Snit Sitti)
หน่วยงาน กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้, กองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (Technology Digital Division, Office of University, Maejo University, Personnel Division, Office of University, Maejo University and Computer Science Program, Faculty of Science, Maejo University)
ชื่อวารสาร วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2562
บทคัดย่อ

        ระบบงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในรูปแบบเว็บแอพพลิเคชั่นและระบบสารสนเทศ โดยการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาในการบริหารจัดการการขอตำแหน่งทางวิชาการของบุคลากรสายวิชาการ ระบบสามารถให้บริการสืบค้นข้อมูลการเตรียมตัวจัดทำคำขอดัวยตนเอง ติดตามขั้นตอนการยื่นขอผ่านกองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานมหาวิทยาลัย ระบบงานพัฒนาขึ้นเขียนโปรแกรมด้วยภาษา ASP.NET โดยใช้ฐานข้อมูล Microsoft SQL Server วิเคราะห์และออกแบบเพื่อหารูปแบบเกี่ยวกับสารสนเทศ ให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้  โดยใช้หลักการตามวงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Circle: SDLC) 

              ผลของการพัฒนาระบบงาน พบว่า ได้เว็บแอพลิเคชั่นประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ 1) ส่วนแสดงผลหน้าเว็บไซต์หลัก (Front End) เพื่อให้บุคลากรสายวิชาการที่สนใจเข้ามาศึกษาหลักเกณฑ์ กฎระเบียบขั้นตอน วิธีการจัดทำคำขอตำแหน่งทางวิชาการ ได้แก่ การตรวจสอบคุณสมบัติของตนเอง วิธีการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ บัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิประเมินผลงาน คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ และกำหนดการประชุมของคณะกรรมการ ติดตามความก้าวหน้าการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ เป็นต้น  และ 2) ส่วนการจัดการข้อมูลสำหรับผู้ดูแลระบบ (Back End) เป็นส่วนที่ใช้ในการบริหารจัดการเนื้อหาข้อมูล จัดการข้อมูลลงในฐานข้อมูลและโครงสร้างเว็บไซต์ การเข้าถึงเว็บไซต์ https://apds.mju.ac.th  ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้เว็บไซต์ โดยใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหาร จำนวน 12 คน บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวน 60 คน บุคลากรสายวิชาการภายนอก จำนวน 8 คน รวมทั้งสิ้น 80 คน มีระดับความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีคะแนนค่าเฉลี่ยรวม 3.70 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.51 แสดงได้ว่าการนำระบบงานที่พัฒนานี้มาใช้ในการดำเนินงานของกองการเจ้าหน้าสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คำสำคัญ การพัฒนาระบบฐานข้อมูลการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ปี พ.ศ. 2562
ปีที่ (Vol.) 5
ฉบับที่ (No.) 2
เดือนที่พิมพ์ กรกฎาคม - ธันวาคม
เลขที่หน้า (Page) 82-100
ISSN 2672-9008 (Online)
DOI 10.14456/mitij.2019.14
ORCID_ID 0009-0007-5009-1106
ไฟล์บทความ https://mitij.mju.ac.th/ARTICLE/R62015.pdf
  
เอกสารอ้างอิง 
  ชาคริต กุลไกรศรี. (2556). Relational Database Concept แนวคิดของฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์. กรุงเทพ : คณะวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. ค้นเมื่อ 25 กันยายน 2561, จาก https://msit5.wordpress.com/2013/09/11/relational-database-concept.
  ชัยรัตน์ จุสปาโล และคณะ. (2555). พจนานุกรมข้อมูล. สงขลา : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. ค้นเมื่อ 25 มกราคม 2562, จาก http://classroom.hu.ac.th/courseware/SA/ppt/ch10.ppt.
  นภัทร รัตนนาคินทร์. (2560). แผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram: DFD). ค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2562, จาก http://www.macare.net/analysis/index.php?id=-3.
  บุญชม ศรีสะอาด. (2535). หลักการวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพ ฯ: สุวีริยาสาสน์.
  ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช. (2563). เกณฑ์การขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการตามประกาศ ก.พ.อ. 2563. การเสวนา “ประกาศ ก.พ.อ. 2563 เกณฑ์การขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการใหม่มีผลกระทบอย่างไรกับอาจารย์ มก.” 8 กรกฎาคม 2563 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
  ไพโรจน์ วิริยจารี. (2545). การประเมินทางประสาทสัมผัส (Sensory Evaluation). คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2561, จาก: http://www.agroind.kmitl.ac.th/kskallay/pdf/sensory%20Evaluation.pdf.
  วิชิต เทพประสิทธิ์. (2557). User Interface Design การออกแบบส่วนต่อประสาน. ค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2561, จาก https://www.gotoknow.org/posts/43505.
  ศิริรัตน์ ตรงวัฒนาวุฒิ. (ม.ป.ป.). แผนภาพกระแสข้อมูล[บทที่4] [สไลด์]. ค้นเมื่อ 27 มกราคม 2562, จาก http://www.kbtc.ac.th/KM/files/111021099055613_11120817170604.pdf.
  ศิริลักษณ์ โรจนกิจอำนวย. (2549). E-R โมเดล. ค้นเมื่อ 29 มกราคม 2562, จาก http://std.bus.tu.ac.th/web04/images/DBMS/dbms6.pdf.
  สมวงค์ ทิพย์ประจักษ์. (2558). บทความเรื่องระบบฐานข้อมูลการขอกำหนดตำแหน่งวิชาการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. กองการเจ้าหน้าที่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2562, จาก: https://apds.mju.ac.th/3.NEWS_ACADEMIC/บทความเรื่องระบบฐานข้อมูลการขอกำหนดตำแหน่งวิชาการ%20มหาวิทยาลัยแม่โจ้.pdf.
  สมชาย อารยพิทยา. (2547). การรวบรวมข้อมูลการเกษตรโดยอาศัยเว็บเซอร์วิสเทคโนโลยี. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2561, จาก: http://www.tnrr.in.th/?page=result_search&record_id=10086470.
  สมชาย อารยพิทยา. (2558). การพัฒนาโปรแกรมฐานข้อมูลพืชสมุนไพร กรณีศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2561, จาก: https://mitij.mju.ac.th/Search_Detail_Journal_MJU.aspx?Herb_ID=0003.
  สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2558). ผลการประชุม ก.พ.อ. 4/2558. สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2562, จาก: https://www.moe.go.th/websm/2015/apr/138.html.
  (ม.ช.ต.). (ม.ป.ป.). แบบจำลองความสัมพันธ์ ระหว่างข้อมูล. สงขลา : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. ค้นเมื่อ 25 กันยายน 2561, จาก http://www.sttc.ac.th/~computerbc/backup/elearning/database/chapter7.pdf.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กลับสู่ เมนูค้นหา
       
กองบรรณาธิการวารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290  mitij@mju.ac.th