วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม 
Maejo Information Technology and Innovation Journal (MITIJ)
 ค้นหา | หน้าแรก   
 
 
 
» หน้าแรก
» ฉบับปัจจุบัน
» ฉบับย้อนหลัง
» ค้นหาวารสาร/บทความ
» ลงทะเบียน (OJS/PKP)
 

                               :: รายละเอียดบทความ ::
กลับสู่เมนูค้นหา 
ชื่อบทความ
การพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับถ่ายภาพประจำตัวนักศึกษา มหาวิทยาลัยพายัพจากเว็บแคเมราโดยใช้ภาษาโพรเซสซิง
ชื่อบทความ(English)
An Application Development for Student ID Image Capturing, Payap University from Web Camera by using Processing
ประเภทบทความ
บทความวิจัย
ชื่อผู้แต่ง ภูมินทร์ ดวงหาคลัง(1), นิภาภรณ์ เอื้อตรงจิตต์(2), พัฒน์นรี ศรีสมพันธ์(2) และ สุรเชษฐ์ วงศ์ชมภู(2) (Phumin Dounghaklung, Nipaporn Euathrongchit, Phatnaree Srisomphan and Surachet Wongchomphu)
หน่วยงาน (1) สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยพายัพ, (2) สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยพายัพ
ชื่อวารสาร วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2565
บทคัดย่อ

                   สำนักทะเบียนและบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยพายัพ เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องการถ่ายภาพประจำตัวนักศึกษา ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อมูลที่ต้องจัดเก็บในประวัตินักศึกษา  ทีมผู้พัฒนาได้รับมอบหมายให้พัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับถ่ายภาพประจำตัวนักศึกษาทดแทนโปรแกรมเดิมที่ไม่สามารถใช้งานได้เมื่อมีการเปลี่ยนระบบปฏิบัติการจากวินโดวส์ 7 เป็นวินโดวส์ 10 โดยทีมผู้พัฒนาเลือกภาษาโพรเซสซิง เวอร์ชัน 4.0 beta 7  เป็นภาษาที่ใช้สำหรับการพัฒนาครั้งนี้ และดำเนินการภายใต้กระบวนการพัฒนาแอปพลิเคชันแบบรวดเร็ว  การทำงานของแอปพลิเคชันประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การติดต่อกับเว็บแคเมรา  2) การจับภาพนิ่ง  3) การกำหนดขอบเขตภาพ  4) การตัดภาพ  และ 5) การจัดเก็บไฟล์ภาพ  โดยภาพผลลัพธ์จะถูกจัดเก็บในรูปแบบไฟล์ JPEG ตามขนาดที่ทางสำนักทะเบียนฯ กำหนด   ผลการพัฒนา สามารถสร้างแอปพลิเคชันสำหรับถ่ายภาพประจำตัวนักศึกษาที่สามารถทำงานกับเว็บแคเมรา OKER B20 480P ที่มีอยู่เดิม ภายใต้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 10 และแอปพลิเคชันมีการทำงานตรงตามที่ผู้ใช้กำหนด โดยได้รับผลการประเมินจากผู้ใช้ในด้านประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันอยู่ในระดับดีมาก (  = 4.67 S.D. = 0.33)

คำสำคัญ แอปพลิเคชันสำหรับถ่ายภาพประจำตัวนักศึกษา, กระบวนการพัฒนาแอปพลิเคชันแบบรวดเร็ว, ภาษาโพรเซสซิง, เว็บแคเมรา
ปี พ.ศ. 2565
ปีที่ (Vol.) 8
ฉบับที่ (No.) 1
เดือนที่พิมพ์ มกราคม - มิถุนายน
เลขที่หน้า (Page) 31-52
ISSN ISSN 2672-9008 (Online)
DOI 10.14456/mitij.2022.3
ORCID_ID 0009-0007-7293-1516
ไฟล์บทความ https://mitij.mju.ac.th/ARTICLE/R65003.pdf
  
เอกสารอ้างอิง 
  สัญญา สมัยมาก, ฌานิน หาญณรงค์, สุระศักดิ์ วิเศษทรัพย์, นิติพงษ์ เสมทับ, พรนิภา เอี่ยมบริสุทธิ์. (2560). การระบุตำแหน่งหุ่นยนต์โดยใช้การประมวลผลภาพดิจิตอล. การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ครั้งที่ 2 เรื่อง นวัตกรรมอาคาร 2560 : อาคารอัจฉริยะอย่างยั่งยืน. หน้า 248 – 255. ค้นจาก https://repository.rmutr.ac.th/bitstream/handle/123456789/623/1004-038-1binno2017_RMUTR.pdf?sequence=1&isAllowed=y.
  Best, J. W. (1977). Research in Education. (3 rd ed). New Jersey: Prentice hall Inc.
  Chien, C. (2020, February 4). What is rapid application development (RAD)? Codebots. Retrieved March 20, 2022, from https://codebots.com/app-development/what-is-rapid-application-development-rad.
  Creatio. (n.d.). Rapid application development (RAD): Full guide. Retrieved March 20, 2022, from https://www.creatio.com/page/rapid-application-development.
  Lonc, J. (2022). What is Prototyping in Software Development (and Why It is Important). Retrieved 13 April 2022, from https://www.sparkbusinessworks.com/blog/prototyping-in-software-development.
  Metsker, S. J., & Wake, W. C. (2006). Design Patterns in Java. Addison-Wesley.
  Processing.org. (2019). Processing.org. Retrieved February 28, 2022, from https://processing.org/.
  Processing. (n.d.). Video / libraries. Retrieved March 10, 2022, from https://processing.org/reference/libraries/video/index.html.
  Schlegel, A. (2022). processing GUI, controlP5. Retrieved March 15, 2022, from https://www.sojamo.de/libraries/controlP5/.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กลับสู่ เมนูค้นหา
       
กองบรรณาธิการวารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290  mitij@mju.ac.th