ชื่อบทความ |
การพัฒนาเครื่องพ่นฆ่าเชื้อโรคที่พื้นสำหรับเท้าและรองเท้า แบบอัตโนมัติ
|
ชื่อบทความ(English) |
DEVELOPMENT OF A FLOOR DISINFECTANT SPRAYER FOR FEED AND SHOES, AUTOMATIC
|
|
|
ประเภทบทความ |
บทความวิจัย
|
ชื่อผู้แต่ง |
บุญสืบ โพธิ์ศรี (Boonsueb Posri)
|
หน่วยงาน |
สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสาคร สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 5 (Information Technology, Samutsakorn Technical College, Institute of Vocational Education Center region 5)
|
ชื่อวารสาร |
วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2565
|
บทคัดย่อ |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อออกแบบ และสร้างเครื่องพ่นฆ่าเชื้อเท้า แบบอัตโนมัติ 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของเครื่องพ่นฆ่าเชื้อเท้า แบบอัตโนมัติ ผู้วิจัยได้ศึกษา รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลองค์ความรู้เกี่ยวกับเครื่องพ่นฆ่าเชื้อเท้า แบบอัตโนมัติและได้นำระบบควบคุมที่ได้มาทดสอบหาประสิทธิภาพ โดยแบ่งออกเป็น 2 ด้าน ดังนี้
1. ผลการออกแบบระบบควบคุม ผู้วิจัยได้แบ่งการออกแบบระบบควบคุมออกเป็น 2 ด้าน คือ 1) ระบบควบคุมปั๊ม พ่นน้ำยาฆ่าเชื้อเท้าแบบอัตโนมัติ ประกอบด้วย Arduino UNO R3 จำนวน 1 บอร์ด รีเลย์ (Relay Board) 1 Channel 5 โวลต์ R3 จำนวน 1 ตัว ปั๊มน้ำ 12 โวลต์ 5 แอมป์ จำนวน 1 ตัว โมดูลเซนเซอร์วัดระยะทางแบบ Ultrasonic จำนวน 1 ตัว ซึ่งมีกระบวนการทำงานเมื่อมีวัตถุต่าง ๆ ผ่านเซ็นเซอร์ ที่ระยะห่าง 20 เซ็นติเมตร หลังจากนั้นเซ็นเซอร์จะส่งค่ามายังบอร์ด Arduino UNO R3 และบอร์ด Arduino UNO R3 จะสั่งการทำงานไปยังรีเลย์บอร์ด หลังจากนั้นรีเลย์บอร์ดจะสั่งการทำงานไปยังปั๊มน้ำเพื่อฉีดน้ำยาฆ่าเชื้อผ่านหัวพ่นหมอกแบบอัตโนมัติ ผลการออกแบบระบบควบคุมปั๊มพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อเท้าแบบอัตโนมัติ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นไปตามเกณฑ์ที่วางแผนออกแบบระบบควบคุม 2) ระบบแจ้งเตือนของเครื่องพ่นฆ่าเชื้อเท้า แบบอัตโนมัติ ประกอบด้วย Node MCU ESP8266 จำนวน 1 บอร์ด ขาต่อพ่วงบอร์ด Prototype PCB จำนวน 1 บอร์ด และโมดูลเซนเซอร์วัดระดับน้ำ จำนวน 1 บอร์ด มีกระบวนการทำงานเมื่อระดับน้ำยาฆ่าเชื้ออยู่ระหว่างหรือต่ำกว่าระดับของโมดูลเซนเซอร์วัดระดับน้ำ Node MCU ESP8266 จะรับค่าจากเซ็นเซอร์วัดระดับน้ำและแจ้งเตือนระดับน้ำไปยัง Line Notify ตาม To ken ที่ระดับในโค้ดคำสั่งแบบอัตโนมัติ ผลการออกแบบระบบแจ้งเตือนของเครื่องพ่นฆ่าเชื้อเท้าแบบอัตโนมัติ พบว่าระบบทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ผลการทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องพ่นฆ่าเชื้อเท้า แบบอัตโนมัติ ผู้วิจัยได้แบ่งการหาประสิทธิภาพออกเป็น 2 ด้าน คือ 1) การทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องพ่นฆ่าเชื้อเท้า แบบอัตโนมัติที่ระยะห่าง 10 เซ็นติเมตร 20 เซ็นติเมตร และ 30 เซ็นติเมตร (ค่าที่ระบบตั้งไว้ระยะห่าง 20 เซ็นติเมตร) ผลการทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องพ่นฆ่าเชื้อเท้า แบบอัตโนมัติ ที่ระยะห่าง 10 เซนติเมตร พบว่า ระบบไม่ทำงานทั้ง 5 รอบ เนื่องจากไม่ใช่ค่าที่ระบบตั้งไว้ จากการทดสอบประสิทธิภาพ ระยะห่าง 20 เซนติเมตร พบว่าระบบจะทำงานปกติ ทั้ง 5 รอบ เมื่อมีวัตถุผ่านเซ็นเซอร์ Ultrasonic เซ็นเซอร์จะส่งสัญญาณไปยังรีเลย์เพื่อสั่งงานให้มอเตอร์ทำงาน หลังจากที่มอเตอร์ทำงานระบบจะปั๊มน้ำยาฆ่าเชื้อและพ่นน้ำยาออกที่หัวพ่นหมอก ซึ่งการพ่นหมอกใช้เวลาเฉลี่ย 3 วินาที ต่อ 1 ครั้ง และจากการทดสอบประสิทธิภาพที่ระยะห่าง 30 เซนติเมตร พบว่า ระบบไม่ทำงาน จำนวน 4 ครั้ง และระบบทำงานได้ จำนวน 1 ครั้ง ดังนั้นสรุปผลการทดสอบทั้ง 3 ระยะ พบว่าระบบทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามระบบที่ได้ตั้งค่าไว้ 2) ผลการทดสอบระบบแจ้งเตือนผ่าน Line Notify ของเครื่องพ่นฆ่าเชื้อเท้าแบบอัตโนมัติ พบว่าระบบแจ้งเตือนผ่าน Line Notify สามารถสรุปผลการทดสอบระบบทำงานได้อย่างถูกต้องทั้ง 5 ครั้ง และผลการทดสอบระดับน้ำยาฆ่าเชื้อระดับเดียวกับเซ็นเซอร์ ระบบทำงานผิดพลาด จำนวน 2 ครั้ง และทำงานถูกต้อง จำนวน 3 ครั้ง ทั้งนี้ผลการทดสอบระดับน้ำยาฆ่าเชื้อต่ำกว่าเซ็นเซอร์ พบว่าระบบทำงานได้อย่างถูกต้องจำนวน 5 ครั้ง ตามลำดับ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าระบบทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่าจะมีการทำงานผิดพลาด จำนวน 2 ครั้ง ซึ่งนั้นเกิดขึ้นจากหลายปัจจัยทั้งด้านคุณภาพฮาร์ดแวร์ สภาพอากาศ แสงและปัจจัยอื่นๆ แต่ผลการทดสอบการทำงานในครั้งที่ 3 ถึง 5 นั้นแสดงให้เห็นว่าระบบทำงานได้ไม่ผิดพลาด
|
คำสำคัญ |
เครื่องพ่นฆ่าเชื้อ, ไมโครคอนโทรลเลอร์อาดุยโน่, ไวรัสโคโรนา 2019
|
ปี พ.ศ. |
2565
|
ปีที่ (Vol.) |
8
|
ฉบับที่ (No.) |
2
|
เดือนที่พิมพ์ |
กรกฎาคม - ธันวาคม
|
เลขที่หน้า (Page) |
1-16
|
ISSN |
ISSN 2672-9008 (Online)
|
DOI |
10.14456/mitij.2022.6
|
ORCID_ID |
0009-0003-7924-7240
|
ไฟล์บทความ |
https://mitij.mju.ac.th/ARTICLE/R65008.pdf
|
| |
เอกสารอ้างอิง | |
|
อภิรักษ์ พันธุ์พณาสกุล, ฟิตรี ยะปาและอัลนิสฟาร์ เจะดือราแม. (2563). การพัฒนาระบบเปิด-ปิด
ไฟด้วยไมโครเซนเซอร์ควบคู่กับแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน : วารสารวิชาการ
การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 11, หน้า 994.
|
|
ศิวกร จินดารัตน์. (2557) ระบบการจัดการฟาร์มไก่อัจฉริยะด้วยราสเบอรี่ไพและอาดุยโน่.
ภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ, คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ, มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้า
พระนครเหนือ.
|
|
ธนศรสวรรค์ วรธนมงคลชัย. (2565). รู้จักกับ Arduino ESP8266 (NodeMCU). สืบค้นเมื่อวันที่
15 มกราคม 2565, จาก ayarafun: ttp://www.ayarafun.com/2015/08/
introduction- arduinoesp8266-nodemcu.
|
|
น้ำฝน อัศวเมฆิน. (2558). หลักการพื้นฐานของวิศกรรมซอฟต์แวร์ (Fundamentals of
Software Engineering), กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
|
|
บริษัท วีนัส ซัพพลาย จำกัด. (2565). ตัวอย่างการใช้งาน Arduino + Relay Module. สืบค้นเมื่อ
วันที่ 15 มกราคม 2565, จาก thaieasyelec.: https://www.thaieasyelec.com
/article-wiki/reviewproduct-article/ตัวอย่างการใช้งาน-arduino-relay-module-
ควบคุมการปิดเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า.html.
|
|
พาขวัญ พัดเย็นใจและชนุดม เอกเตชวุฒ. (2559). การพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับโทรศัพท์มือถือ
ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ครั้งที่ 2. การประชุมวิชาการระดับชาติการจัดการเทคโนโลยี
และนวัตกรรม, หน้า 270.
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|