วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม 
Maejo Information Technology and Innovation Journal (MITIJ)
 ค้นหา | หน้าแรก   
 
 
 
» หน้าแรก
» ฉบับปัจจุบัน
» ฉบับย้อนหลัง
» ค้นหาวารสาร/บทความ
» ลงทะเบียน (OJS/PKP)
 

                               :: รายละเอียดบทความ ::
กลับสู่เมนูค้นหา 
ชื่อบทความ
การพัฒนาสื่อดิจิทัลวีดิทัศน์การท่องเที่ยวผ่านเทคโนโลยีการเรียนรู้เเบบเสมือนจริง เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์การทัศนศึกษาแหล่งการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ชื่อผู้แต่ง พงศกร รุ่งกำจัด, ณัฐพล รำไพ และ สูติเทพ ศิริพิพัฒนกุล (Phongsakorn Rungkamjud, Nattaphon Rampai and Sutithep Siripipattanakul)
หน่วยงาน สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (Technology and Communication Education Program, Faculty of Education Kasetsart University)
ชื่อวารสาร วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2566
บทคัดย่อ

              การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อดิจิทัลวีดิทัศน์การท่องเที่ยวผ่านเทคโนโลยีการเรียนรู้เเบบเสมือนจริง เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์การทัศนศึกษาแหล่งการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ 2) ศึกษาภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวของนักศึกษาที่มีต่อการทัศนศึกษาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 3) วัดความรู้ของผู้เรียนก่อนและหลังรับชมสื่อดิจิทัลวีดิทัศน์การท่องเที่ยวผ่านเทคโนโลยีการเรียนรู้เเบบเสมือนจริง 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อสื่อดิจิทัลวีดิทัศน์การท่องเที่ยวผ่านเทคโนโลยีการเรียนรู้เเบบเสมือนจริง โดยเป็นการพัฒนาสื่อดิจิทัลวีดีทัศน์การท่องเที่ยวผ่านเทคโนโลยีการเรียนรู้เเบบเสมือนจริงในรูปแบบทัวร์เสมือนจริง 360 องศา (Virtual Tour) ซึ่งถือเป็นทางเลือกในการพัฒนาสื่อดิจิทัลวีดิทัศน์ให้มีความสอดคล้องกับเทคโนโลยีและสถานการณ์ในปัจจุบันเพื่อเป็นการส่งเสริมองค์ความรู้และเจตคติให้กับผู้เรียน เพื่อให้เกิดความสนใจในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น

               จากการทดลองใช้สื่อกับกลุ่มเป้าหมายที่ได้จากการเลือกแบบกลุ่ม (Cluster sampling) ของผู้เรียน จำนวน 30 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยสื่อดิจิทัลวีดิทัศน์ 2) สื่อดิจิทัลวีดิทัศน์ 3) แบบวัดความรู้ก่อนรับชมสื่อและแบบวัดความรู้หลังรับชมสื่อ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5) แบบทดสอบภาพลักษณ์การทัศนศึกษาแหล่งการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษา ซึ่งมีการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สรุปผลการวิจัยพบว่า 1) สื่อดิจิทัลวีดิทัศน์ มีคุณภาพโดยรวมที่ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก  = 4.67 และมีค่าประสิทธิภาพของสื่อเท่ากับ 81.77/84.00 2) นักศึกษาที่เรียนด้วยสื่อดิจิทัลวีดิทัศน์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าคะแนนผลการทดสอบก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 3) ค่าดัชนีประสิทธิผลมีค่าเท่ากับ 0.70 แสดงให้เห็นว่าผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น 4) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อสื่อดิจิทัลวีดิทัศน์ ค่าเฉลี่ยรวม  = 4.67 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.54

คำสำคัญ ดิจิทัลวีดิทัศน์, ภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยว, เทคโนโลยีเสมือนจริง, ทัวร์เสมือนจริง, วิดีโอ 360 องศา
ปี พ.ศ. 2566
ปีที่ (Vol.) 9
ฉบับที่ (No.) 1
เดือนที่พิมพ์ มกราคม - มิถุนายน
เลขที่หน้า (Page) 14-29
ISSN ISSN 2672-9008 (Online)
DOI 10.14456/mitij.2023.2
ORCID_ID 0000-0002-5477-6723
ไฟล์บทความ https://mitij.mju.ac.th/ARTICLE/R66002.pdf
  
เอกสารอ้างอิง 
  ไกรฤกษ์ ปิ่นแก้ว (2556). แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2565, จาก http://tourismdan1.blogspot.com
  กนกวรรณ นำมา, สูติเทพ สิริพิพัฒนกุล, ไพฑูรย์ ศรีฟ้า (2564). การพัฒนาสื่อดิจิทัลวิดีโอร่วมกับการเรียนรู้แบบปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียนเพื่อเสริมสร้างทัศนคติ เชิงบวกต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์อย่างมีความสุข. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
  ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย
  นิศากร บุญเลิศ (2554). ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทางวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  เผชิญ กิจระการ (2544). การวิเคราะห์ประสิทธิภาพสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา. วารสารการวัดผลการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 5(11), 44-51.
  เผชิญ กิจระการ (2546). ดัชนีประสิทธิผล. มหาสารคาม : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
  รพงษ์ วิริยะ, อนันตทัศน์ สุขประดิษฐ์, รสา ทองคงอยู่ (2560). การพัฒนาเทคโนโลยีการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเสมือนจริงในจังหวัดนครสวรรค์. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 4 (น.1253). กําแพงเพชร : คณะ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา.
  Kozak, M. and Decrop, A. (2009). Handbook of tourist behavior : theory and practice. New York : Routledge.
  Prebensen, N. K. (2007). Exploring tourists’ images of a distant destination. Tourism Management 28 (3) : 747-756.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กลับสู่ เมนูค้นหา
       
กองบรรณาธิการวารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290  mitij@mju.ac.th