วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม 
Maejo Information Technology and Innovation Journal (MITIJ)
 ค้นหา | หน้าแรก   
 
 
 
» หน้าแรก
» ฉบับปัจจุบัน
» ฉบับย้อนหลัง
» ค้นหาวารสาร/บทความ
» ลงทะเบียน (OJS/PKP)
 

                               :: รายละเอียดบทความ ::
กลับสู่เมนูค้นหา 
ชื่อบทความ
การพัฒนาทักษะการออกแบบภาพกราฟิกโดยการนำเสนอผลงานแบบจักรวาลนฤมิตสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
ชื่อผู้แต่ง ศิริพล แสนบุญส่ง และ กมลพรรณ ทองคล้าย (Siripon Saenboonsong and Kamonphan Thongklai)
หน่วยงาน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา (Department of Computer Education, Faculty of Education, Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University)
ชื่อวารสาร วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2566
บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบคะแนนทักษะการออกแบบภาพกราฟิกของนักเรียนด้วยการนำเสนอแบบจักรวาลนฤมิตกับเกณฑ์ร้อยละ 75 และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อกิจกรรมการพัฒนาทักษะการออกแบบภาพกราฟิกด้วยการนำเสนอแบบจักรวาลนฤมิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนประตูชัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 30 คน โดยการใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) โครงการพัฒนานักเรียน 2) แผนการจัดกิจกรรม 3) แบบประเมินทักษะการออกแบบภาพกราฟิก และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าทดสอบที

           ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีทักษะการออกแบบภาพกราฟิกของนักเรียนด้วยการนำเสนอแบบจักรวาลนฤมิตสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักเรียน
มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการพัฒนาทักษะการออกแบบภาพกราฟิกด้วยการนำเสนอแบบจักรวาลนฤมิตในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.49 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.59

คำสำคัญ ทักษะการออกแบบภาพกราฟิก, จักรวาลนฤมิต, โครงการพัฒนานักเรียน
ปี พ.ศ. 2566
ปีที่ (Vol.) 9
ฉบับที่ (No.) 1
เดือนที่พิมพ์ มกราคม - มิถุนายน
เลขที่หน้า (Page) 30-44
ISSN ISSN 2672-9008 (Online)
DOI 10.14456/mitij.2023.3
ORCID_ID 0009-0009-6174-199X
ไฟล์บทความ https://mitij.mju.ac.th/ARTICLE/R66003.pdf
  
เอกสารอ้างอิง 
  กาญจนา บุญภักดิ์. (2563). การจัดการเรียนรู้ยุค New Normal. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม 19(2), A1-A6.
  กุลรชา จำปาเฟื่อง. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะในบทบาทของผู้เรียนและทักษะในบทบาทของครูในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 3(3), 437-451.
  ขนิษฐา เสนา, สุพจน์ อิงอาจ และศยามน อินสะอาด. (2565). ผลการใช้วีดิทัศน์แบบสาธิต เรื่อง การบริหารจัดการโครงการกิจกรรมนักศึกษา ด้วยวงจรเดมมิ่ง (PDCA) สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา 17(22), 1-16.
  เครือวัลย์ เก่งเขตรวิทย์. (2564). กิจกรรมสร้างสื่อชุดกิจกรรมฝึกสมาธิกับการส่งเสริมศักยภาพผู้สอนรายวิชาการงานอาชีพด้วยกระบวนการ PDCA. วารสารพัฒนาทักษะทางวิชาการอย่างยั่งยืน 3(2), 68-81.
  ธานินทร์ อินทรวิเศษ, ธนวัฒน์ เจริญษา และพิชญาภา ยวงสร้อย. (2564). ภาพสะท้อนการศึกษาไทยหลังภาวะโควิด 2019. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น 7(4), 323-333.
  ธีรังกูร วรบํารุงกุล, พรสวัสดิ์ ศิรศาตนันท์, สมปอง มูลมณี และเริงวิชญ์ นิลโคตร. (2563). กิจกรรมสนับสนุนรูปแบบการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ด้านทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของโรงเรียนในภาคตะวันออก. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ 7(9), 283-300.
  พรพรรณ สีละมนตรี. (2565). ข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษาภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด. วารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2(1), 115-134.
  ยุภาดี ปณะราช. (2564). สถิติเพื่อการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  ศิริพล แสนบุญส่ง, ชื่นกมล เพ็ชรมณี และธนารีย์ ปี่ทอง. (2563). การพัฒนาเว็บไซต์สําเร็จรูปเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง หลักการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลท่าเรือประชานุกูล. วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม 6(1), 41-53.
  สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
  สุรพล บุญลือ. (2565). เมตาเวิร์สสำหรับการศึกษา: การเชื่อมต่อระหว่างจักรวาลนฤมิตกับโลกความจริงของการเรียนรู้ที่จะก่อให้เกิดการเรียนรู้แบบดื่มด่ำ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ท กรุงเทพ 11(1), 9-16.
  Anwar, K. (2021). The perception of using technology canva application as a media for english teacher creating media virtual teaching and english learning in loei thailand. Journal of English Teaching, Literature, and Applied Linguistics 5(1), 62-69.
  Kim, H. Y. (2013). Statistical notes for clinical researchers: assessing normal distribution using skewness and kurtosis. Restorative dentistry & endodontics 38(1), 52-54.
  Kim, O. (2019). A Study on the Measures for Managing the Quality of Curriculum of Early Childhood Education Department in College with the Application of CIPP Model based on PDCA. Journal of the Korea Convergence Society 10(1), 214-226.
  Lee, H., & Hwang, Y. (2022). Technology-Enhanced Education through VR-Making and Metaverse-Linking to Foster Teacher Readiness and Sustainable Learning. Sustainability 14(8), 4786.
  Mystakidis, S. (2022). Metaverse. Encyclopedia 2(1), 486-497.
  Sriworapong, S., Pyae, A., Thirasawasd, A., & Keereewan, W. (2022). Investigating Students’ Engagement, Enjoyment, and Sociability in Virtual Reality-Based Systems: A Comparative Usability Study of Spatial. io, Gather. town, and Zoom. In International Conference on Well-Being in the Information Society (pp. 140-157). Springer, Cham.
  Sun, D., Looi, C. K., & Xie, W. (2017). Learning with collaborative inquiry: A science learning environment for secondary students. Technology, Pedagogy and Education, 26(3), 241-263.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กลับสู่ เมนูค้นหา
       
กองบรรณาธิการวารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290  mitij@mju.ac.th