วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม 
Maejo Information Technology and Innovation Journal (MITIJ)
 ค้นหา | หน้าแรก   
 
 
 
» หน้าแรก
» ฉบับปัจจุบัน
» ฉบับย้อนหลัง
» ค้นหาวารสาร/บทความ
» ลงทะเบียน (OJS/PKP)
 

                               :: รายละเอียดบทความ ::
กลับสู่เมนูค้นหา 
ชื่อบทความ
การออกแบบตัวต้นแบบระบบการปลูกผักสวนครัวภายในอาคารชุดโดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง
ชื่อผู้แต่ง อนุมาศ แสงสว่าง (Anumas Sangsawang)
หน่วยงาน สาขาวิชาระบบสารสนเทศ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร (Information System Major, Faculty of Business Administration)
ชื่อวารสาร วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2566
บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระบบการปลูกผักสวนครัวภายในอาคารชุดโดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง 2) ออกแบบตัวต้นแบบระบบการปลูกผักสวนครัวภายในอาคารชุดโดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง 3) เพื่อประเมินผลการออกแบบตัวต้นแบบระบบการปลูกผักสวนครัวภายในอาคารชุดโดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 20 คน เครื่องมือที่ใช้คือ ตัวต้นแบบระบบการปลูกผักสวนครัวภายในอาคารชุดโดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง และแบบประเมินผลการออกแบบตัวต้นแบบ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ตัวต้นแบบระบบการปลูกผักสวนครัวฯ ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ 1) ส่วนของฮาร์ดแวร์ ที่มีการรับค่าและเซนเซอร์ระดับความชื้นของดิน ความเข้มของแสง 2) ส่วนของเว็บแอปพลิเคชัน และโมบายแอปพลิเคชัน ที่แสดงค่าความชื้นของดิน ค่าความเข้มของแสง ที่มีการับค่ามาจากเซนเซอร์และมีการเก็บบันทึกข้อมูลค่าความชื้น ค่าความเข้มของแสงเพื่อแสดงข้อมูลย้อนหลัง ผลการประเมินตัวต้นแบบระบบการปลูกผักสวนครัวภายในอาคารชุดโดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง โดยรวมอยู่ในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ยโดยรวม 4.01 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.05 แสดงให้เห็นว่าการออกแบบตัวต้นแบบมีความเหมาะสมกับการนำไปประยุกต์ใช้สำหรับปลูกผักสวนครัวภายในอาคารชุดได้อย่างเหมาะสม

คำสำคัญ การออกแบบตัวต้นแบบ, ระบบการปลูกผักสวนครัว, เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง
ปี พ.ศ. 2566
ปีที่ (Vol.) 9
ฉบับที่ (No.) 1
เดือนที่พิมพ์ มกราคม - มิถุนายน
เลขที่หน้า (Page) 61-76
ISSN ISSN 2672-9008 (Online)
DOI 10.14456/mitij.2023.5
ORCID_ID 0009-0006-5859-9986
ไฟล์บทความ https://mitij.mju.ac.th/ARTICLE/R66005.pdf
  
เอกสารอ้างอิง 
  จารุกิตติ์ สายสิงห์ และโกวิทย์ แสนพงษ์. (2563). การพัฒนากระเช้าปลูกผักสลัดอัจฉริยะ. วารสารวิชาการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 6(1): 38-47.
  จิรศักดิ์ วงษ์บงกชไพศาล และคณะ. (2562). โปรแกรมทดสอบอุณหภูมิและความชื้นในดินสำหรับ โรงเรือนอัจฉริยะเพื่อใช้ปลูกผักออแกนิค. การประชุมวิชาการและพัฒนาเชิงประยุกต์ครั้งที่ 11. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 107-110.
  ณัฐพล ธนเชวงสกุล และคณะ (2560). การออกแบบตัวต้นแบบระบบฟาร์มเลี้ยงไก่โดยใช้เทคโนโลยี อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง. วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 3(2): 26-40.
  ถิรพิรุฬห์ ทองคำวิฑูรย์. (2559). เทคโนโลยี Internet of Things และข้อเสนอแนะในการบริหารคลื่นความถี่ในประเทศไทย. วารสาร กสทช. 168-172.
  ธิติศักดิ์ โพธิ์ทอง และ คณะ. (2562). การพัฒนาระบบฟาร์มอัจฉริยะสำหรับเกษตรกรยุคใหม่ด้วย ซอต์ฟแวร์รหัสเปิดและอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง. วารสารเกษตรนเรศวร 16(2): 10-17.
  บุญชม ศรีสะอาด (2561). การแปลผลเมื่อใช้เครื่องมือรวบรวมข้อมูลแบบมาตราส่วนประมาณค่า ค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2565. ค้นจาก http://www.watpon.in.th/boonchom/trans.pdf
  ปิติวัฒน์ จุลเกษมศักดิ์ และคณะ. (2564). การพัฒนาต้นแบบเครื่องดูแลพืชแบบกึ่งอัตโนมัติสำหรับผู้ใช้ ที่มีพื้นที่จำกัด ด้วยอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง. งานประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2564 100-110.
  วีรศักดิ์ ฟองเงิน และคณะ. (2561). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีไอโอทีควบคุมฟาร์มอัจฉริยะในโรงเรือน เพาะเห็ดนางฟ้า. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 5(1): 172-182.
  สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2547). มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนถ่านอัดแท่ง. ค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2565. ค้นจาก http://www.tisi.go.th/otop/pdf_file/tcps238_47.pdf
  อรสา ดสถาพร. (2551). หลักปฏิบัติเบื้องต้นในการปลูกผักสวนครัว. กลุ่มสื่อส่งเสริมการเกษตร สำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมส่งเสริมการเกษตร.
  อิทธิกฤต ธนกิจสมบัติ บัณฑิต จุลาสัย. (2563). อาคารชุดในเขตกรุงเทพมหานคร ในช่วงปี พ.ศ. 2524-2560. วารสารวิชาการสาระศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 3(1): 54-67.
  อุมาพร บ่อพิมาย และคณะ. (2563). ระบบเทคโนโลยีอัจฉริยะเกษตรอินทรีย์. วารสารมหาจุฬานาคร ทรรศน์ 7(11): 63-78.
  Donnaya Suvetwethin. (2560). สวนผักปัญญาชน ในแปลงมหา*ลัยสีเขียว. ค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2565. ค้นจาก https://bit.ly/3cPi1AC
  Al-Omary, A. AlSabbagh, H. M. and Al-Rizzo, H. (2018). Cloud based IoT for smart garden watering system using Arduino Uno. Smart Cities Symposium 2018. (pp 1-6), Bahrain, 22-23 April 2018. doi: 10.1049/cp.2018.1401.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กลับสู่ เมนูค้นหา
       
กองบรรณาธิการวารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290  mitij@mju.ac.th