วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม 
Maejo Information Technology and Innovation Journal (MITIJ)
 ค้นหา | หน้าแรก   
 
 
 
» หน้าแรก
» ฉบับปัจจุบัน
» ฉบับย้อนหลัง
» ค้นหาวารสาร/บทความ
» ลงทะเบียน (OJS/PKP)
 

                               :: รายละเอียดบทความ ::
กลับสู่เมนูค้นหา 
ชื่อบทความ
การพัฒนาหนังสือดิจิทัลร่วมกับเทคโนโลยีเมตาเวิร์สทำเนียบศิษย์เก่า สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ชื่อบทความ(English)
The Devlopment of Educational Technology and Communications Faculty of Technical Education, Rajamangala University of Technology Thanyaburi, Digital year book via metaverse technology
ประเภทบทความ
บทความวิจัย
ชื่อผู้แต่ง ธิดารัตน์ กุลณัฐรวงศ์, นวพรรษ จันทร์คำ, นฤมล เทพนวล และ มหาชาติ อินทโชติ (Thidarat Kulnattarawong, Nawaphas Chankham, Naruemon Thepnuan and Mahachart Inthachot)
หน่วยงาน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (Faculty of Technical Education, Rajamangala University of Technology Thanyaburi)
ชื่อวารสาร วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2566
บทคัดย่อ

        งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) พัฒนาหนังสือดิจิทัลร่วมกับเทคโนโลยีเมตาเวิร์สทำเนียบศิษย์เก่าสาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี  และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของศิษย์เก่าสาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาที่มีต่อหนังสือดิจิทัลร่วมกับเทคโนโลยีเมตาเวิร์สทำเนียบศิษย์เก่าสาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในวิจัย  ได้แก่  ศิษย์เก่าสาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 316 คน โดยการเลือกตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ หนังสือดิจิทัลร่วมกับเทคโนโลยีเมตาเวิร์สทำเนียบศิษย์เก่าสาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี แบบประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาและด้านสื่อ และแบบประเมินความพึงพอใจ ผลการวิจัยพัฒนาหนังสือดิจิทัลร่วมกับเทคโนโลยีเมตาเวิร์สทำเนียบศิษย์เก่าสาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี พบว่า  1)  ผลการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาของหนังสือดิจิทัลร่วมกับเทคโนโลยีเมตาเวิร์สทำเนียบศิษย์เก่าสาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มีคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก (= 3.73, S.D. = 0.23) และผลการประเมินคุณภาพด้านสื่อ มีคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก (= 3.80, S.D. = 0.23) และ 2) ความพึงพอใจของศิษย์เก่าสาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาที่มีต่อหนังสือดิจิทัลร่วมกับเทคโนโลยีเมตาเวิร์สทำเนียบศิษย์เก่าสาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษามีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 3.86, S.D. = 0.36)

คำสำคัญ หนังสือดิจิทัล, เทคโนโลยีเมตาเวิร์ส, ทำเนียบศิษย์เก่า
ปี พ.ศ. 2566
ปีที่ (Vol.) 9
ฉบับที่ (No.) 2
เดือนที่พิมพ์ กรกฎาคม - ธันวาคม
เลขที่หน้า (Page) 47-65
ISSN ISSN 3027-7280 (Online)
DOI 10.14456/mitij.2023.9
ORCID_ID 0009-0005-8025-8806
ไฟล์บทความ https://mitij.mju.ac.th/ARTICLE/R66014.pdf
  
เอกสารอ้างอิง 
  คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมงคลธัญบุรี. (2562). หลักสูตรเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. ปทุมธานี: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี.
  จินตวีร์ คล้ายสังข์. (2555). Desktop Publishing สู่ e-book เพื่อส่งเสริมการใฝ่รู้ของผู้เรียนยุค ดิจิทัล. หนังสือชุดการบูรณาการ ICT สู่การเรียนรู้ สำหรับผู้เรียนยุคใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  ถวัลย์ มาศจรัส. (2552). การเขียนเชิงสร้างสรรค์เพื่อการศึกษาและอาชีพตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ และหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: ธารอักษร.
  ธิติรัตน์ สมบูรณ์. (2565). Metaverse อนาคตการศึกษาข้ามพรมแดนการเรียนรู้จากโลกจริงสู่โลกเสมือน. ค้นจาก https://www.chula.ac.th/highlight/64690/
  ทองม้วน พิมพ์เภา. (2553). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง คำเป็น กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
  ทิพวัลย์ แสนคำ สมศักดิ์ จีวัฒนา และนลินทิพย์ พิมพ์กลัด. (2560). การพัฒนาเว็บไซต์ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. วารสารวิชาการ : TM การจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 4 (2). 142-150.
  ไทยรัฐออนไลน์. (2564). เปิดที่มา "Metaverse" คืออะไร สำคัญอย่างไรกับโลกอนาคต?. ค้นจาก https://www.thairath.co.th/lifestyle/tech/2230534
  มารยาท โยทองยศ และปราณี สวัสดิสรรพ์. (2565). การกําหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัย. ค้นจาก http://www.fsh.mi.th/km/wp-ontent/uploads/2014/04/resch.pdf
  ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ. (2563). 9 เรื่องควรรู้ กับ Metaverse โลกเสมือนแห่งอนาคต. ค้นจาก https://www.nectec.or.th/news/news-article/ 9about-metaverse.html
  ส.วาสนา ประวาลพฤกษ์. (2544). หลักการและเทคนิคการประเมินผลการศึกษา. กรุงเทพฯ: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป.
  สิทธิเดช จรรยาพัฒนานุกูล. (2560). การพัฒนาหนังสือดิจิทัลร่วมกับการเรียนรู้แบบผสมผสาน เรื่อง แนวคิด เชิงวัตถุ เพื่อส่งเสริมความสามารถการวิเคราะห์และออกแบบเชิงวัตถุ สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. (วิทยานิพนธ์ปริญญา วท.ม. (เทคโนโลยีการเรียนรู้และสื่อสารมวลชน)). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
  อัจฉริยา ตุ้ยดี. (2559). การพัฒนาหนังสือดิจิทัลเชิงสารคดีเรื่อง แผ่นดินไหว สําหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ปริญญา ศษ.ม. (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา)) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
  Barker, P. (1996, Autumn). Electronic books: A review and assessment of current. Educational Technology Review, (6), 14-18.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กลับสู่ เมนูค้นหา
       
กองบรรณาธิการวารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290  mitij@mju.ac.th