วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม 
Maejo Information Technology and Innovation Journal (MITIJ)
 ค้นหา | หน้าแรก   
 
 
 
» หน้าแรก
» ฉบับปัจจุบัน
» ฉบับย้อนหลัง
» ค้นหาวารสาร/บทความ
» ลงทะเบียน (OJS/PKP)
 

                               :: รายละเอียดบทความ ::
กลับสู่เมนูค้นหา 
ชื่อบทความ
การศึกษาความต้องการลักษณะบริการสารสนเทศของห้องสมุดในยุคดิจิทัลของนักศึกษา อาจารย์ ในระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑล
ชื่อผู้แต่ง จักรกฤตย์ จันชารา(1*), วัตสาตรี ดิถียนต์(2) และ บุญรัตน์ แผลงศร(3) (Jakkrit Janchara(1*), Watsatree Diteeyont(2) and Boonrat Plangsorn(3))
หน่วยงาน (1-3)สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (Education Communications and Technology Program, Faculty of Education Kasetsart University) *Corresponding author: jakkrit.ja@ku.th
ชื่อวารสาร วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2567
บทคัดย่อ

   บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการลักษณะบริการสารสนเทศของห้องสมุดในยุคดิจิทัลของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑล 2) ศึกษาความต้องการลักษณะบริการสารสนเทศของห้องสมุดในยุคดิจิทัลของอาจารย์ในระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑล 3) เพื่อเปรียบเทียบความต้องการลักษณะบริการสารสนเทศของห้องสมุดในยุคดิจิทัลของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑล 4) เพื่อเปรียบเทียบความต้องการลักษณะบริการสารสนเทศของห้องสมุดในยุคดิจิทัลของอาจารย์ในระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑล เป็นการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือ โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 402 คน แบ่งเป็นนักศึกษา 315 คน อาจารย์ 87 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิต T test independent และอธิบายผลการศึกษาใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics)

         ผลการวิจัย พบว่า ความต้องการลักษณะบริการสารสนเทศของห้องสมุดในยุคดิจิทัลของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑลส่วนใหญ่มีความต้องการบริการด้านเทคโนโลยี ด้านสถานที่/สภาพแวดล้อมทางกายภาพ และด้านบริการ มากเป็นอันดับหนึ่ง คิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.0 เท่ากัน รองมา คือ ความต้องการด้านทรัพยากรสารสนเทศ คิดเป็นค่าเฉลี่ย 3.8 ในเขตกรุงเทพมหานคร และ 3.9 ในเขตปริมณฑล

      ส่วนด้านอาจารย์ในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า มีความต้องการลักษณะบริการสารสนเทศของห้องสมุดในยุคดิจิทัลส่วนใหญ่ คือ บริการด้านทรัพยากรสารสนเทศ คิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.3 รองลงมา คือ บริการด้านเทคโนโลยี ด้านสถานที่/สภาพแวดล้อมทางกายภาพ คิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.1 เท่ากัน รองลงมา คือ ด้านบริการ คิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.0 ส่วนด้านอาจารย์ในเขตปริมณฑลมีความต้องการลักษณะบริการสารสนเทศของห้องสมุดในยุคดิจิทัลส่วนใหญ่ คือ บริการด้านเทคโนโลยี ด้านสถานที่/สภาพแวดล้อมทางกายภาพ และด้านการบริการ คิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.5 เท่ากัน รองลงมา คือ บริการด้านทรัพยากรสารสนเทศ คิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.4

     เมื่อเปรียบเทียบลักษณะความต้องการบริการด้านเทคโนโลยี ด้านทรัพยากรสารสนเทศ ด้านสถานที่/สภาพแวดล้อมทางกาย และด้านบริการของห้องสมุดในยุคดิจิทัลโดยภาพรวม จำแนกตาม เพศ อาชีพ ช่วงอายุ ระดับการศึกษา พบว่า ตัวแปรที่มีผลต่อความต้องการลักษณะบริการสารสนเทศของห้องสมุดได้แก่ เพศ และ อายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 แต่ไม่พบความแตกต่างของความต้องการในปัจจัยอื่น ๆ

       เมื่อเปรียบเทียบความต้องการลักษณะบริการสารสนเทศของห้องสมุดในยุคดิจิทัลของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑล พบว่า ความต้องการลักษณะบริการสารสนเทศของนักศึกษาด้านเทคโนโลยี ด้านทรัพยากรสารสนเทศ ด้านสถานที่/สภาพแวดล้อมทางกายภาพ และด้านบริการ มีความต้องการที่ไม่แตกต่างกันเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

     ด้านอาจารย์ พบว่า มีความต้องการลักษณะบริการสารสนเทศของห้องสมุดในยุคดิจิทัล คือ ด้านเทคโนโลยี ด้านสถานที่/สภาพแวดล้อมทางกายภาพ และด้านบริการ โดยมีความต้องการที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ยกเว้นด้านทรัพยากรสารสนเทศที่มีความต้องการที่ไม่แตกต่างกัน

คำสำคัญ บริการห้องสมุด, บริการสารสนเทศ, ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา, ห้องสมุดดิจิทัล, ห้องสมุดแบบผสมผสานดิจิทัล
ปี พ.ศ. 2567
ปีที่ (Vol.) 10
ฉบับที่ (No.) 1
เดือนที่พิมพ์ มกราคม - เมษายน
เลขที่หน้า (Page) 55-74
ISSN ISSN 3027-7280 (Online)
DOI 10.14456/mitij.2024.4
ORCID_ID 0009-0004-0270-7963
ไฟล์บทความ https://mitij.mju.ac.th/ARTICLE/R67004.pdf
  
เอกสารอ้างอิง 
  กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2565). การสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2565.
  กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
  ฐิติวัสส์ สุขป้อม และคณะ. (2563). ครูกับเทคโนโลยีการสอนในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, 15(2). 1-17
  บุญชม ศรีสะอาด. (2543). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
  ณัฏฐญา เผือกผ่อง และคณะ. (2559). ความต้องการและพฤติกรรมการใช้บริการศูนย์บรรณสารและ สื่อการศึกษาของนักศึกษาต่างชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
  พรพรรณ จันทร์แดง. (2557). ห้องสมุดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
  ธนชาติ นุ่มนนท์. (2566). พฤติกรรมการใช้งานดิจิทัล สื่อออนไลน์ โซเชียลมีเดีย อินเทอร์เน็ตของ ประชากรโลก 2023 Global Digital Report. สืบวันที่เมื่อ 21 มิถุนายน 2566. จาก https://www.jrit-ichi.com/cutting/2023/02/06/1614/
  มัลลิกา ทองเอม. (2561). พฤติกรรมการใช้ห้องสมุดของบุคลากร นักศึกษา และแนวทางการพัฒนา ห้องสมุด ของมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร แม่สอด, ศาสตร์พระราชากับการสร้างสังคม อุดมปัญญาในยุคไทยแลนด์ 4.0. การประชุมวิชาการ ระดับชาติครั้งที่ 4, วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  เริงใจ เขียวอ่อน และแกมกาญจน์ สมประเสริฐศรี. (2562). พฤติกรรม ความต้องการ และการรับรู้ ภาพลักษณ์ห้องสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษของผู้ใช้บริการ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 13(1), 26-34.
  สำนักงานเลขาธิกาของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 (พิมพ์ครั้งที่ 2).
  สิริลักษณ์ เติมวิริยะกุล. (2558). ความต้องการรูปแบบห้องสมุดที่พึงประสงค์ของบุคลากรและ นักศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กลับสู่ เมนูค้นหา
       
กองบรรณาธิการวารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290  mitij@mju.ac.th