วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม 
Maejo Information Technology and Innovation Journal (MITIJ)
 ค้นหา | หน้าแรก   
 
 
 
» หน้าแรก
» ฉบับปัจจุบัน
» ฉบับย้อนหลัง
» ค้นหาวารสาร/บทความ
» ลงทะเบียน (OJS/PKP)
 

                               :: รายละเอียดบทความ ::
กลับสู่เมนูค้นหา 
ชื่อบทความ
การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันการประเมินผลการดำเนินงานพิธีพระราชทานปริญญาบัตรผู้สำเร็จการศึกษา มหาวิทยาลัยนครพนม ประจำปีการศึกษา 2564
ชื่อผู้แต่ง รัตนา สุวรรณทิพย์(1*), จรัญ แสนราช(2), สุวิสาข์ จรัสกมลพงศ์(3) และ รสสุคนธ์ สุวรรณกูฏ(4) (Rattana Suwannatip(1*), Charun Sanrach(2), Suwisa Jarutkamolpong(3) and Rossukon Suwanakut(4))
หน่วยงาน วิทยาลัยเทคโนโยลีอุตสาหกรรมศรีสงคราม มหาวิทยาลัยนครพนม(1), คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ(2), คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม(3) และ คณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนครพนม(4) (Sri Songkhram Industrial Technology College, Nakhon Phanom University(1), Faculty of Technical Education, King Mongkut's University of Technology North Bangkok(2), Faculty of Education, Nakhon Phanom University(3) and Faculty of Management Sciences and Information Technology Nakhon Phanom University(4 )) *Corresponding author: rattana.su@npu.ac.th
ชื่อวารสาร วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม 2567
บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบการประเมินผลการดำเนินงานพิธีพระราชทานปริญญาบัตรผู้สำเร็จการศึกษา และ 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลองค์ประกอบของการประเมินผลการดำเนินงานพิธีพระราชทานปริญญาบัตรผู้สำเร็จการศึกษา มหาวิทยาลัยนครพนม ประจำปีการศึกษา 2564 ซึ่งประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นบัณฑิตที่รับพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยนครพนม กำหนดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 315 คน โดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างตามสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ด้วย Google form และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ด้วยโปรแกรม AMOS

             ผลการวิจัย พบว่า

            1. ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิงส่วนใหญ่ ร้อยละ 51.40 และเพศชาย ร้อยละ 48.60 ระดับที่สำเร็จการศึกษา พบว่า ระดับปริญญาตรีมากที่สุด ร้อยละ 93.00 รองลงมาระดับปริญญาโท ร้อยละ 3.50 และระดับ ป.บัณฑิต ร้อยละ 3.50 ตามลำดับ คณะที่สำเร็จการศึกษาส่วนใหญ่ พบว่า คณะคณะครุศาสตร์มากที่สุด ร้อยละ 28.90 รองลงมาคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ร้อยละ 12.70 และคณะวิทยาศาสตร์และวิทยาลัยการบินนานาชาติน้อยที่สุด ร้อยละ 1.90 ตามลำดับ

            2. ผลการดำเนินงานพิธีพระราชทานปริญญาบัตรผู้สำเร็จการศึกษา 3 องค์ประกอบ พิจารณาจากค่าน้ำหนักองค์ประกอบที่มีค่าน้ำหนักมากที่สุด ได้แก่ ด้านการให้บริการ เท่ากับ 0.743 รองลงมาด้านสิ่งอำนวยความสะดวก เท่ากับ 0.640 และด้านกระบวนการ/ขั้นตอน มีค่าน้อยที่สุด เท่ากับ 0.525 ส่วนดัชนีที่ใช้ในการเปรียบเทียบความกลมกลืนของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (CMIN/df) = 1.509, ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง (GFI) = .979, ค่าดัชนีรากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของการประมาณค่าความคลาดเคลื่อน (RMSEA) = .040 ถือได้ว่ามีความสมบูรณ์เป็นที่ยอมรับและน่าเชื่อถือ

คำสำคัญ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน, พิธีพระราชทานปริญญาบัตร, การประเมินผล, ผู้สำเร็จการศึกษา มหาวิทยาลัยนครพนม
ปี พ.ศ. 2567
ปีที่ (Vol.) 10
ฉบับที่ (No.) 2
เดือนที่พิมพ์ พฤษภาคม - สิงหาคม
เลขที่หน้า (Page) 1-13
ISSN ISSN 3027-7280 (Online)
DOI 10.14456/mitij.2024.9
ORCID_ID 0009-0003-0075-3117
ไฟล์บทความ https://mitij.mju.ac.th/ARTICLE/R67021.pdf
  
เอกสารอ้างอิง 
  คณะอนุกรรมการฝ่ายประเมินผลการดำเนินงาน. (2558). รายงานการประเมินความพึงพอใจ พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้ง 7. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. สงขลา.
  คมกริช สนิทชน. (2564). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการแอพพลิเคชั่นการจัดส่งอาหารในเขตเทศบาลนครอุดรธานี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. 3(4). 99-112.
  จารุพร ตั้งพัฒนกิจ และปาณิก เสนาฤทธิไกร. (2565). บทบาทของการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันในแบบจำลองสมการโครงสร้าง. วารสารวิทยาการจัดการ, 1(2), 99-110.
  จิรภา ไกยสอน. (2562). ผลงานวิเคราะห์ผลการดำเนินงานพิธีพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปีการศึกษา 2557-2559. สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.
  ธานินทร์. (2563). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน. การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ห้างหุ้นส่วนสามัญบิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
  นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2555). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. 2(1). 68-74.
  พสุ เดชะรินทร์. (2561). การประเมินผลการดำเนินงานขององค์กร (Measurement of Corporate Performance). [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://shorturl.asia/UXoqw/ การประเมินผลการดำเนินงาน
  ฝ่ายจัดการบัณฑิต. (2556). ฝ่ายจัดการบัณฑิตในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. อุบลราชธานี.
  มหาวิทยาลัยนครพนม. (2566). แนะนำหน่วยงาน. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.npu.ac.th/?page= content&content_id=1556610531/ความเป็นมา มหาวิทยาลัยนครพนม.
  รัชฎา เทพประสิทธิ์ และจรัญ แสนราช. (2563). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของรูปแบบการเรียนรู้ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 13(1). 13-23.
  รัตนาพร สงวนประสาทพร. (2557). การติดตามผลการดำเนินงานบริการวิชาการแก่ชุมชนในภาคเหนือ. สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพมหานคร.
  ว.วิชาการ. (2566). ความหมายของการติดตามและประเมินโครงการ. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://thaipalad.com/798/การติดตามและประเมินผล
  สิริกานต์ ทองพูน. (2564). ความพึงพอใจที่มีต่อสิ่งอำนวยความสะดวกในโรงแรมของนักท่องเที่ยวสูงอายุกรณีศึกษาโรงแรมในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ. 47(1). 268-277.
  สุวรรณ โชติการ. (2560). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันการประเมินผลโครงการการสอบวัดทักษะทางคอมพิวเตอร์ของนิสิต มหาวิทยาลัยทักษิณ. วารสารสำนักหอสมุด มหาวทิยาลยัทักษิณ. 6(1). 109-127.
  อรุณ ไชยนิตย์. (2564). การประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการของเทศบาลเมืองบางคูรัด อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 8(6). 147-163.
  Shek. D.T, & Yu, L (2014). Confirmatory factor analysis using AMOS : a demonstration. International Journal on Disability and Human Development, 13(2), 191-204.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กลับสู่ เมนูค้นหา
       
กองบรรณาธิการวารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290  mitij@mju.ac.th