วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม 
Maejo Information Technology and Innovation Journal (MITIJ)
 ค้นหา | หน้าแรก   
 
 
 
» หน้าแรก
» ฉบับปัจจุบัน
» ฉบับย้อนหลัง
» ค้นหาวารสาร/บทความ
» ลงทะเบียน (OJS/PKP)
 

                               :: รายละเอียดบทความ ::
กลับสู่เมนูค้นหา 
ชื่อบทความ
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการฟาร์มเลี้ยงปลากะพงผ่านเทคโนโลยีกูเกิลแมป : กรณีศึกษาชุมชนบ้านบ่อสวน ตำบลหัวเขา เทศบาลเมืองสิงหนคร จังหวัดสงขลา
ชื่อผู้แต่ง เวคิน หนูนำวงศ์(1*), โกสินทร์ ทีปรักษพันธ์(1) และ ณิชา ประสงค์จันทร์(1) (Vakin Nunumvong(1*), Kosin Teeparuksapun(1) and Nicha Prasongchan(1))
หน่วยงาน สาขาศึกษาทั่วไป คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย(1) (Department of General Education, Faculty Liberal Arts, Rajamangala University of Technology Srivijaya(1)) *Corresponding author: vakin.n@rmutsv.ac.th
ชื่อวารสาร วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม 2567
บทคัดย่อ

                  งานวิจัยนี้เสนอการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการฟาร์มเลี้ยงปลากะพงผ่านเทคโนโลยีกูเกิลแมป กรณีศึกษาชุมชนบ้านบ่อสวน ตำบลหัวเขา เทศบาลเมืองสิงหนคร จังหวัดสงขลา โดยดำเนินการพัฒนาระบบที่ผ่านการวิเคราะห์และออกแบบให้ทำงานร่วมกับ Google Maps API ในรูปแบบของเว็บแอปพลิเคชัน เพื่อความสะดวกในการบริหารจัดการข้อมูลพื้นฐานในการเลี้ยงปลากะพง ซึ่งระบบที่ได้พัฒนาขึ้นใช้ขั้นตอนและกระบวนการในทฤษฎีวงจรการพัฒนาระบบ SDLC (Systems development life cycle) แบบ Waterfall Model เข้ามาประยุกต์ใช้ เพื่อเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ปัญหา ออกแบบและพัฒนาระบบ โดยฐานข้อมูลของระบบประกอบไปด้วยตารางข้อมูลของ ผู้ใช้งาน ฟาร์ม สถานที่ และภาพถ่ายของฟาร์ม รวมถึงขั้นตอนในการทดสอบระบบโดยวิธีการทดสอบแบบ Black Box Testing และผ่านการประเมินประสิทธิภาพด้านต่าง ๆ ของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระบบและเทคโนโลยีสารสนเทศ ผลการวิจัยพบว่าระบบที่พัฒนาขึ้นที่มีความสามารถในการจัดการข้อมูลตามความต้องการของเกษตรกรได้อย่างถูกต้อง โดยระบบสามารถแสดงข้อมูลขนาดของฟาร์ม จำนวนกระชังที่เลี้ยง พิกัดที่ตั้ง จำนวนปลา ขนาดปลา ภาพถ่ายกระชังปลา และสามารถเรียกดูข้อมูลสรุปรายงานได้ และเมื่อทำการทดสอบประสิทธิภาพของระบบที่ได้พัฒนาขึ้น โดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระบบและเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 5 คน ในการประเมินประสิทธิภาพของระบบด้านการทำงานของระบบ ด้านความง่ายต่อการใช้งานระบบ และด้านการรักษาความปลอดภัยของระบบ พบว่าผลการประเมินประสิทธิภาพโดยเฉลี่ยของระบบอยู่ในระดับมาก (= 4.16, S.D. = 0.47) และจากการทดสอบความพึงพอใจในการใช้งานระบบของกลุ่มเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลากะพง ชุมชนบ้านบ่อสวน ตำบลหัวเขา เทศบาลเมืองสิงหนคร จังหวัดสงขลา จำนวน 10 คน พบว่าผู้ใช้งานมีความพึงพอใจในการใช้งานระบบที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.52, S.D. = 0.44)

คำสำคัญ ปลากะพง, เทคโนโลยีสารสนเทศ, การเก็บข้อมูล
ปี พ.ศ. 2567
ปีที่ (Vol.) 10
ฉบับที่ (No.) 2
เดือนที่พิมพ์ พฤษภาคม - สิงหาคม
เลขที่หน้า (Page) 55-72
ISSN ISSN 3027-7280 (Online)
DOI 10.14456/mitij.2024.12
ORCID_ID 0000-0003-2677-7822
ไฟล์บทความ https://mitij.mju.ac.th/ARTICLE/R67024.pdf
  
เอกสารอ้างอิง 
  ทองปาน ปริวัตร, พันธวุธ จันทรมงคล, จตุรงค์ จิตติยพล, พงษ์ศักดิ์ ดรพินิจ, และอรวรรณ ปริวัตร. (2563). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการข้อมูลโคนม: กรณีศึกษา เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม บ้านซําจาน อําเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 131-143.
  ธีรภพ แสงศรี. (2565). การพัฒนาระบบตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับเกษตรกร สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 81-91.
  ธีราทัต พงศ์ลดาภัช, วริยา เย็นเปิง. (2565). การพัฒนาระบบจัดการเรียนการสอนแบบเปิด. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 5 มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, 272-281.
  ปาณิสรา หาดขุนทด, ธนากร แสงกุดเลาะ, อินทุราภรณ์ อินทรประจบ. (2564). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการฟาร์มปลานิลอัจฉริยะที่ได้มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP). วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 43-53.
  พรวนา รัตนชูโชค. (2562). การพัฒนาระบบตรวจวัดคุณภาพน้ำโดยใช้ IoT เพื่อติดตามคุณภาพน้ำผ่านแอปพลิเคชัน. วารสารศรีปทุมปริทัศน์, 78-92.
  ไพศาล สิมาเลาเต่า, อุบลรัตน ศิริสุขโภคา, ธนานันท์ จำรูญลาภ. (2565). การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันสำหรับอุปกรณ์หลากหลายเพื่อบริหารจัดการข้อมูลการลาหยุดและการเข้าทำงานด้วยพิกัดบนแผนที่ภูมิศาสตร์. การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 14 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 776-785.
  สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, ภรณี ต่างวิวัฒน์, เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, บำเพ็ญ เขียวหวาน, ณรัฐ รัตนเจริญ. (2564). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการผลิตพืชเศรษฐกิจของเกษตรกร. วารสารเกษตร มสธ, 31-44.
  โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2560). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems : MIS) (หน้า 17). กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ด.
  Bootstrap team. Get started with Bootstrap. [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มาhttps://getbootstrap.com
  Google Inc. Google Maps Platform Documentation. [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา https://developers.google.com/maps
  Oracle Corporation.MySQL 8.0 Reference Manual. [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา https://dev.mysql.com/doc/refman/8.0/en/
  PHP Group. MySQL Improved Extension. [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มาhttps://www.php.net/manual/en/book.mysqli.php
  R.A. Khan. K. Mustafa. (2007). Software Testing Concepts and Practices. Alpha Science (pp. 312). English: Alpha Science International Ltd.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กลับสู่ เมนูค้นหา
       
กองบรรณาธิการวารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290  mitij@mju.ac.th