วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม 
Maejo Information Technology and Innovation Journal (MITIJ)
 ค้นหา | หน้าแรก   
 
 
 
» หน้าแรก
» ฉบับปัจจุบัน
» ฉบับย้อนหลัง
» ค้นหาวารสาร/บทความ
» ลงทะเบียน (OJS/PKP)
 

                               :: รายละเอียดบทความ ::
กลับสู่เมนูค้นหา 
ชื่อบทความ
การผลิตชุดการสอนออนไลน์ เรื่อง ระบบสุริยะจักรวาลสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ชื่อบทความ(English)
The Production of Online Package on the Solar System for Grade 4 Students
ประเภทบทความ
บทความวิจัย
ชื่อผู้แต่ง เชาว์วรรธน์ วันทอง(1), บัณฑิตา โพธิ์จักร(1), พงศกรณ์ พุ่มพวง(1), วิศรุต กระเป๋าทอง(1) และนฤมล เทพนวล(1*) (Chaowat wunthong(1), Buntita Phojak(1), Pongsakorn Pumpuang(1), Vissaroot krapaotong(1) and Naruemon Thepnuan(1*))
หน่วยงาน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี(1) (Faculty of Technical Education, Rajamangala University of Technology Thanyaburi(1)) *Corresponding author: naruemon_t@rmutt.ac.th
ชื่อวารสาร วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ปีที่ 10 ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม 2567
บทคัดย่อ

             งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ผลิตชุดการสอนออนไลน์ เรื่อง ระบบสุริยะจักรวาล สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีคุณภาพ 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์การเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยชุดการสอนออนไลน์ เรื่อง ระบบสุริยะจักรวาล สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อชุดการสอนออนไลน์ เรื่อง ระบบสุริยะจักรวาล สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชุมชนประชาธิปัตย์วิทยาคาร จังหวัดปทุมธานี จำนวน 25 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดการสอนออนไลน์ เรื่อง ระบบสุริยะจักรวาล 2) แบบประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาและด้านสื่อ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ชุดการสอนออนไลน์ เรื่อง ระบบสุริยะจักรวาล มีคุณภาพด้านเนื้อหา มีผลค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.68 อยู่ในระดับดีมาก และมีคุณภาพด้านสื่อ มีผลค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.69 อยู่ในระดับดีมาก  2) ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยคะแนนเท่ากับ 14.80/11.30 และ 3) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อชุดการสอนออนไลน์ เรื่อง ระบบสุริยะจักรวาล มีผลค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.48 อยู่ในระดับมากที่สุด

คำสำคัญ ชุดการสอนออนไลน์, ระบบสุริยะจักรวาล, นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ปี พ.ศ. 2567
ปีที่ (Vol.) 10
ฉบับที่ (No.) 3
เดือนที่พิมพ์ กันยายน - ธันวาคม
เลขที่หน้า (Page) 1-16
ISSN ISSN 3027-7280 (Online)
DOI 10.14456/mitij.2024.16
ORCID_ID 0009-0008-0111-7119
ไฟล์บทความ https://mitij.mju.ac.th/ARTICLE/R67031.pdf
  
เอกสารอ้างอิง 
  กนกวรรณ หาญกาย และฉัตริยะ ศิริสัมพันธ์วงษ์. (2560). ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดการสอนวิชา วิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบสุริยะจักรวาล ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์และเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ. 8 (15), 137-140.
  เกียรติศักดิ์ พันธ์ลำเจียก.(2555). นวัตกรรมและการประเมินผลการศึกษา. ค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2565 ค้นจาก https://www.gotoknow.org/posts/103718
  ทับทิม หุ่นหิรัญ และเทียมยศ ปะสาวะโน. (2563). การพัฒนาชุดการสอนเชิงปฏิสัมพันธ์ด้วยวิธีการ แบบเรียนปนเล่นเรื่อง คำศัพท์ภาษาจีน สำหรับเด็กนักเรียนชั้นปฐมวัย โรงเรียนปิยวัฒนศาสตร์. วารสารมหาจุฬาวิชาการ. 7(3), 72-77.
  ณัฐภณ สุเมธอธิคม, อาณัติ ภู่สกุล,ณัชพล บุญภิมุข และพีรณัฐ ควรผดุงศักดิ์. (2563). การผลิตสื่อโมชัน กราฟิก เรื่อง พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิจัยและนวัตกรรม. 3(2), 129-141.
  พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2548). วิธีวิทยาการสอนวิทยาศาสตร์ทั่วไป. กรุงเทพฯ: พัฒนาคุณภาพวิชาการ.
  วรรณทิภา ธรรมโชติ. (2562). การพัฒนาสื่อโมชันกราฟิกเพื่อประกอบการเรียนรู้รายวิชา ส22101 สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. 5 (2), 37-39.
  สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ. (2554). วิธีสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของ เยาวชน. กรุงเทพฯ: 9199 เทคนิคพริ้นติ้งนิทาน.
  สุดารัตน์ ไผ่พงศาวงศ์. (2543). การพัฒนาชุดกิจกรรมคณิตศาสตร์ที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน แบบ CIPPA MODEL เรื่องเส้นขนานและความคล้าย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2.
  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. ค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2565 ค้นจาก https://academic.obec.go.th/images/document/1580786506_d_1.pdf
  CMU School of Lifelong Education. (2563). คุณค่าของการเรียนรู้เรื่องระบบสุริยะ. ค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2565 ค้นจาก https://www.facebook.com/CMUlifelong/posts/616129749097706/
  Education Center. (2561). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ (Online learning) คืออะไร. ค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2565 ค้นจาก https://www.educatorroundtable.org/การเรียนการสอนแบบออนไล/
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กลับสู่ เมนูค้นหา
       
กองบรรณาธิการวารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290  mitij@mju.ac.th