วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม 
Maejo Information Technology and Innovation Journal (MITIJ)
 ค้นหา | หน้าแรก   
 
 
 
» หน้าแรก
» ฉบับปัจจุบัน
» ฉบับย้อนหลัง
» ค้นหาวารสาร/บทความ
» ลงทะเบียน (OJS/PKP)
 

                               :: รายละเอียดบทความ ::
กลับสู่เมนูค้นหา 
ชื่อบทความ
การพัฒนาเว็บไซต์เทคโนโลยีความจริงเสมือน เรื่องดาราศาสตร์ และอวกาศ
ชื่อผู้แต่ง ธนเดช พามั่งคั่ง(1) และ อารีรัตน์ แก้วประดิษฐ์(1*) (Thanadach Pamungkang(1) and Areerat Kaewpradid(1*))
หน่วยงาน สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม(1) Field of Multimedia Technology, Science and Technology Faculty Nakhon Pathom Rajabhat University(1) * ผู้นิพนธ์ประสานงาน: อารีรัตน์ แก้วประดิษฐ์ อีเมล์: areeratk@webmail.npru.ac.th
ชื่อวารสาร วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ปีที่ 10 ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม 2567
บทคัดย่อ

               ดาราศาสตร์ คือวิชาวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวัตถุในท้องฟ้า (อาทิ ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ ดาวหาง และดาราจักร) รวมทั้งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนอกชั้นบรรยากาศของโลก โดยศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการ ลักษณะทางกายภาพ ทางเคมี ทางอุตุนิยมวิทยา และการเคลื่อนที่ของวัตถุในท้องฟ้า ตลอดจนถึงการกำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพ อย่างไรก็ตาม การเรียนดาราศาสตร์จำเป็นต้องมีอุปกรณ์หรือสื่อการสอน ซึ่งบางครั้งมีราคาแพง ผู้วิจัยจึงทำการพัฒนาเว็บไซต์เทคโนโลยีความจริงเสมือน เรื่องดาราศาสตร์ และอวกาศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเว็บไซต์ที่ใช้ในการเรียนรู้และนำเทคโนโลยีเสมือนจริงเข้ามาร่วมใช้เกี่ยวกับ เรื่องดาราศาสตร์ และอวกาศ และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อเว็บไซต์เทคโนโลยีความจริงเสมือน เรื่องดาราศาสตร์ และอวกาศ ด้านการเสริมทักษะการเรียนรู้ โดยสามารถทำให้ผู้เรียนนั้นได้ทำความเข้าใจต่อสิ่งที่กำลังเรียนรู้อยู่นั้นอย่างมาก กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมปลาย ที่มีความสนใจเรื่องดาราศาสตร์ และอวกาศ โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่ม

               ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคของการพัฒนาเว็บไซต์ จำนวน 3 ท่าน โดยรวมอยู่ระดับดีมาก (  = 4.13 S.D. = 0.55) 2) ผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาของการพัฒนาเว็บไซต์ จำนวน 3 ท่าน โดยรวมอยู่ระดับดีมาก (  = 3.98 S.D. = 0.23) และ 3) ผลการประเมินจากกลุ่มเป้าหมายด้านความพึงพอใจที่มีต่อเว็บไซต์ จำนวน 30 คน โดยรวมอยู่ระดับดีที่สุด (  = 4.56 S.D. = 0.15)

คำสำคัญ เว็บไซต์, เทคโนโลยีความจริงเสมือน, AR, ดาราศาสตร์และอวกาศ
ปี พ.ศ. 2567
ปีที่ (Vol.) 10
ฉบับที่ (No.) 3
เดือนที่พิมพ์ กันยายน - ธันวาคม
เลขที่หน้า (Page) 36-49
ISSN ISSN 3027-7280 (Online)
DOI
ORCID_ID 0009-0005-4165-1066
ไฟล์บทความ https://mitij.mju.ac.th/ARTICLE/R67033.pdf
  
เอกสารอ้างอิง 
  จักรพงษ์ เจือจันทร์. (2543). การศึกษาการออกแบบเว็บเพจของโรงเรียนในโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย. กรุงเทพมหานคร : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  ดวงพร เกี๋ยงคํา. (2549). คู่มือ สร้างเว็บไซต์ด้วยตนเอง. กรุงเทพมหานคร: บริษัท โปรวิชั่น จำกัด, 2553.
  นิรุธ อำนวยศิลป์. (2543). สร้างเว็บเพจอย่างไร้ขีดจำกัด PHP เพื่อการประยุกต์ใช้งาน. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ซัคเซสมีเดีย จำกัด, 2544.
  ประเวศน์ วงษ์คำชัย และพิรพร หมุนสนิท. (2550). ใช้งาน CSS แบบมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ เคทีพี.
  ปิยวิท เจนกิจจาไพบูลย์. (2557). เรียนรู้การสร้างโฮมเพจ HTML. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ วิทยาศาสตร์.
  สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ. (2559). การศึกษาดาวเคราะห์และสิ่งมีชีวิตนอกระบบสุริยะ. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2563. จาก http://www.narit.or.th/index.php/research/46-research/1038-planets.
  สุรศักดิ์ นามนัย. (2548). การศึกษารูปแบบของหน้าโฮมเพจ ที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ อินเตอร์เน็ตในมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา. สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2563.จาก https://dric.nrct.go.th/index.php?/Search/SearchDetail/172888.
  หนังสือเรียนสสวท. (2560). เพิ่มเติม โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ 1 คู่มือครูรายวิชาเพิ่มเติม วิทยาศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2563. จากbooks/8290/flippingbook/index.html#1.
  อภิวัฒน์. (2562). "สอนสร้างสื่อ Unity 3D + Vuforia การทำเมนูสื่อ AR". สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2563. จาก https://www.youtube.com/watch?v=GrhGao1-jZ0&t=1638s.
  โสรชัย นันทวัชรวิบูลย์. (2545). สู่เส้นทางกราฟิกดีไซเนอร์ Be graphic. กรุงเทพมหานคร: เอ. อาร์. อินฟอร์เมชัน แอนด์ พับลิเคชัน.
  National Geographic. (2016). เรื่องปรากฎการณ์ ข้างขึ้นข้างแรม. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2563. จาก https://ngthai.com/science/17715/themoonphases/Wikipedia.
  National Geographic. (2016). Article about the Black Hole. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2563. จาก https://en.wikipedia.org/wiki/Black_hole.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กลับสู่ เมนูค้นหา
       
กองบรรณาธิการวารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290  mitij@mju.ac.th