วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม 
Maejo Information Technology and Innovation Journal (MITIJ)
 ค้นหา | หน้าแรก   
 
 
 
» หน้าแรก
» ฉบับปัจจุบัน
» ฉบับย้อนหลัง
» ค้นหาวารสาร/บทความ
» ลงทะเบียน (OJS/PKP)
 

                               :: รายละเอียดบทความ ::
กลับสู่เมนูค้นหา 
ชื่อบทความ
การพัฒนาแอปพลิเคชันเทคโนโลยีภาพเสมือนจริงเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนในพื้นที่เทศบาลเมือง เมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อบทความ(English)
The Development of the Augmented Reality Application for Promoting Community Tourism in Muangkaen Pattana Municipality, Mae Taeng, Chiang Mai
ประเภทบทความ
บทความวิจัย
ชื่อผู้แต่ง จุฬาวลี มณีเลิศ(1), ประธาน คำจินะ(1*), กฤษณา เขียวมั่ง(1), ภัทราพร พรหมคำตัน(1) และพงศกร ฟองตา(1) (Chulawalee Maneelert(1), Prathan Comejina(1*), Kritsana Khiaomang(1), Pataraporn Promkumtan(1) and Phongsathon Fongta(1))
หน่วยงาน ภาควิชาคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่(1) (Department of Computer, Faculty of Science and Technology, Chiang Mai Rajabhat University (1))*Corresponding author: prathan@g.cmru.ac.th
ชื่อวารสาร วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ปีที่ 10 ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม 2567
บทคัดย่อ

           สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในพื้นที่เทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนามีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ และยังไม่มีผู้ให้ข้อมูลรายละเอียดของสถานที่แก่นักท่องเที่ยว ดังนั้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแอปพลิเคชันเทคโนโลยีภาพเสมือนจริงเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน และ 2) ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้แอปพลิเคชันเทคโนโลยีภาพเสมือนจริงเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 2 กลุ่มประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างสำหรับประเมินประสิทธิภาพของแอปพลิเคชัน จำนวน 5 คน โดยการใช้วิธีการแบบเจาะจง และกลุ่มตัวอย่างของการประเมินความพึงพอใจของการใช้งาน แอปพลิเคชัน จำนวน 30 คน โดยการใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินประสิทธิภาพ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

            ผลการวิจัยพบว่า 1) แอปพลิเคชันส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนได้นำเสนอข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวด้วยเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง 2 รูปแบบ ประกอบด้วย 1.1) การสแกนผ่านโปสเตอร์แนะนำที่มีการแสดงผลสถานที่ท่องเที่ยวในลักษณะของโมเดล 3 มิติ และ 1.2) การสแกนผ่านแท่นมาร์คเกอร์จากสถานที่จริงจะแสดงข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวเป็นวิดีโอ 2) ผลการประเมินประสิทธิภาพจากผู้เชี่ยวชาญโดยภาพรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.64 และความพึงพอใจโดยผู้ใช้งาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.47 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.66 ดังนั้นจึงมั่นใจได้ว่า แอปพลิเคชันสามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนได้จริง

คำสำคัญ แอปพลิเคชัน; การท่องเที่ยวชุมชน; เทคโนโลยีภาพเสมือนจริง; สื่อมัลติมีเดีย; เทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา
ปี พ.ศ. 2567
ปีที่ (Vol.) 10
ฉบับที่ (No.) 3
เดือนที่พิมพ์ กันยายน - ธันวาคม
เลขที่หน้า (Page) 66-86
ISSN ISSN 3027-7280 (Online)
DOI 10.14456/mitij.2024.20
ORCID_ID 0009-0007-9965-5304
ไฟล์บทความ https://mitij.mju.ac.th/ARTICLE/R67035.pdf
  
เอกสารอ้างอิง 
  ชาญชัย อรรคผาติ และณิชกานต์ เฟื่องชูนุช. (2562). การพัฒนาแอปพลิเคชันแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ โดยใช้เทคโนโลยีภาพเสมือนจริง. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 10 (น.581-595). หาดใหญ่: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
  ดวงจันทร์ สีหาราช, ยุภา คำตะพล, ฐิณาภัณฑ์ นิธิยุวิทย์ และศรัญญา ตรีทศ. (2563). แอปพลิเคชันส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดเพชรบูรณ์ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 12(1): 135-148.
  ธวัชชัย สหพงษ์. (2562). การพัฒนาแอปพลิเคชันความจริงเสมือน “สะดืออีสาน” อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 11(1): 139-151.
  นิติศักดิ์ เจริญรูป. (2560). การประยุกต์ใช้ความเป็นจริงเสริมเพื่อนำเสนอข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว : กรณีศึกษาวัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่. 10(1): 13-30.
  พงศกร รุ่งกำจัด, ณัฐพล รำไพ, และสูติเทพ ศิริพิพัฒนกุล. (2565). การพัฒนาสื่อดิจิทัลวีดิทัศน์การท่องเที่ยวผ่านเทคโนโลยีการเรียนรู้เเบบเสมือนจริง เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์การทัศนศึกษาแหล่งการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม. 9(1): 14-29.
  พจน์ศิรินทร์ ลิมปินันทน์. (2562). การส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดมหาสารคามโดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง. วารสารการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม. 6(1): 8-16.
  ไพรสันต์ สุวรรณศรี และพิมพ์ชนก สุวรรณศรี. (2565). การพัฒนานวัตกรรมเพื่อการอนุรักษ์ภูมิปัญญาหัตถกรรมพื้นบ้านจาวยองด้วยเทคโนโลยีเสมือน. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม. 12(1): 74-83.
  มิตรา นวลมีศรี, ปรีดาวรรณ เกษเมธีการุณ, และลาภ พุ่มหิรัญ. (2561). การพัฒนาสื่อความจริงเสมือน (VR) เพื่อการเรียนรู้กิจกรรมสะเต็ม เรื่องวงจรไฟฟ้า. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
  ศรัญญา ตรีทศ และทัสนันทน์ ตรีนันทรัตน์. (2562) แอปพลิเคชันส่งเสริมการท่องเที่ยว 7 เมนูอาหารที่ต้องชิมในจังหวัดเพชรบูรณ์ ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง. วารสารวิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ. 9(1): 9-17.
  สมชาย เมืองมูล และจารุวรรณ สายคำฟู. (2563). การพัฒนาหนังสือเล่มเล็กโดยใช้ความเป็นจริงเสริมเพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี. 16(3): 71-77.
  สุรพล บุญลือ. (2565). เมตาเวิร์สสำหรับการศึกษา: การเชื่อมต่อระหว่างจักรวาลนฤมิตกับโลกความจริงของการเรียนรู้ที่จะก่อให้เกิดการเรียนรู้แบบดื่มด่ำ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ท กรุงเทพ. 11(1): 9-16.
  เอกสุดา สารากรบริรักษ์. (2565). การเตรียมความพร้อมเข้าสู่โลกแห่งเทคโนโลยีเสมือนจริง. ฝ่ายค้นคว้าและเปรียบเทียบกฎหมาย กองกฎหมายต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
  Brandon et al. (2023). Evaluation of eXtended reality (XR) technology on motivation for learning physics among students in mexican schools. Computers & Education: X Reality 3: 1-12.
  Lee, H., & Hwang, Y. (2022). Technology-Enhanced Education through VR-Making and Metaverse-Linking to Foster Teacher Readiness and Sustainable Learning. Sustainability. 14(8), 4786.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กลับสู่ เมนูค้นหา
       
กองบรรณาธิการวารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290  mitij@mju.ac.th