ชื่อบทความ |
การวิเคราะห์ข้อมูลผลการดำเนินงานโรงพยาบาลทันตกรรม โดยใช้รูปแบบของระบบธุรกิจอัจฉริยะ
|
ชื่อบทความ(English) |
Data analysis of Dental Hospital performance Using the form of Business intelligence
|
|
|
ประเภทบทความ |
บทความวิจัย
|
ชื่อผู้แต่ง |
ดวงใจ ใจกล้า(1), ชวลิต ชนินทรสงขลา(1), ปภาอร เขียวสีมา(1*) และ สมบูรณ์ ใจประการ(2) (Duangjai Jaikla(1), Chawalit Chanintonsongkhla(1), Paphaon Kheawseema(1*) and Somboon Chaiprakarn(2))
|
หน่วยงาน |
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา(1), คณะวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ (2) (School of Dentistry University of Phayao(1), Faculty of Engineering, Science and Technology,
Suvarnabhumi Institute of Technology, Samut Prakan(2)) *Corresponding author: paphaon.kh@up.ac.th
|
ชื่อวารสาร |
วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ปีที่ 10 ฉบับที่ 4 (2567) : วารสารฉบับพิเศษ เนื่องจากในโอกาสครบรอบ 90 ปี การก่อตั้งมหาวิทยาลัยแม่โจ้
|
บทคัดย่อ |
การวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลผลการดำเนินงานโรงพยาบาลทันตกรรม โดยใช้รูปแบบของระบบธุรกิจอัจฉริยะ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลโรงพยาบาลทันตกรรมโดยใช้ระบบธุรกิจอัจฉริยะ 2) เพื่อการนำการวิเคราะห์ข้อมูลโรงพยาบาลทันตกรรมโดยใช้ระบบธุรกิจอัจฉริยะมาใช้ในการติดตามผลการปฏิบัติงานของโรงพยาบาลทันตกรรมและประกอบการตัดสินใจของผู้บริหาร 3) เพื่อทดสอบความพึงพอใจของผู้บริหารต่อผลการวิเคราะห์ข้อมูลโรงพยาบาลทันตกรรมโดยใช้ระบบธุรกิจอัจฉริยะ โดยประชากรที่ศึกษา คือ ผู้บริหารคณะทันตแพทยศาสตร์จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ นำเสนอข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า มีความพึงพอใจต่อผลออกแบบและพัฒนาการรายงานข้อมูลผลการดำเนินงานโรงพยาบาลทันตกรรมโดยใช้ระบบธุรกิจอัจฉริยะ ในด้านเนื้อหา มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.86, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.33 รองลงมาคือด้านการนำไปใช้งาน มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.74, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.40 และระดับความพึงพอใจต่อด้านการออกแบบมีระดับความพึงพอใจมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.51, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.48 จากการศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่าก่อนหน้าที่จะมีการวิเคราะห์ข้อมูลโรงพยาบาลทันตกรรมโดยใช้ระบบธุรกิจอัจฉริยะทำให้การวางแผนจัดหารายได้ของโรงพยาบาลและการบริหารจัดการด้านต่าง ๆ มีแนวโน้มที่ไม่ชัดเจน การวิเคราะห์ข้อมูลโรงพยาบาลทันตกรรมโดยใช้ระบบธุรกิจอัจฉริยะมาใช้ในการติดตามผลการปฏิบัติงานของโรงพยาบาลทันตกรรมจึงเป็นระบบที่สามารถนำมาประกอบการตัดสินใจของผู้บริหารและวางแผนการเพิ่มรายได้ให้กับโรงพยาบาลในอนาคตได้
|
คำสำคัญ |
ระบบธุรกิจอัจฉริยะ; การดำเนินงาน; การวิเคราะห์; การตัดสินใจ
|
ปี พ.ศ. |
2567
|
ปีที่ (Vol.) |
10
|
ฉบับที่ (No.) |
4
|
เดือนที่พิมพ์ |
กันยายน - ธันวาคม
|
เลขที่หน้า (Page) |
18-41
|
ISSN |
ISSN 3027-7280 (Online)
|
DOI |
|
ORCID_ID |
0009-0000-5392-1151
|
ไฟล์บทความ |
https://mitij.mju.ac.th/ARTICLE/R67042.pdf
|
| |
เอกสารอ้างอิง | |
|
จักษดา ธำรงวุฒิ และ ณัฐพร นันทจิระพงศ์ (2561). ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการรายงานการดำเนินงานของโรงแรมด้วย Power BI. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. 4(1): 69-72.
|
|
ณิชากร บาลศรี และคณะ. (2566). ระบบธุรกิจอัจฉริยะเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจทางเศรษฐกิจการเกษตรของประเทศไทย. วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. 1(2): 133.
|
|
ปัทมา เที่ยงสมบุญ. (2561). การพัฒนาระบบธุรกิจอัจฉริยะเพื่อสนับสนุนการพยากรณ์และการตัดสินใจของผู้บริหารกรณี ศึกษากลุ่มโรงพยาบาล .(วิทยานิพนธ์ วท.ม. (เทคโนโลยีสารสนเทศ)). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
|
|
ปาริชาติ เยพิทักษ์ และธีระวัฒน์ จันทึก. (2559). การบริหารจัดการข้อมูลขององค์กรในภาครัฐ. Veridian E-Journal, Silpakorn University. ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 9(1): 18.
|
|
พลอย ไพลิน หาญสุทธิชัย และกฤษณะ ไวยมัย. (2566). ระบบช่วยสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับ
การบริหารจัดการ สินทรัพย์ครุภัณฑ์. วารสารงานวิจัยและพัฒนาเชิงประยุกต์ โดยสมาคม ECTI. 3(1): 9-19.
|
|
พันธะกานต์ ยืนยง และคณะ. (2566). การประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป และเทคโนโลยีแดชบอร์ดเพื่อนำเสนอข้อมูลผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อำเภอบางคล้า
จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารสานักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. 5(1): 194-195.
|
|
พิศิษฐ ตัณฑวณิช และพนา จินดาศร. (2561). ความหมายที่แท้จริงของค่า IOC. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 24(2): 3-12.
|
|
ระวีวรรณ แก้ววิทย์ (2560). การพัฒนาธุรกิจอัจฉริยะด้วยคลังข้อมูล. วารสาร Executive Journal. 31(1): 160-165.
|
|
สันติ เติมผล และ กฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2566). การประยุกต์ใช้ระบบธุรกิจอัจฉริยะ: เครื่องมือ
เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานขององค์กร. Journal of Suvarnabhumi Institute
of Technology (Humanities and Social Sciences). 9(1): 302-315.
|
|
สุกัญญา เรืองสุวรรณ. (2553). การพัฒนาคุณภาพข้อมูลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพองค์กร.
วารสารสารสนเทศศาสตร์. 28(3): 73-80
|
|
สุวิมล บุรีกาญจน์ และคณะ ,(2566). ต้นแบบของการสื่อสารจินตทัศน์ ในระบบสนับสนุนการตัดสินใจทางคลินิกสำหรับการทำนายโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก โดยใช้เครื่องมือธุรกิจอัจฉริยะ. วารสารวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 51(1): 113-125.
|
|
อสมา กุลวานิชไชยอนันต์.(2566). Road to Data-Driven Organization หนทางสู่องค์กร
ที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล. กรุงเทพฯ: เออินเทลลิเจนซ์ บจก.
|
|
Al-edenat, M., & Alhawamdeh, N. (2022). Reconsidering Individuals’ Competencies in Business Intelligence and Business Analytics toward Process Effectiveness: Mediation-Moderation Model. Business: Theory and Practice. 23(2): 239-251.
|
|
Chaudhry, K., & Dhingra, S. (2021). Modeling the Critical Success Factors for Business Intelligence Implementation.International Journal of Business Intelligence Research. 12(2): 1-21.
|
|
C?rte-Real, N., Ruivo, P., Oliveira, T., & Popovi?, A. (2019). Unlocking the drivers of big data analytics value in firms. Journal of Business Research. 97: 160-173.
|
|
Crestan, L. (2022). Implementation of a dashboard for measuring warehouse performance-proposal based on a business intelligence software.
Retrieved from http://hdl.handle. net/10589/187128.
|
|
Huang, Z.-x., Savita, K. S., Dan-yi, L., & Omar, A. H. (2022). The impact of business intelligence on the marketing with emphasis on cooperative learning:
Case-study on the insurance companies. Information Processing
& Management. 59(2): 1-10.
|
|
Janyapoon, S., & Liangrokapart, J. (2021). Critical Success Factors of Business Intelligence Implementation in Thai Hospitals. International Journal of Healthcare Information Systems and Informatics. 16(4): 1-21.
|
|
Kuzmina et al, (2022). BI solutions as a tool for the management of quality of company’s project activities. In 2022 International Conference on Quality Management, Transport and Information Security, Information Technologies (IT&QM&IS) (pp. 296–299). IEEE. https:// doi.org/10.1109/ITQMIS56172.2022.9976648.
|
|
Libby et al, (2022). Using data analytics to evaluate the drivers of revenue: An introductory case study using Microsoft Power pivot and Power BI. Issues in Accounting Education, 37(4), 97–105. https://doi.org/10.2308/ISSUES-2021-057.
|
|
Likert, Rensis A. (1961). New Patterns of Management. New York: McGraw-Hill Book Company Inc.
|
|
Pukala et al, (2020). Power BI in ICT for monitoring of insurance activity based on indicators of insurance portfolios. In 2020 IEEE International Conference on Problems of Info communications. Science and Technology (PIC S&T)
(pp. 393–401). IEEE. https://doi.org/10.1109/ PICST51311.2020.9467993.
|
|
Wikidot.com (2011). Find 10 examples of businesses that utilize database and BI to enhance competitive advantage. Describe how they use database and BI. Retrieved from http://y31.wikidot.com/10-examples-of-businesses.
|
|
Yang, Z., Chang, J., Huang, L., & Mardani, A. (2021). Digital transformation solutions of entrepreneurial SMEs based on an information error-driven T-spherical fuzzy cloud algorithm. International Journal of Information Management.
69: 1-21.
|
|
|
|
|
|
|