วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม 
Maejo Information Technology and Innovation Journal (MITIJ)
 ค้นหา | หน้าแรก   
 
 
 
» หน้าแรก
» ฉบับปัจจุบัน
» ฉบับย้อนหลัง
» ค้นหาวารสาร/บทความ
» ลงทะเบียน (OJS/PKP)
 

                               :: รายละเอียดบทความ ::
กลับสู่เมนูค้นหา 
ชื่อบทความ
การพัฒนาโมเดล 3 มิติ ซากดึกดำบรรพ์ของไทยด้วยเทคนิคโฟโตแกรมเมทรี
ชื่อบทความ(English)
Developing 3D models of fossils found in Thailand using photogrammetry techniques
ประเภทบทความ
บทความวิจัย
ชื่อผู้แต่ง สุชาติ แสนพิช(1*) และ พิสิษฐ์ ณัฎประเสริฐ(2) (Suchart Saenpich(1*) and Phisit Nadprasert(2))
หน่วยงาน สาขาวิชาศิลปศาสตร์(1), สำนักเทคโนโลยีการศึกษา(2) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดนนทบุรี (School of Liberal Arts(1), Office Of Educational Technology(2) Sukhothai Thammathirat Open University) *Corresponding author : suchart.sae@stou.ac.th)
ชื่อวารสาร วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ปีที่ 10 ฉบับที่ 4 (2567) : วารสารฉบับพิเศษ เนื่องจากในโอกาสครบรอบ 90 ปี การก่อตั้งมหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ

          โครงการวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนจัดการซากดึกดำบรรพ์ กรมทรัพยากรธรณี ประจำปีบัญชี 2566 การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างโมเดล 3 มิติซากดึกดำบรรพ์ด้วยเทคนิคโฟโตแกรมเมทรี 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพเทคนิคโฟโตแกรมเมทรีในการสร้างโมเดล 3 มิติซากดึกดำบรรพ์ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของหนังสือ AR และแอปพลิเคชัน AR โมเดล 3 มิติซากดึกดำบรรพ์ ประชากร นักเรียนชั้นประถมศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี จำนวน 182 คน โดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive  sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) โมเดล 3 มิติ ซากดึกดำบรรพ์ของไทย 2) แบบประเมินประสิทธิภาพของเทคนิคโฟโตแกรมเมทรีในการสร้างโมเดล 3 มิติซากดึกดำบรรพ์ 3) แบบประเมินคุณภาพของโมเดล 3 มิติซากดึกดำบรรพ์ด้วยเทคนิคโฟโตแกรมเมทรี 4) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อหนังสือ AR และแอปพลิเคชัน AR โมเดล 3 มิติซากดึกดำบรรพ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

                  ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินประสิทธิภาพเทคนิคโฟโตแกรมเมทรีในการสร้างโมเดล 3 มิติซากดึกดำบรรพ์ มีประสิทธิภาพร้อยละ 91.52 2) ผลการประเมินคุณภาพของโมเดล 3 มิติซากดึกดำบรรพ์ด้วยเทคนิคโฟโตแกรมเมท รายการประเมินที่มีคุณภาพสูงสุดคือ ความสมบูรณ์ของโมเดล 3 มิติ สีสันของพื้นผิวของโมเดล 3 มิติ ความสมบูรณ์ของพื้นผิวของโมเดล 3 มิติ และความคมชัดของของพื้นผิวโมเดล 3 มิติ ค่าเฉลี่ย 4.67 มีคุณภาพมุมมาก และมีคุณภาพในภาพรวม มีค่าเฉลี่ย 4.54 มีคุณภาพมุมมาก 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสือ AR และแอปพลิเคชัน AR โมเดล 3 มิติซากดึกดำบรรพ์ มีความพึงพอใจในภาพรวม มีค่าเฉลี่ย 4.31 มีความพึงพอใจมุมมาก โดยพบว่าสื่อภาพและเสียงมีความคมชัด และสื่อมีความน่าสนใจ ช่วยกระตุ้นความสนใจในเนื้อหา มีค่าเฉลี่ย 4.59 มีมุมความพึงพอใจมากที่สุด และ 4.40 มีความพึงพอใจมาก

คำสำคัญ โมเดล 3 มิติ; ซากดึกดำบรรพ์; เทคนิคโฟโตแกรมเมทรี
ปี พ.ศ. 2567
ปีที่ (Vol.) 10
ฉบับที่ (No.) 4
เดือนที่พิมพ์ กันยายน - ธันวาคม
เลขที่หน้า (Page) 83-99
ISSN ISSN 3027-7280 (Online)
DOI
ORCID_ID 0000-0003-4236-071X
ไฟล์บทความ https://mitij.mju.ac.th/ARTICLE/R67045.pdf
  
เอกสารอ้างอิง 
  A., V., Gaboutchian., Vladimir, A., Knyaz., N., A., Leybova., G., Petrosyan., H., Y., Simonyan., Sergey, Vasilyev. (2019). Application of photogrammetric techniques in palaeoodontological studies trough automated digital shape analysis of human teeth. ISPRS - International Archives of the Photogrammetry, Remote Sensing and Spatial Information Sciences, doi: 10.5194/ISPRS-ARCHIVES-XLII-2-W12-75-2019
  Elena, Ghezzo., Matteo, Massironi., Edward, Byrd, Davis. (2022). Multispectral satellite imaging improves detection of large individual fossils. Geological Magazine, doi: 10.1017/S001675682200108X
  John, A., Cunningham. (2021). The use of photogrammetric fossil models in palaeontology education.. Evolution: Education and Outreach, doi: 10.1186/S12052-020-00140-W
  Kumiko, Matsui., Yuri, Kimura. (2022). Museum exhibitions of fossils into commercial products: Unexpected outflow of 3D models due to unwritten image policies into commercial products. doi: 10.31223/x5zw5z
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กลับสู่ เมนูค้นหา
       
กองบรรณาธิการวารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290  mitij@mju.ac.th