ชื่อบทความ |
การพัฒนากระบวนการส่งผ่านข้อมูลเพื่อสนับสนุนการจัดทำรายงานประกันคุณภาพระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA : กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยพายัพ
|
ชื่อบทความ(English) |
The Development of a Data Pipeline Process to Support Course-Level Quality Assurance Reporting Based on AUN-QA Criteria: A Case Study of Payap University
|
|
|
ประเภทบทความ |
บทความวิจัย
|
ชื่อผู้แต่ง |
ภูมินทร์ ดวงหาคลัง(1*), นิภาภรณ์ เอื้อตรงจิตต์(2) และ ณัฐวฒิ บุญโรจน์วงค์(2) (Phumin Dounghaklung(1*), Nipaporn Euathrongchit(2) and Nutawud Boonroadwongs(2))
|
หน่วยงาน |
สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยพายัพ (1), สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยพายัพ (2) (Software Engineering Department, Faculty of Business Administration, Payap University(1), Computer Science Department, Faculty of Business Administration, Payap University(2)) *ผู้นิพนธ์ประสานงาน: ภูมินทร์ ดวงหาคลัง อีเมล: iampumin@gmail.com
|
ชื่อวารสาร |
วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ปีที่ 10 ฉบับที่ 4 (2567) : วารสารฉบับพิเศษ เนื่องจากในโอกาสครบรอบ 90 ปี การก่อตั้งมหาวิทยาลัยแม่โจ้
|
บทคัดย่อ |
งานวิจัยนี้จัดอยู่ในประเภทการวิจัยประยุกต์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการส่งผ่านข้อมูล (Data Pipeline Process) ในการสนับสนุนการจัดทำรายงานการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐาน AUN-QA (ASEAN University Network-Quality Assurance) โดยใช้กรณีศึกษาจากมหาวิทยาลัยพายัพ กระบวนการที่ได้จากงานวิจัยนี้ เริ่มต้นจากการดึงข้อมูลนักศึกษาในปีการศึกษาที่ต้องการจากฐานข้อมูลระบบทะเบียนและบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยพายัพ ข้อมูลที่ได้จะถูกจัดให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมต่อการวิเคราะห์และจัดเก็บลงในฐานข้อมูลเอสคิวไลท์ (SQLite) ซึ่งมีขนาดเล็กเพื่อความรวดเร็วในการประมวลผล หลังจากนั้นข้อมูลจะถูกนำไปสร้างเป็นตารางข้อมูลสถิติการศึกษา ในรูปแบบไฟล์ไมโครซอฟต์เอ็กเซล (Microsoft Excel) ที่สามารถนำไปใช้ในการจัดทำรายงานการประกันคุณภาพระดับหลักสูตร คณะผู้วิจัยใช้ภาษาไพธอน (Python) ในการพัฒนาระบบให้มีการทำงานอย่างอัตโนมัติในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการส่งผ่านข้อมูลที่ได้ออกแบบไว้ โดยระบบจะให้ผู้ใช้เลือกปีการศึกษาและหลักสูตรที่ต้องการ หลังจากนั้นระบบจะประมวลผลและแสดงข้อมูลสถิติการศึกษาในรูปแบบไฟล์ไมโครซอฟต์เอ็กเซลจำนวน 5 ตาราง ได้แก่ 1) จำนวนนักศึกษาปัจจุบัน 2) จำนวนนักศึกษารับเข้า 3) จำนวนนักศึกษาคงอยู่ 4) จำนวนนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาและพ้นสภาพนักศึกษา และ 5) จำนวนนักศึกษาที่ลาออก คณะผู้วิจัยใช้แบบประเมินเพื่อสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบทั้งทางด้านความสะดวกและง่ายต่อการใช้งาน และด้านประสิทธิภาพของระบบ โดยมีผู้ประเมิน คือ บุคลากรในสังกัดสำนักแผนและพัฒนาองค์การ มหาวิทยาลัยพายัพ จำนวน 1 ท่าน ที่ดูแลและรับผิดชอบการดำเนินการประเมินคุณภาพของมหาวิทยาลัย และอาจารย์ในสังกัดสาขาวิชาต่าง ๆ จำนวน 9 สาขาวิชา สาขาวิชาละ 1 ท่าน ผลจากการประเมินพบว่า ความพึงพอใจในด้านความสะดวกและง่ายต่อการใช้งาน และด้านประสิทธิภาพของระบบอยู่ในระดับดีมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 4.67 และ 4.75 ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่ากระบวนการที่พัฒนาขึ้น สามารถนำไปใช้งานได้จริงและสนับสนุนการจัดทำรายงานการประกันคุณภาพการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
|
คำสำคัญ |
รายงานการประกันคุณภาพ; เครือข่ายการประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยอาเซียน; กระบวนการส่งผ่านข้อมูล
|
ปี พ.ศ. |
2567
|
ปีที่ (Vol.) |
10
|
ฉบับที่ (No.) |
4
|
เดือนที่พิมพ์ |
กันยายน - ธันวาคม
|
เลขที่หน้า (Page) |
181-191
|
ISSN |
ISSN 3027-7280 (Online)
|
DOI |
|
ORCID_ID |
0009-0007-7293-1516
|
ไฟล์บทความ |
https://mitij.mju.ac.th/ARTICLE/R67050.pdf
|
| |
เอกสารอ้างอิง | |
|
จารุวรรณ สนองญาติ, กัญญดา อนุวงศ์, สุทัศน์ เหมทานนท์, & พรฤดี นิธิรัตน์. (2019). การใช้ระบบประกันคุณภาพการศึกษาเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (AUN-QA) ระดับหลักสูตรในวิทยาลัยพยาบาล. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล, 25(2), 247–260. ค้นเมื่อ 10 กันยายน 2567 ค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Jolbcnm/article/view/233404
|
|
ชยภร ศิริโยธร. (2566). การนำระบบเครือข่ายการประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยอาเซียน (AUN-QA) มาใช้ในการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร กรณีศึกษา : คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ThaiEdResearch. (n.d.). ค้นเมื่อ 10 กันยายน 2567 ค้นจากhttp://www.thaiedresearch.org/home/paperview/178524
|
|
ชัยวุฒิ โกเมศ (2010). การพัฒนาระบบจัดการข้อมูลสำหรับงานประกันคุณภาพการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
|
|
เดือนเพ็ญ อนันต์พัฒนกุล. (2564). การจัดระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้วยการบูรณาการการจัดระบบสารสนเทศเพื่อการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ. วารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์, 8(1), 19-30. ค้นเมื่อ 15 กันยายน 2567 ค้นจาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rtna-socialj/article/view/248775/169470
|
|
เทียนทอง วชิรชัย คณะรัฐศาสตร์. บทบาทของเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (AUN) ต่อกระบวนการพัฒนาสู่ความเป็นนานาชาติ ด้านการศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ค้นเมื่อ 6 กันยายน 2567 ค้นจาก
https://digital.car.chula.ac.th/cgi/viewcontent.cgi?article=8350&context=chulaetd
|
|
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
|
|
หฤทัย สมศักดิ์, วีระวัฒน์ พัฒนกุลชัย, & อุดมวิทย์ ไชยสกุลเกียรติ. (2023). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลการประกันคุณภาพการศึกษาของเครือข่ายการประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยอาเซียน. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ, 11(1), 116–126. ค้นเมื่อ 15 กันยายน 2567 ค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/RCIM/article/view/258995
|
|
อังคณา จัตตามาศ (2558). การพัฒนาระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ. สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลรัตนโกสินทร์.
|
|
โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2554). ระบบสารสนเทศ เพื่อการจัดการ. กรุงเทพฯ : บริษัท ซีเอ็ด ยุเคชั่น จำกัด (มหาชน).
|
|
ASEAN University Network. (n.d.). AUN. ASEAN University Network. ค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2567 ค้นจาก https://www.aunsec.org
|
|
Canvar, Tuba & Uygun, Ozer & Yurtsever, Ula? & ?lyas, Sinan. (2012). Quality Assurance in Higher Education Institutions Using Strategic Information Systems. Procedia - Social and Behavioral Sciences. 55. 161–167. ค้นเมื่อ 18 กันยายน 2567 ค้นจาก 10.1016/j.sbspro.2012.09.490.
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|