วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม 
Maejo Information Technology and Innovation Journal (MITIJ)
 ค้นหา | หน้าแรก   
 
 
 
» หน้าแรก
» ฉบับปัจจุบัน
» ฉบับย้อนหลัง
» ค้นหาวารสาร/บทความ
» ลงทะเบียน (OJS/PKP)
 

                               :: รายละเอียดบทความ ::
กลับสู่เมนูค้นหา 
ชื่อบทความ
การประยุกต์ใช้ Line Chatbot ในการให้บริการแจ้งผลคะแนนนักศึกษารายวิชาการเขียนโปรแกรมเว็บ สำหรับนักศึกษาสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ชื่อบทความ(English)
Application of LINE Chatbot for Reporting Student Scores in Web Programming Course for Computer Science Students at Chiang Mai Rajabhat University
ประเภทบทความ
บทความวิจัย
ชื่อผู้แต่ง อรนุช พันโท(1), สารุ่ง ตันตระกูล(1), รสลิน เพตะกร(1*), ภาณุวัฒน์ สุวรรณกูล(1) และพิรุฬห์ แก้วฟุ้งรังษี(1) (Oranuch Pantho(1), Sarung Tantragul(1), Roselin Petagon(1*), Panuwat Suwannakul(1) and Piroon Kaewfoongrungsi(1))
หน่วยงาน ภาควิชาคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (1) (Computer Department, Faculty of Science and Technology, Chiang Mai Rajabhat University) (1) *Corresponding author: roselin@cmru.ac.th
ชื่อวารสาร วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2568
บทคัดย่อ

            งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประยุกต์ใช้ Line Chatbot ในการให้บริการแจ้งผลคะแนนนักศึกษาในรายวิชาการเขียนโปรแกรมเว็บ สำหรับนักศึกษาสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และ 2) ประเมินผลความพึงพอใจของนักศึกษาที่ใช้งานระบบที่พัฒนาขึ้น ระบบบริการแจ้งผลคะแนนอัตโนมัติได้ประยุกต์ใช้ Line Chatbot ทำงานร่วมกับเพลตฟอร์ม Dialogflow ที่สามารถประมวลผลภาษาธรรมชาติได้ มีการจัดเก็บคะแนนไว้ใน Google Sheet ซึ่งผู้ใช้สามารถสอบถามผลคะแนนของตนเองได้ตลอดเวลา พร้อมทั้งช่วยแบ่งเบาภาระงานด้านการบริหารการสอนของผู้สอน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการเขียนโปรแกรมเว็บ จำนวน 63 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566  คัดเลือกโดยการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบ และสถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบบริการแจ้งผลคะแนนในภาพรวม ค่าเฉลี่ย 4.31 (S.D.=0.85) อยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ ไลน์แชทบอท; กูเกิ้ลชีต; ไดอะล็อกโฟว์
ปี พ.ศ. 2568
ปีที่ (Vol.) 11
ฉบับที่ (No.) 1
เดือนที่พิมพ์ มกราคม - เมษายน
เลขที่หน้า (Page) 18-31
ISSN ISSN 3027-7280 (Online)
DOI
ORCID_ID 0009-0006-7052-803X
ไฟล์บทความ https://mitij.mju.ac.th/ARTICLE/R68002.pdf
  
เอกสารอ้างอิง 
  กออิศเรศ ประชาอาทร. (2564). ไลน์แชทบอทสำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์. สารนิพนธ์หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมข้อมูลขนาดใหญ่ วิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
  จตุรงค์ จิตติยพล และพงษ์ศักดิ์ ดรพินิจ. (2565). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้คำศัพท์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ผ่านแอปพลิเคชัน Line Chatbot. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, 2(4): 607-618.
  จักพันธ์ สาตมุณี ภคพล สุนทรโรจน์ คัชรินทร์ ทองฟัก และพงษ์กัมปนาท แก้วตา. (2564). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านระบบแอปพลิเคชัน Line Chatbot ในจังหวัดพิษณุโลก. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 13(1): 100-111.
  จักรินทร สันติรัตนภักดี. (2561). การตลาดออนไลน์และบริการลูกค้าด้วยแชทบอท กรณีศึกษา : การใช้ Chatfuel ปฏิสัมพันธกับลูกค้าผ่านเมสเซนเจอร์. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี. 10: 71-87.
  เจนจิรา แจ่มศิริ และคัชรินทร์ ทองฟัก. (2561). การพัฒนาระบบการจองห้องประชุมออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณโลก. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ เครือข่าย บัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 18 และลำปางวิจัย ครั้งที่ 4. 263-275.
  ชัยพร คำเจริญคุณ. (2563). การพัฒนาระบบ LINE BOT NU Library เพื่อการให้บริการร่วมกับระบบห้องสมุดอัตโนมัติ KMUTT-LM. การประชุมวิชาการระดับชาติ PULINET ครั้งที่ 10: Library Transformation in a Disrupted World, 8-9 มกราคม 2563. สงขลา: สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ.
  ณภัทร ไชยพราหมณ์ ณัฐวุฒิ ทุมนัต และชูพันธุ์ รัตนโภคา. (2020). ระบบตอบกลับและแจ้งข้อมูลทางการศึกษาผ่านไลน์บอท. Journal of Information Science and Technology, 10(2): 59-70.
  บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
  มนต์ทิชา รัตนพันธ์ และฉัตรวดี สายใยทอง. (2566). การพัฒนา Line Chatbot สำหรับงานบริการด้านงานวิจัย กรณีศึกษาสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. Journal of Applied Research on Science and Technology (JARST), 22(1): 78-89.
  ลัดดาวรรณ เหรียญตระกูล และกมลพรรณ ศรีกัน. (2564). การประยุกต์ใช้ Line Chatbot ในการบริการข้อมูลนักท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติ. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 59. 1072-1079.
  วสุ บัวแก้ว และปณิธิ เนตินันทน์. การพัฒนาระบบ Line Bot สำหรับบัณฑิตวิทยาลัย. การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15 มหาวิทยาลัยรังสิต. 2406-2413.
  วันชัย แซ่ลิ่ม. (2564). การพัฒนาระบบโต้ตอบอัตโนมัติผ่านแอปพลิเคชันไลน์ เพื่อสนับสนุนการให้บริการแก้ปัญหาคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วารสารวิชาการ ปชมท. 10(2): 56-65.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กลับสู่ เมนูค้นหา
       
กองบรรณาธิการวารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290  mitij@mju.ac.th