วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม 
Maejo Information Technology and Innovation Journal (MITIJ)
 ค้นหา | หน้าแรก   
 
 
 
» หน้าแรก
» ฉบับปัจจุบัน
» ฉบับย้อนหลัง
» ค้นหาวารสาร/บทความ
» ลงทะเบียน (OJS/PKP)
 

                               :: รายละเอียดบทความ ::
กลับสู่เมนูค้นหา 
ชื่อบทความ
รูปแบบการพัฒนาเทคโนโลยีสมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัลแบบมีส่วนร่วมของเกษตรกรตำบลพระยาบันลือ อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ชื่อผู้แต่ง รสริน วจนะเสถียร(1) สุพัตรา ศรีสุวรรณ(1*) และ ปรีดา สามงามยา(1) (Rossarin Wajanasatian(1), Supattra Srisuwan(1*) and Preeda Samngamya(1))
หน่วยงาน ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (1) (Department of Agricultural Extension and Communication, Faculty of Agriculture, Kasetsart University (1)) *Corresponding anthor: agrstsw@ku.ac.th
ชื่อวารสาร วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2568
บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบรูปแบบการพัฒนาเทคโนโลยีสมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัลแบบมีส่วนร่วม 2) ศึกษาลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคลและด้านเศรษฐกิจ 3) ศึกษาความพึงพอใจของเกษตรกร ที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาเทคโนโลยีสมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัลในตำบลพระยาบันลือ อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่มีส่วนร่วมในการออกแบบรูปแบบการพัฒนาเทคโนโลยีสมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัล จำนวน 20 คน และกลุ่มที่ตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 166 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ การประชุมกลุ่มย่อย การระดมสมองแสดงความคิดเห็นร่วมกัน และแบบสอบถามแบบปลายปิด-ปลายเปิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
        ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการพัฒนาเทคโนโลยีสมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัลแบบมีส่วนร่วม ของเกษตรกร ได้รูปแบบที่แสดงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบหลัก 3 ด้าน คือ (1) ด้านคุณลักษณะของแอปพลิเคชัน (2) ด้านเมนูการใช้งานที่เพิ่มขึ้นมา และ (3) ด้านการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2) ลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคลและด้านเศรษฐกิจ พบว่า เกษตรกรส่วนมากเป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 56.40 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 1-4 ราย โดยถือครองที่ดินของตนเองและมีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 15.27 ไร่ 3) เกษตรกรมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการพัฒนาเทคโนโลยี สมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัล ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.48
 

คำสำคัญ รูปแบบการพัฒนาเทคโนโลยี; สมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัล; การมีส่วนร่วมของเกษตรกร
ปี พ.ศ. 2568
ปีที่ (Vol.) 11
ฉบับที่ (No.) 1
เดือนที่พิมพ์ มกราคม - เมษายน
เลขที่หน้า (Page) 32-50
ISSN ISSN 3027-7280 (Online)
DOI
ORCID_ID 0009000362381064
ไฟล์บทความ https://mitij.mju.ac.th/ARTICLE/R68003.pdf
  
เอกสารอ้างอิง 
  กรมส่งเสริมการเกษตร. (2561). คู่มือการใช้งานสมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัล DOAE FARMBOOK (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมส่งเสริมการเกษตร.
  กรมส่งเสริมการเกษตร. (2563). เกษตรฯแนะโหลด Farmbook ปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร เลี่ยงเดินทาง. ค้นเมื่อ 6 ธันวาคม 2566 ค้นจาก https://secreta.doae.go.th/?p=4392.
  ณัชชา ปาพรม. (2561). การศึกษาและพัฒนาแอปพลิเคชันการเตรียมความพร้อมทางร่างกายสำหรับผู้ที่กำลังเข้าสู่สังคมสูงอายุ. ปริญญานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปกรรม. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 29(1): 98–109.
  ธนิษฐา ปานนก. (2561). การมีส่วนร่วมของเกษตรกรในสามพรานโมเดล จังหวัดนครปฐม และจังหวัด ราชบุรี. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. 49(2): 179–192.
  พิชชยานิดา คำวิชัย. (2560). การออกแบบ UX และ UI สำหรับการสร้างแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ (Core UX/UI for Mobile App Design). ค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2566 ค้นจาก https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=632
  สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย, (2566). แผนวิสาหกิจ พ.ศ. 2566-2570 และแผนปฏิบัติการ พ.ศ. 2567. ค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2566 ค้นจาก https:// www.oic.go.th/ FILEWEB /CABINFOCENTER6/DRAWER042/GENERAL/DATA0000/00000193.PDF.
  สำนักงานเกษตรอำเภอลาดบัวหลวง. (2565). แผนพัฒนาการเกษตรระดับตำบล ตำบลพระยาบันลือ ปี 2566 – 2570. รายงานการประชุมจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรระดับตำบล ตำบลพระยาบันลือ ปี 2566 – 2570. (หน้า1-132). พระนครศรีอยุธยา: สำนักงานเกษตรอำเภอลาดบัวหลวง.
  สำนักงานเกษตรอำเภอลาดบัวหลวง. (2566). การขึ้นทะเบียนเกษตรกร ปี 2564/65.รายงานการประชุมการขึ้นทะเบียนเกษตรกร ปี 2564/65. (หน้า 1-20). พระนครศรีอยุธยา: สำนักงานเกษตรอำเภอลาดบัวหลวง
  สิทธิพงศ์ พรอุดมทรัพย์และคณะ. (2560). การพัฒนาแอปพลิเคชันข้อมูลข่าวสารและระบบส่งข้อความแจ้งเตือนแบบพุชบนสมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. 13(1): 51-65.
  สุคนทิพย์ คำจันทร์ และ ประภาพร กุลลิ้มรัตน์ชัย. (2565). การประยุกต์ใช้ User Interface (UI) และ User Experience (UX). วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. 16(2): 63-77.
  สุวิมล ผาบแก้ว และธนากร อุยพานิชย์. (2561). ศึกษาแอปพลิเคชันสำหรับนัดหมายผู้ป่วยทันตกรรมผ่านระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 1(2): 77-89.
  อรฉัตร อินสว่างและคณะ. (2566). การพัฒนาแอปพลิเคชันสําหรับการซื้อขายผลผลิตเกษตรอินทรีย์. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม. 8(2): 98-110.
  อรวดี รื่นรมย์และบรรพต วิรุณราช. (2562). ผลการใช้รูปแบบการจัดการสารสนเทศการเกษตรสู่เกษตรกร กรณีศึกษาเกษตรกรที่เพาะปลูกข้าว.วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 30(1): 118-128.
  อานนท์ หย่องฮวยและอานนท์ ทับเที่ยง. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคธุรกิจ. วารสารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร. 22(1): 41-47.
  อุดมวิทย์ นักดนตรีและคณะ. (2563). แนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาศักยภาพ ของเกษตรกรไทยสู่การเป็นเกษตรกรปราดเปรื่อง. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้. 13(2): 116-125.
  Cohen, J.M., & Uphoff, N.T. (1981). Rural Development Participation: Concept and Measure for Project Design Implementation and Evaluation: Rural Development Committee Center for international Studies. New York: Cornell University Press.
  Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper & Row.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กลับสู่ เมนูค้นหา
       
กองบรรณาธิการวารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290  mitij@mju.ac.th