ชื่อบทความ |
การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันเพื่อจำแนกชนิดและให้บริการข้อมูลของต้นไม้มงคลขนาดเล็กโดยใช้เทคนิคการรู้จำภาพ
|
ชื่อบทความ(English) |
Developing a Mobile Application for Classify and Provide Information on Small Auspicious Trees Using Image Recognition Techniques
|
|
|
ประเภทบทความ |
บทความวิจัย
|
ชื่อผู้แต่ง |
สมศักดิ์ ศักดิ์เศรษฐ์(1), อรอนงค์ คงดำ (1), อรยา ปรีชาพานิช (1*) และ สุดา เธียรมนตรี (1) (Somsak Saksat(1), Onanong Khongdam(1), Oraya Preechapanich(1*) and Suda Thianmontri(1))
|
หน่วยงาน |
คณะวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยทักษิณ (1) (Faculty of Science and Digital Innovation, Thaksin University(1)) *Corresponding Author: oraya@tsu.ac.th
|
ชื่อวารสาร |
วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2568
|
บทคัดย่อ |
คนไทยส่วนใหญ่มักจะมีความเชื่อเกี่ยวกับโชคชะตาและความเป็นสิริมงคล เช่น การดูฮวงจุ้ย การเสริมดวงด้วยวิธีการต่างๆ รวมไปถึงการปลูกต้นไม้มงคลที่มีหลากหลายพันธุ์และบางพันธุ์มีลักษณะใกล้เคียงกัน ซึ่งอาจสร้างความสับสนในการเลือกซื้อต้นไม้มงคลตามความเชื่อของแต่ละคนได้ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและประเมินประสิทธิภาพของแบบจำลองการเรียนรู้เชิงลึกสำหรับจำแนกชนิดของต้นไม้มงคลขนาดเล็กจำนวน 10 ชนิดที่เหมาะกับการปลูกไว้ในพื้นที่จำกัดตามรูปแบบการใช้ชีวิตในปัจจุบันโดยใช้อัลกอริทึมโครงข่ายประสาทเทียมแบบคอนโวลูชัน จากนั้นจึงนำแบบจำลองดังกล่าวไปใช้ในการพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันเพื่อจำแนกชนิดและให้บริการข้อมูลของต้นไม้มงคลขนาดเล็กด้วยเทคนิคการรู้จำภาพ และลำดับสุดท้ายจะเป็นการประเมินความพึงพอใจในการใช้งานโมบายแอปพลิเคชันที่ได้พัฒนาขึ้น ผลการวิจัยพบว่า การประเมินประสิทธิภาพของแบบจำลองการเรียนรู้เชิงลึกสำหรับจำแนกชนิดของต้นไม้มงคลขนาดเล็กจะมีค่าเฉลี่ยของความแม่นยำอยู่ที่ร้อยละ 92 ในการพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันเพื่อจำแนกชนิดและให้บริการข้อมูลของต้นไม้มงคล ผู้วิจัยได้ใช้โปรแกรม Visual Studio Code, Flutter Framework และภาษา Dart ร่วมกับระบบจัดการฐานข้อมูล Firebase ซึ่งผลประเมินความพึงพอใจในการใช้งานแอปพลิเคชันของกลุ่มตัวอย่างที่สนใจเลือกซื้อต้นไม้มงคลจำนวน 50 คน พบว่า อยู่ในเกณฑ์ดีหรือดีมากทุกรายการ โดยมีความพึงพอใจในภาพรวมที่มีต่อการใช้งานแอปพลิเคชันเฉลี่ย 4.45 ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าโมบายแอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการสนับสนุนผู้ที่สนใจเลือกซื้อต้นไม้มงคลขนาดเล็กให้สามารถจำแนกชนิดของต้นไม้มงคลและศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับต้นไม้มงคลที่สนใจได้
|
คำสำคัญ |
การจำแนกชนิด; ต้นไม้มงคลขนาดเล็ก; เทคนิคการรู้จำภาพ
|
ปี พ.ศ. |
2568
|
ปีที่ (Vol.) |
11
|
ฉบับที่ (No.) |
1
|
เดือนที่พิมพ์ |
มกราคม - เมษายน
|
เลขที่หน้า (Page) |
51-65
|
ISSN |
ISSN 3027-7280 (Online)
|
DOI |
|
ORCID_ID |
0009-0005-7275-3479
|
ไฟล์บทความ |
https://mitij.mju.ac.th/ARTICLE/R68004.pdf
|
| |
เอกสารอ้างอิง | |
|
กิตติภัทร์ ยางคำ, กิตติคุณ บุญเกตุ, จิรวดี โยยรัมย์ และเปรม อิงคเวชชากุล. (2565). การพัฒนาระบบคัดแยกยานพาหนะเพื่อออกแบบสถานที่จอดรถให้เหมาะสมด้วยแบบจำลองการเรียนรู้
เชิงลึก. การประชุมวิชาการระดับชาติ “ราชมงคลสุรินทร์ ครั้งที่ 13” (หน้า 464 – 472). สุรินทร์: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
|
|
จีราวุธ วารินทร์. (2564). ต่อยอดพัฒนาโมไบล์แอพด้วย Flutter + Firebase. กรุงเทพฯ: ซิมพลิฟาย.
|
|
ชิตพงษ์ กิตตินราดร. (2563). Convolutional Neural Network. ค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2567
ค้นจาก https://guopai.github.io/ml-blog19.html
|
|
ณัฐโชติ พรหมฤทธิ์ และ สัจจาภรณ์ ไวจรรยา. (2564). Fundamental of DEEP LEARNING in Practice. นนทบุรี : ไอดีซี พรีเมียร์.
|
|
ณัฐโชติ พรหมฤทธิ์. (2564). Evaluation Metrics for Classification Model. ค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2567 ค้นจาก https://blog.pjjop.org/evaluation-metrics-for-classification-model/
|
|
ตรงลัคน์ บวรภัทรา. (2557). ไม้มงคลควรปลูก เสริมมงคล เพิ่มบารมี ให้เจ้าของบ้าน. กรุงเทพฯ: อินทรีย์.
|
|
ธนภัทร มัฆวาฬ, สุทธิพงษ์ ดวงสุภา และ รัตนาวดี พานทอง. (2565) การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่อจำแนกกล้วยด่างด้วยเทคนิคการเรียนรู้ของเครื่อง. วารสารวิชาการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 8(2): 56–66.
|
|
ธัญนันท์ วีระกุล. (2551). ไม้มงคล. กรุงเทพฯ : บ้านและสวน.
|
|
บัญชา ปะสีละเตสัง. (2566). พัฒนาแอปแบบ Multi-Platform ด้วย Flutter โดยใช้ภาษา Dart. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
|
|
บาเนีย. (2563). 15 ต้นไม้มงคลปลูกในกระถางเล็ก เสริมดวง. ค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2567 ค้นจาก https://www.baania.com/article/ต้นไม้มงคลปลูกในกระถางเล็ก-5f1e9013159c3b2d38ffde0a
|
|
วิริยะ สิริสิงห์. (2549). ต้นไม้ในบ้าน ไม้มงคล. กรุงเทพฯ: ปิรามิด.
|
|
สาทิดา สุขพงศ์. (2565). Computer Vision คืออะไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง. ค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2567 ค้นจาก https://medium.com/@satida.kate/computer-vision-คืออะไร-ใช้ทำอะไรได้บ้าง-78b2c67569a8.
|
|
สุทธิชัย ทักษนันต์. (2563). AI เปลี่ยนอนาคตโลก. กรุงเทพฯ: บ้านพระอาทิตย์.
|
|
สุภาพร นุภาพ และ อรอุมา พร้าโมต. (2564). การออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันรู้จำตัวอักษรบนอุปกรณ์เคลื่อนที่เพื่อการฝึกเขียนพยัญชนะไทย การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. (หน้า 641 – 649). นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
|
|
Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|