วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม 
Maejo Information Technology and Innovation Journal (MITIJ)
 ค้นหา | หน้าแรก   
 
 
 
» หน้าแรก
» ฉบับปัจจุบัน
» ฉบับย้อนหลัง
» ค้นหาวารสาร/บทความ
» ลงทะเบียน (OJS/PKP)
 

                               :: รายละเอียดบทความ ::
กลับสู่เมนูค้นหา 
ชื่อบทความ
การพัฒนาและประเมินประสิทธิภาพระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สำหรับค้นหาร้านซ่อมรถจักรยานยนต์: กรณีศึกษาเทศบาลนครสงขลา จังหวัดสงขลา
ชื่อบทความ(English)
Development and Evaluation of a Geographic Information System for Searching Motorcycle Repair Shops: A Case Study of Songkhla Municipality, Songkhla Province
ประเภทบทความ
บทความวิจัย
ชื่อผู้แต่ง นรเทพ ศักดิ์เพชร(1*), ชาติรส จิตรักษ์ธรรม(2), เกริกศักดิ์ ปราบคช(3), กฤษฎา พูลยรัตน์(4), คมกฤช เจริญ(5) และ พัฒนะ วรรณวิไล(6) (Norathep Sakphet(1*), Chatirot Jitrugtham(2), Krirksak Prabkot(3), Kritsada Poonyarat(4), Komkrit Charoen(5) and Pattana Wannawilai(6))
หน่วยงาน ศูนย์ความเป็นเลิศบีซีจีเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (1-2), คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (3), สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม(4), คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา(5-6) (Center of Excellence BCG for Sustainable Development, College of Innovation and Management, Songkhla Rajabhat University (1-2), Faculty of Humanities and Social Sciences, Songkhla Rajabhat University (3), Academic Resource and Information Technology, Chandrakasem Rajabhat University(4), Faculty of Science and Technology, Songkhla Rajabhat University(5-6)) *Corresponding author, e-mail: norathep.sa@skru.ac.th
ชื่อวารสาร วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2568
บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจและจัดทำฐานข้อมูลของร้านซ่อมรถจักรยานยนต์ในเขตเทศบาลนครสงขลา และ 2) เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) สำหรับค้นหาร้านซ่อมรถจักรยานยนต์ในพื้นที่ดังกล่าว โดยระบบนี้จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาร้านซ่อมรถจักรยานยนต์ได้อย่างสะดวกและรวดเร็วผ่านทางสมาร์ทโฟนและคอมพิวเตอร์ การเก็บข้อมูลเชิงพื้นที่ทำโดยการสำรวจภาคสนามและการเก็บพิกัดตำแหน่งของร้านซ่อมรถจักรยานยนต์ทั้งหมด 40 แห่งในพื้นที่เทศบาลนครสงขลา ข้อมูลที่ได้รับจะถูกนำมาประมวลผลและแสดงผลบนระบบ GIS ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยใช้ Google Maps API เพื่อให้สามารถแสดงตำแหน่งร้านซ่อมรถจักรยานยนต์ได้อย่างชัดเจน ระบบได้รับการประเมินประสิทธิภาพ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวนวน 3 คน พบว่า ระบบมีประสิทธิภาพมาก (= 4.48, S.D.=0.21) และประเมินความพึงพอใจ โดยผู้ใช้งาน จำนวน 30 คน พบว่า ผู้ใช้งานมีความพึงพอใจระบบมากที่สุด (= 4.81, S.D.=0.37) จากการพัฒนาระบบ สามารถช่วยลดเวลาในการค้นหาร้านซ่อมรถและเพิ่มความสะดวกสบายในการเดินทางของผู้ใช้รถในพื้นที่เทศบาลนครสงขลา การวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าการนำเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในการจัดทำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สำหรับค้นหาร้านซ่อมรถจักรยานยนต์ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพและความสะดวกในการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คำสำคัญ การประยุกต์ระบบสารสนเทศ; ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์; ร้านซ่อมรถจักรยานยนต์
ปี พ.ศ. 2568
ปีที่ (Vol.) 11
ฉบับที่ (No.) 1
เดือนที่พิมพ์ มกราคม - เมษายน
เลขที่หน้า (Page) 66-85
ISSN ISSN 3027-7280 (Online)
DOI
ORCID_ID 0000-0002-8144-3916
ไฟล์บทความ https://mitij.mju.ac.th/ARTICLE/R68005.pdf
  
เอกสารอ้างอิง 
  กมลรัตน์ สมใจ, สุริยา บุญทา, และ ศักดิธร รัตนเมธาโกศล. (2562). การพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อสนับสนุนการจัดการข้อมูลคลังปัญญาผู้สูงอายุในเขตพื้นที่บ้านโคกเมือง ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, จังหวัดมหาสารคาม, ประเทศไทย, 5 มีนาคม 2562.
  กรมการปกครอง. (2565). สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร. ค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2565 ค้นจากhttps://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/displayData
  เทศบาลนครสงขลา. (2565). สถานที่ท่องเที่ยว. ค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2565 ค้นจากhttps://www.songkhlacity.go.th/2020/travel
  ธนวิชญ์ พันธุ์ฉลาด, มะลิวัลย์ เหมสลาหมาด, อรยา ปรีชาพานิช, และ สุดา เธียรมนตรี. (2561). โปรแกรมต้นแบบของแอปพลิเคชันบริการข้อมูลอู่ซ่อมรถตามตำแหน่งของผู้ใช้ กรณีศึกษา: จังหวัดภูเก็ต. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 21(3), 267-274.
  พรสุรางค์ ราชภักดี, สีใส ยี่สุ่นแสง, ทวีศักดิ์ ทองบู่, และ พุทธิพันธุ์ สนั่นนาม. (2564). การพัฒนาระบบควบคุมโรคไข้เลือดออกเขตเทศบาลวิเชียรบุรีโดยการประยุกต์ใช้แผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินและฐานข้อมูลทะเบียนระบบสุขภาพ. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก, 8(1), 16-29.
  สยามราชย์ ฟูเจริญกัลยา. (2565). การพัฒนาระบบสารสนเทศในการจัดการฐานข้อมูลแผนคำของบลงทุนของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย. เชียงรายเวชสาร, 14(2), 102-117.
  สรสินธุ์ ฉายสินสอน. (2561). แอปพลิเคชันเพื่อบูรณาการข้อมูลการท่องเที่ยวอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์. วารสารสารสนเทศ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 17(2), 147-160.
  สำนักงานขนส่งจังหวัดสงขลา. (2565). สถิติการจดทะเบียนรถ. ค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2565 ค้นจากhttps://ska.dlt.go.th/th/m_page_8093
  สุภมาศ สุรินทะ, วีระศักดิ์ เจริญรัตน์, และ กรรณิการ์ กมลรัตน์. (2567). การพัฒนาระบบแจ้งเตือนและนัดหมายกิจกรรมแบบอัตโนมัติผ่านไลน์แอปพลิเคชัน กรณีศึกษา สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 10(1), 138-161.
  อรยา สุขนิตย์, และ สุรสิทธิ์ ศักดา. (2563). ระบบการสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวชุมชนจากข้อมูล Geolocation ตามมาตรฐาน Google Maps. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 23(1), 66-77.
  Edmondson, D. R. (2005). Likert scales: A history. In Proceedings of the Conference on Historical Research in Marketing (p. 129). University of South Florida, USA. Retrieved from ojs.library.carleton.ca.
  Nie, B. (2015). A Study on the Second-Person Narrative in Jennifer Egan’s Black Box. Open Journal of Social Sciences 3(10): 51 – 58.
  Sedgwick, P. M. (2013). Convenience sampling. The BMJ, 347(oct25 4), f6304. https://doi.org/10.1136/bmj.f6304
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กลับสู่ เมนูค้นหา
       
กองบรรณาธิการวารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290  mitij@mju.ac.th