วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม 
Maejo Information Technology and Innovation Journal (MITIJ)
 ค้นหา | หน้าแรก   
 
 
 
» หน้าแรก
» ฉบับปัจจุบัน
» ฉบับย้อนหลัง
» ค้นหาวารสาร/บทความ
» ลงทะเบียน (OJS/PKP)
 

                               :: รายละเอียดบทความ ::
กลับสู่เมนูค้นหา 
ชื่อบทความ
การพัฒนาแอปพลิเคชันสุขภาพผู้สูงอายุในท้องถิ่นด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
ชื่อบทความ(English)
Development of a Local Elderly Health Application with Digital Technology
ประเภทบทความ
บทความวิจัย
ชื่อผู้แต่ง ภรัณยา ปาลวิสุทธิ์(1*), อภินันท์ จุ่นกรณ์(1), มงคล รอดจันทร์(2) และศัลยพงศ์ วิชัยดิษฐ(3) (Paranya Palwisut(1*), Apinan Junkorn(1), Mongkol Rodjan(2), and Salyapong Wichaidit(3))
หน่วยงาน สาขาวิชาวิทยาการข้อมูล(1), สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์(2), สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย(3) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราขภัฏนครปฐม จังหวัดนครปฐม 73000 (Data Science(1), Computer Technology(2), Multimedia Technology(3), Faculty of Science and Technology, Nakhon Pathom Rajabhat University) *Corresponding author: paranya@npru.ac.th
ชื่อวารสาร วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2568
บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันสุขภาพผู้สูงอายุในท้องถิ่นด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลให้เป็นเครื่องมือบริหารจัดการข้อมูลสุขภาพผู้สูงอายุ  และ 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพการใช้งานแอปพลิเคชันสุขภาพผู้สูงอายุในท้องถิ่นด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล แพลตฟอร์มพัฒนาขึ้นในรูปแบบเรซสปอนต์ซีฟ เว็บไซต์เพื่อรองรับอุปกรณ์ที่มีขนาดหน้าจอแสดงผลที่แตกต่างกัน และทำให้สามารถใช้งานระบบจากที่ใดก็ได้ที่มีเครือข่ายอินเทอร์เน็ต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ กลุ่มผู้ใช้งาน ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จำนวน  2  คน  อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจำนวน 8 คน ผู้ดูแลผู้สูงอายุจำนวน 10 คน รวมทั้งหมด 20 คน  ซึ่งเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แอปพลิเคชันสุขภาพผู้สูงอายุในท้องถิ่นด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลที่พัฒนาขึ้น และแบบประเมินประสิทธิภาพของแอปพลิเคชัน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) แอปพลิเคชันสุขภาพผู้สูงอายุในท้องถิ่นด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลสามารถใช้งานได้ทั้งบนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและอุปกรณ์เคลื่อนที่ การทำงานของระบบแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ เว็บแอปพลิเคชันส่วนฟรอนต์เอนด์และเว็บแอปพลิเคชันส่วนแบ็กเอนด์ และ 2) ผลประเมินประสิทธิภาพการใช้งานแอปพลิเคชันจากกลุ่มผู้ใช้งานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.30, SD = 0.40)

คำสำคัญ ผู้สูงอายุ; ข้อมูลสุขภาพ; แอปพลิเคชันสุขภาพ; เทคโนโลยีดิจิทัล
ปี พ.ศ. 2568
ปีที่ (Vol.) 11
ฉบับที่ (No.) 1
เดือนที่พิมพ์ มกราคม - เมษายน
เลขที่หน้า (Page) 86-105
ISSN ISSN 3027-7280 (Online)
DOI
ORCID_ID 0009-0005-7957-2769
ไฟล์บทความ https://mitij.mju.ac.th/ARTICLE/R68006.pdf
  
เอกสารอ้างอิง 
  กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2564). การดูแลผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2567, จาก https://www.dop.go.th/th/know/15/741
  กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2566). สถิติผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2567, จาก https://www.dop.go.th/th/know/1
  จุฬาวลี มณีเลิศ. (2564). การพัฒนาแอปพลิเคชันส่งเสริมการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม. วารสารวิชาการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ, ปีที่7. ฉบับที่ 2, (กรกฎาคม – ธันวาคม 2564): 83-94.
  ณัฐชยา จงถนอมวิวัฒน์ และคณะ. (2565). การพัฒนาแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการแอนดรอย์ในการประเมินผู้สูงอายุตามความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันสำหรับบุคลากรสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตอำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี.วารสารวิชาการสาธารณสุข, ปีที่ 31, ฉบับที่ 5, (กันยายน - ตุลาคม 2565): 851- 859
  พิชญา นิลรุ่งรัตนา และอติเทพ แจ้ดนาลาว. (2565). การออกแบบส่วนประสานผู้ใช้งานสำหรับผู้สูงอายุไทยในยุคดิจิทัล. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ปีที่ 9, ฉบับที่ 1, 2565: 99-113.
  ภาวพรรณ ขำทับ และธีรพงษ์ วิริยานนท์. (2565). การออกแบบส่วนต่อประสานผู้ใช้หลายรูปแบบบนเทคโนโลยีดิจิทัลในยุคสังคมผู้สูงอายุ. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ปีที่ 50 ฉบับที่ 1.
  ศุภรัตน์ แก้วเสริม. (2565). การพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับการดูแลผู้สูงอายุบนสมาร์ทโฟน. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, ปีที่ 6, ฉบับที่ 2, (พฤษภาคม-สิงหาคม 2565): 44-59.
  สุมิตรา โพธิ์ปาน และ ปัทมา สุพรรณกุล. (2562). การดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล. พุทธชินราชเวชสาร, ปีที่ 36, ฉบับที่ 1, (มกราคม-เมษายน 2562): 128-136.
  สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล. (2558). มาตรฐานแอปพลิเคชันภาครัฐสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: บริษัท พี.เอ็ม.มีเดีย พริ้นท์จำกัด.
  โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2555). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น จํากัด.
  Likert, R. (1967). The human organization: Its management and value. New York: McGraw-Hill.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กลับสู่ เมนูค้นหา
       
กองบรรณาธิการวารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290  mitij@mju.ac.th