วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม 
Maejo Information Technology and Innovation Journal (MITIJ)
 ค้นหา | หน้าแรก   
 
 
 
» หน้าแรก
» ฉบับปัจจุบัน
» ฉบับย้อนหลัง
» ค้นหาวารสาร/บทความ
» ลงทะเบียน (OJS/PKP)
 

                               :: รายละเอียดบทความ ::
กลับสู่เมนูค้นหา 
ชื่อบทความ
การส่งเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุโดยใช้กิจกรรมเข้าจังหวะของสื่อออนไลน์ในรูปแบบแอปพลิเคชัน
ชื่อบทความ(English)
Extension the well-being of the elderly using rhythmic activities of online media in the form of application
ประเภทบทความ
บทความวิจัย
ชื่อผู้แต่ง อุบลวรรณ จันทรเสนา(1*), เนตรนภา เรืองไชย(2) และสุรศักดิ์ หาญธีระพิทักษ์(3) (Ubonwan Juntarasena(1*), Netnapa Ruangchai(2) and Surasak Hanteerapitak(3))
หน่วยงาน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม(1), สาขาวิชาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม(2), สาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม(3) (Computer Education Faculty of Education Rajabhat Maha Sarakham University(1), Physical Education Faculty of Education Rajabhat Maha Sarakham University(2), Music Education Faculty of Education Rajabhat Maha Sarakham University(3)) *Corresponding author: Ubonwan.k@rmu.ac.th
ชื่อวารสาร วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2568
บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์สุขภาวะของผู้สูงอายุ 2) เพื่อพัฒนาสื่อออนไลน์ในรูปแบบแอปพลิเคชันกิจกรรมเข้าจังหวะที่ส่งเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุ และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจการใช้สื่อออนไลน์ในรูปแบบแอปพลิเคชันกิจกรรมเข้าจังหวะที่ส่งเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกของโรงเรียนผู้สูงอายุมะกอกวิทยา บ้านมะกอก ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 50 คน ได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสถานการณ์สุขภาวะของผู้สูงอายุ สื่อออนไลน์ในรูปแบบแอปพลิเคชัน แบบประเมินคุณภาพและความเหมาะสมของสื่อออนไลน์ในรูปแบบแอปพลิเคชัน และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้สูงอายุ สถิติที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการวิจัย พบว่า สถานการณ์สุขภาวะของผู้สูงอายุในการปฏิบัติเกี่ยวกับสุขภาวะของตนเอง  โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (=3.24, S.D.=0.84) ผลการพัฒนาสื่อออนไลน์ในรูปแบบแอปพลิเคชัน แบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนการเข้าใช้งานระบบ  ส่วนกิจกรรมหลักภายในแอปพลิเคชัน และส่วนข้อมูลของแอปพลิเคชัน ผลการประเมินคุณภาพและความเหมาะสมของกิจกรรมเข้าจังหวะในรูปแบบสื่อออนไลน์จากผู้เชี่ยวชาญ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.55, S.D.=0.50) และผลการศึกษาความพึงพอใจการใช้กิจกรรมเข้าจังหวะของสื่อออนไลน์ในรูปแบบแอปพลิเคชันที่ส่งเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจโดยรวม อยู่ในระดับมาก (=3.54, S.D.=0.61) และมีความพึงพอใจต่อสุขภาวะโดยรวม อยู่ในระดับมาก (=4.02, S.D.=0.66)

คำสำคัญ แอปพลิเคชัน; ผู้สูงอายุ; กิจกรรมเข้าจังหวะ
ปี พ.ศ. 2568
ปีที่ (Vol.) 11
ฉบับที่ (No.) 1
เดือนที่พิมพ์ มกราคม - เมษายน
เลขที่หน้า (Page) 247-266
ISSN ISSN 3027-7280 (Online)
DOI
ORCID_ID 0009-0005-5239-7614
ไฟล์บทความ https://mitij.mju.ac.th/ARTICLE/R68009F.pdf
  
เอกสารอ้างอิง 
  ณัชชา ปาพรม. (2561). การศึกษาและพัฒนาแอพพลิเคชั่นการเตรียมความพร้อมทางร่างกาย สำหรับผู้ที่กำลังเข้าสู่สังคมสูงอายุ. (วิทยานิพนธ์ปริญญา ศศ.ม. (ศิลปกรรม)). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
  บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ:สุวีริยาส์น.
  ปวีณา บังเกิด. (2563). การพัฒนาแอปพลิเคชันการออกกำลังกายด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมเพื่อส่งเสริมสุขภาพกของผู้สูงอายุ. (วิทยานิพนธ์ปริญญา ศษ.ม.(เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา)). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  พนม คลี่ฉายา. (2563). ความผูกพัน ความเสี่ยงจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ และความรอบรู้ทางดิจิทัลและการรู้เท่าทันของประชาชน. วารสารนิเทศศาสตร์ 38(3): 1-16.
  พนัส ต้องการพานิช. (2563). ร้อง เล่น เต้น เคลื่อนไหว : กิจกรรมดนตรีเพื่อผู้สูงอายุ. วารสารดนตรี บ้านสมเด็จ 2(1): 91-106.
  มนชัย เทียนทอง. (2554). การออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3).กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
  รัชชานันท์ ศรีสุภักดิ์ และ ประภากร ศรีสว่างวงศ์. (2563). โมบายแอปพลิเคชันแนะนำการออก กำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการสาธารณสุข 29(2): 230-239.
  วิไลวรรณ อิศรเดช. (2564). การเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุของสังคมเมืองผ่านระบบสื่อสาร ออนไลน์. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ 6(2): 347-360.
  สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล. (2544). หลักสำคัญของเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ภาควิชา อายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กลับสู่ เมนูค้นหา
       
กองบรรณาธิการวารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290  mitij@mju.ac.th