วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม 
Maejo Information Technology and Innovation Journal (MITIJ)
 ค้นหา | หน้าแรก   
 
 
 
» หน้าแรก
» ฉบับปัจจุบัน
» ฉบับย้อนหลัง
» ค้นหาวารสาร/บทความ
» ลงทะเบียน (OJS/PKP)
 

                               :: รายละเอียดบทความ ::
กลับสู่เมนูค้นหา 
ชื่อบทความ
การหาจำนวนที่เหมาะสมสำหรับติดตั้งตัวตรวจวัดความชื้นในดินด้วยแบบจำลองเชิงพื้นที่โดยใช้เครือข่ายเซ็นเซอร์ไร้สาย
ชื่อบทความ(English)
Finding the Right Amount to Install A Mositure Soil Sensor with The Spatial Modeling using Wireless Sensor Networks
ประเภทบทความ
บทความวิจัย
ชื่อผู้แต่ง มงคล รอดจันทร์(1*), ภรัณยา ปาลวิสุทธิ์(2), อภินันท์ จุ่นกรณ์(2) และศัลยพงศ์ วิชัยดิษฐ(3) (Mongkol Rodjan(1*), Paranya Palwisut(2), Apinan Junkorn(2), and Salyapong Wichaidit(3))
หน่วยงาน สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์(1), สาขาวิชาวิทยาการข้อมูล(2), สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย(3) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม (Department of Computer Technology(1), Department of Data Science(2), Department of Multimedia Technology(3), Faculty of Science and Technology, Nakhon Pathom Rajabhat University) * Corresponding author: mongkol@webmail.npru.ac.th
ชื่อวารสาร วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม 2568
บทคัดย่อ

             งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาจำนวนที่เหมาะสมสำหรับติดตั้งตัวตรวจวัดความชื้นในดิน ด้วยแบบจำลองเชิงพื้นที่โดยใช้เครือข่ายเซ็นเซอร์ไร้สาย โดยใช้จำนวนตัวตรวจวัดความชื้นในดินให้น้อยที่สุดแต่คลอบคลุมบริเวณพื้นที่เพาะปลูก ด้วยวิธีการประยุกต์ใช้แบบจำลองเชิงพื้นที่ร่วมกับเครือข่ายเซ็นเซอร์ไร้สาย สำหรับติดตั้งตัวตรวจวัดความชื้นในดินในบริเวณพื้นที่เพาะปลูก เพื่อให้การวัดค่าความชื้นในดินมีประสิทธิภาพและลดต้นทุนในการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดค่าความชื้นในดินในจำนวนที่มากเกินไป ผลการทดลองจากการเก็บค่าความชื้นในดิน ในพื้นที่ทดลองขนาด 4 ตารางเมตร ที่ติดตั้งตัวตรวจวัดความชื้นในดินทั้งหมด 81 จุด พบว่าค่าความชื้นในดินในภาพรวมมีค่าความชื้นในดินต่ำสุดคือ 56.26%  มีค่าความชื้นในดินสูงสุดคือ 59.96% ซึ่งจากค่าที่วัดได้พบว่าค่าความชื้นในดินในพื้นที่ทดลองมีความแตกต่างกันเล็กน้อย  สามารถเลือกติดตั้งตัวตรวจวัดความชื้นในดินเพียง 1 จุด ในตำแหน่งใดก็ได้ในพื้นที่ 4 ตารางเมตร ก็เพียงพอต่อการใช้งาน เนื่องจากค่าความชื้นในดินที่วัดได้มีความแตกต่างกันไม่มากและอยู่ในช่วงเดียวระดับความชื้นเพียงช่วงเดียว

คำสำคัญ ความชื้นในดิน; เครือข่ายเซ็นเซอร์ไร้สาย; แบบจำลองเชิงพื้นที่
ปี พ.ศ. 2568
ปีที่ (Vol.) 11
ฉบับที่ (No.) 2
เดือนที่พิมพ์ พฤษภาคม - สิงหาคม
เลขที่หน้า (Page) 23-40
ISSN ISSN 3027-7280 (Online)
DOI
ORCID_ID 0009-0009-2905-8576
ไฟล์บทความ https://mitij.mju.ac.th/ARTICLE/R68011.pdf
  
เอกสารอ้างอิง 
  ณัฐพล จันทร์แก้ว และอาภากร ทองวงสา. (2559). แบบจำลองทางสถิติเชิงพื้นที่สำหรับการคาดคะเนสมบัติพื้นฐานของดิน ณ บ้านโป่งลึกบางกลอย อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีที่ 24(3): 382-399.
  นัฐพงษ์ พวงแก้ว และคณะ. (2559). การศึกษาปริมาณความชื้นในดินโดยประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในเขตจังหวัดภูเก็ต. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา ปีที่ 21(2): 61-71.
  ศิวาพร เหมียดไธสง และคณะ. (2558). การวิจัยและพัฒนาระบบการตรวจวัดสภาพแวดล้อมในพื้นที่เพาะปลูกมะนาว ด้วยเครือข่ายเซนเซอร์ไร้สาย ระดับหมู่บ้านเพื่อลดการใช้สารเคมีและสารพิษตกค้างลุ่มแม่น้ำเพชรบุรี. การประชุมวิชาการ งานวิจัยและพัฒนาเชิงประยุกต์ ครั้งที่ 7 210-213.
  สราวุฒิ บุญเกิดรัมย์. (2560). การพัฒนาระบบการตรวจสอบคุณภาพน้ำแบบไร้สายโดยใช้ซิกบี. วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต. ปีที่ 7(1): 92-104.
  สุภนัย กระจายศรี และคณะ. (2557). ระบบตรวจวัดอุณหภูมิอัตโนมัติโดยผ่านเครือข่าย xbee โดยมีแหล่งจ่ายเป็นโซล่าเซลล์. (ปริญญานิพนธ์ ปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
  Digi Internationnal Inc. (2022). Demystifying 802.15.4 and ZigBee White Paper. Retrieved from https://www.mouser.com/pdfdocs/digi-wp_zigbee.pdf.
  Digi Internationnal Inc. (2022). XBee?/XBee-PRO S2C Zigbee? RF Module User Guide. Retrieved from https://www.digi.com/resources/documentation/digidocs/pdfs/ 90002002.pdf.
  M. Srivastava, D. Culler and D. Estrin. (2004). Guest Editors' Introduction: Overview of Sensor Networks. In Computer (Vol. 37, pp. 41-49).
  SPsmartplants (2563). รู้หรือไม่ ความชื้นในดินมีความสำคัญกับพืชมาก. ค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2566. ค้นจาก : https://www.spsmartplants.com/blog?page=3
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กลับสู่ เมนูค้นหา
       
กองบรรณาธิการวารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290  mitij@mju.ac.th