ชื่อบทความ |
การพัฒนาระบบการติดตามและประเมินผล การบริหารจัดการด้านการผลิต การตลาด และการให้บริการผลิตภัณฑ์เชื้อพันธุ์แมลงศัตรูธรรมชาติ เพื่อการผลิตพืชอินทรีย์
|
ชื่อบทความ(English) |
Development of Monitoring and Evaluation System for Production Management, Marketing and Services of the Insect Natural Enemies Product for Organic Agriculture
|
|
|
ประเภทบทความ |
บทความวิจัย
|
ชื่อผู้แต่ง |
สุรเดช ไชยมงคล(1*) และ สมชาย อารยพิทยา(1) (Suradet Chaimongkol (1*) and Somchai Arayapitaya(1))
|
หน่วยงาน |
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (1) (Technology Digital Division, Office of University, Maejo University(1)) * Corresponding author: surdet@mju.ac.th
|
ชื่อวารสาร |
วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม 2568
|
บทคัดย่อ |
การพัฒนาระบบการติดตามและประเมินผล การบริหารจัดการด้านการผลิต การตลาดและการให้บริการผลิตภัณฑ์เชื้อพันธุ์แมลงศัตรูธรรมชาติ เพื่อการผลิตพืชอินทรีย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปัญหาอุปสรรคสำคัญที่เกิดขึ้นและแนวทางในการแก้ไขปัญหา และเพื่อสร้างเครื่องมือสำหรับผู้บริหารหรือผู้ที่สนใจใช้ในการตัดสินใจลงทุนในผลิตภัณฑ์เชื้อพันธุ์แมลงศัตรูธรรมชาติ เพื่อการผลิตพืชอินทรีย์
โดยประชากรที่ใช้ศึกษาในงานวิจัยได้แก่ข้อมูลการบริหารจัดการด้านการผลิต แมลงศัตรูธรรมชาติจำนวน 3 ชนิด ได้แก่ มวนพิฆาต มวนเพชรฆาต และแตนเบียนไข่ไตรโคแกรมม่า จากโรงงานต้นแบบของการเพาะเลี้ยงศัตรูธรรมชาติ ศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาระบบในงานวิจัยนี้ ได้แก่ ภาษาพีเอชพี ( PHP) และ จาวาสคริปต์ (JavaScript) โดยใช้มายเอสคิวแอล ( MySQL) เป็นระบบจัดการฐานข้อมูล ใช้ระเบียบวิธีพัฒนาระบบแบบวงจรการพัฒนา (System Development Life Cycle) และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) โดยให้ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับระบบแมลงศัตรูธรรมชาติ เพื่อการผลิตพืชอินทรีย์และการตลาด จำนวน 3 คน และ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบงานคอมพิวเตอร์ จำนวน 11 คน ได้ทดลองใช้ระบบและทำการประเมินความพึงพอใจทำการประเมินผล โดยผลการประเมินแบบสอบถามอยู่ในระดับดีมาก เรียงตามลำดับดังนี้ 1) ด้านความเหมาะสมในหน้าที่การทำงานของโปรแกรม ในประเด็นความสามารถในการจัดการ กำหนดหัวข้อการประเมิน ตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมินผล ( = 4.57 SD = 0.51) 2) ด้านความถูกต้องในการทำงานโปรแกรม ในประเด็นของความถูกต้องในการประมวลผลข้อมูล ( = 4.71 SD = 0.47) 3) ด้านการประเมินความคิดเห็นด้านความสะดวกและง่ายต่อการใช้งานโปรแกรม ในประเด็นของความรวดเร็วในการประมวลผลและการแสดงระบบ ( = 4.64 SD = 0.50) 4) ด้านการรักษาความปลอดภัยของโปรแกรม ในประเด็นการตรวจสอบการป้อนข้อมูลนำเข้าสู่ระบบและการป้องกันการแก้ไขข้อมูลสอดคล้องกับระบบการทำงาน ( = 4.64 SD = 0.63) และ 5) ด้านความพึงพอใจของผู้ประเมินที่มีต่อการใช้งาน ( = 4.71 SD = 0.47)
|
คำสำคัญ |
โรงงานต้นแบบ; แมลงศัตรูธรรมชาติ; ระบบติดตามและประเมินผล
|
ปี พ.ศ. |
2568
|
ปีที่ (Vol.) |
11
|
ฉบับที่ (No.) |
2
|
เดือนที่พิมพ์ |
พฤษภาคม - สิงหาคม
|
เลขที่หน้า (Page) |
53-73
|
ISSN |
ISSN 3027-7280 (Online)
|
DOI |
|
ORCID_ID |
0009-0007-9971-0174
|
ไฟล์บทความ |
https://mitij.mju.ac.th/ARTICLE/R68014.pdf
|
| |
เอกสารอ้างอิง | |
|
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2555. เอกสารวิชาการ ศัตรูธรรมชาติที่สำคัญ. บริษัทยูไนเต็ดโปรดักชั่นเพรส จำกัด. กรุงเทพฯ. 77 หน้า.
|
|
กองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร. 2539. การควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธีเพื่อการเกษตรยั่งยืน. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. 221 หน้า.
|
|
นเรศ สิงห์ครามเขต และคณะ. 2561. การศึกษาและพัฒนาระบบประเมินผลโครงการที่จัดขึ้นในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ แบบออนไลน์ ที่รองรับการประเมินผ่าน สมาร์ทโฟนและคอมพิวเตอร์ทั่วไป. จาก https://repository.rmutr.ac.th/bitstream/handle/123456789/1234/fulltext.pdf?sequence=1&isAllowed=y [22 กุมภาพันธ์ 2564].
|
|
มณีพิชา อินทสาร และคณะ. (2562.). ระบบติดตามและประเมินผลการฝึกอาชีพ นักศึกษาแบบออนไลน์. จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ivebjournal/article/view/244988 [22 กุมภาพันธ์ 2564].
|
|
วรกมล สันชุมภู. 2559. การพัฒนาระบบติดตามและประเมินการใช้งบประมาณประจำปีผ่าน
อุปกรณ์เคลื่อนที่ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา. จาก
http://www.rdi.rmutsb.ac.th/2011/digipro/crci2016/poster/5.pdf
[16 สิงหาคม 2563].
|
|
สุทิน ชนะบุญ. 2560. สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยด้านสุขภาพเบื้องต้น.
จาก http://www.kkpho.go.th/i/index.php/component/attachments/download/1927
[18 มีนาคม 2563].
|
|
Andrew H. Jeffers and Juang-Horng Chong. (2021). BIOLOGICAL CONTROL
STRATEGIES IN INTEGRATED PEST MANAGEMENT (IPM) PROGRAMS.
https://lgpress.clemson.edu/publication/biological-control-strategies-in-integrated-pest-management-ipm-programs/
|
|
Fabrizia Ratto. (2022). Biological control interventions and botanical pesticides for
insect pests of crops in sub-Saharan Africa: A mapping review.
https://www.frontiersin.org/articles/10.3389/fsufs.2022.883975/full.
|
|
Hoddle, M.S. (2023). A new paradigm: proactive biological control of invasive
insect pests. BioControl. https://doi.org/10.1007/s10526-023-10206-5.
|
|
Van Lenteren, J.C. 2012. The state of commercial augmentative biological control: plenty of natural enemies, but a frustrating lack of uptake. BioControl, 57:1–20.
|
|
Warner, K.D. and C. Cetz, 2008. A socio –economic analysis of the North American commercial natural enemies industry and implications for augmentative biological control. Biological control.
45: 1-10.
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|