วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม 
Maejo Information Technology and Innovation Journal (MITIJ)
 ค้นหา | หน้าแรก   
 
 
 
» หน้าแรก
» ฉบับปัจจุบัน
» ฉบับย้อนหลัง
» ค้นหาวารสาร/บทความ
» ลงทะเบียน (OJS/PKP)
 

                               :: รายละเอียดบทความ ::
กลับสู่เมนูค้นหา 
ชื่อบทความ
ระบบจัดการสั่งอาหารและชำระเงิน กรณีศึกษา ร้านชาบู
ชื่อบทความ(English)
Food Ordering and Payment Management System : A Case Study of a Shabu Restaurant
ประเภทบทความ
บทความวิจัย
ชื่อผู้แต่ง มานิตา แก้วปิยรัตน์(1), สุนิดา รัตโนทยานนท์(1) และ เพ็ญณี หวังเมธีกุล(1*) (Manita Kaewpiyarat(1), Sunida Rattanothayanon(1) and Pennee Wangmaeteekul(1*))
หน่วยงาน สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ 1สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การคำนวณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (1) (Division of Computational Science, Computer Science, Faculty of Science, Prince of Songkla University HatYai) *Corresponding author: pennee.wa@psu.ac.th
ชื่อวารสาร วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม 2568
บทคัดย่อ

          ระบบจัดการสั่งอาหารและชำระเงิน กรณีศึกษาร้านชาบู ได้รับการวิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาครอบคลุมส่วนหน้าร้านชาบูทั้งระบบเพื่อรองรับการใช้งานสำหรับทุกกลุ่มผู้ใช้ คือ ผู้จัดการ พนักงานเสิร์ฟ พนักงานครัว และ ลูกค้า ให้ประสานสอดคล้องทุกกระบวนการเป็นลำดับขั้นตอนอย่างเต็มประสิทธิภาพ
         วิธีการศึกษาเริ่มจากศึกษาระบบงานเดิมและรวบรวมปัญหา จากนั้นทำการวิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาโปรแกรมตามที่วิเคราะห์และออกแบบไว้ ระบบได้รับการพัฒนาในรูปเว็บแอปพลิเคชัน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ HTML , CSS  และ JavaScript ผสมผสานกับโปรแกรม Visual Studio Code ในการออกแบบหน้าจอและใช้ MySQL ในการจัดการฐานข้อมูล ทำงานบนระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows
       ระบบจัดการสั่งอาหารและชำระเงิน กรณีศึกษาร้านชาบู รองรับผู้ใช้งาน 4 กลุ่ม คือ 1) ผู้จัดการ สามารถเข้าสู่ระบบ จัดการเมนูอาหาร จัดการข้อมูลพนักงาน กำหนดสิทธิ์ในการใช้งานระบบสามารถตรวจสอบยอดขายของร้านตามระยะเวลาที่ต้องการ 2) กลุ่มพนักงานเสิร์ฟ สามารถเข้าสู่ระบบ แก้ไขข้อมูลส่วนตัว ตรวจสอบสถานะโต๊ะ ทำการสั่งอาหาร ตรวจสอบรายการสั่งอาหาร ติดตามสถานะอาหาร และออกใบเสร็จเมื่อมีการรับชำระเงินสำเร็จ 3) กลุ่มพนักงานครัว สามารถเข้าสู่ระบบ แก้ไขข้อมูลส่วนตัว ตรวจสอบรายการอาหารที่มีการสั่งซื้อ เปลี่ยนสถานะอาหารจากรอยืนยัน กำลังปรุง หรือ เสิร์ฟแล้ว 4) กลุ่มลูกค้า สามารถทำการสั่งอาหาร เพิ่ม ลดจำนวนอาหาร ยกเลิก คำสั่งซื้ออาหาร ติดตามสถานะอาหารและเรียกชำระเงิน ผลการประเมินคุณภาพระบบในแง่ฟังก์ชันการใช้งานและค่าความพึงพอใจเฉลี่ยของผู้ใช้งานทุกกลุ่มโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดีมาก (ระดับคะแนนเฉลี่ย 4.61 จากคะแนนเต็ม 5.00)

คำสำคัญ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ; การพัฒนาระบบสารสนเทศ; ระบบสั่งอาหาร
ปี พ.ศ. 2568
ปีที่ (Vol.) 11
ฉบับที่ (No.) 1
เดือนที่พิมพ์ พฤษภาคม - สิงหาคม
เลขที่หน้า (Page) 97-116
ISSN ISSN 3027-7280 (Online)
DOI
ORCID_ID 0009-0005-9193-9922
ไฟล์บทความ https://mitij.mju.ac.th/ARTICLE/R68015.pdf
  
เอกสารอ้างอิง 
  ดวงพร ทรงวิศวะ. (2559). หน่วยที่ 9-การจัดบริการอาหารในร้านอาหารและภัตตาคาร.ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการจัดบริการอาหารในสถาบัน (Food Service Management in Institutions). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
  ทวีรัตน์ นวลช่วย. (2557). ระบบฐานข้อมูล (Database System). สืบค้นจาก https://sites.google.com/site/thaidatabase2/ (21 สิงหาคม 2566)
  ธนะวัชร จริยะภูมิ และ รุ่งโรจน์ สุบรรณจุ้ย. (2560). การพัฒนาระบบสั่งอาหารออนไลน์. วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร. 2(2) 6-15.
  ธานินทร์ ศิลป์จารุ.(2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพมหานคร : บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี
  บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น
  โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2553). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชั่น
  Girdhari Singh, Shalini Puri. (2014). Software Engineering. Genius Publication Suphakit Annoppornchai (2017). MySQL คืออะไร. สืบค้นจาก https://saixiii.com/what-is-mysql/ (10 สิงหาคม 2566)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กลับสู่ เมนูค้นหา
       
กองบรรณาธิการวารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290  mitij@mju.ac.th