วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม 
Maejo Information Technology and Innovation Journal (MITIJ)
 ค้นหา | หน้าแรก   
 
 
 
» หน้าแรก
» ฉบับปัจจุบัน
» ฉบับย้อนหลัง
» ค้นหาวารสาร/บทความ
» ลงทะเบียน (OJS/PKP)
 

                               :: รายละเอียดบทความ ::
กลับสู่เมนูค้นหา 
ชื่อบทความ
ระบบสถิติการตรวจสอบใบเสร็จการโอนเงินเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของพนักงานร้านค้าและผู้ดูแลระบบ
ชื่อบทความ(English)
Transaction Receipt Verification Statistics System to support decision-making for store employees and administrators
ประเภทบทความ
บทความวิจัย
ชื่อผู้แต่ง ตะวัน สุรินา(1), ณภัทร บัวบาน(1), อรรถวิท ชังคมานนท์(1), สมนึก สินธุปวน(1) และ ก่องกาญจน์ ดุลยไชย(1*) (Tawann Surina(1), Napat Bourban(1), Attawit Changkamanon(1), Somnuek Sinthupuan(1) and Kongkarn Dullayachai(1*))
หน่วยงาน สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้(1) (Computer Science Department, Faculty of Science, Maejo University(1)) * ผู้นิพนธ์ประสานงาน: ก่องกาญจน์ ดุลยไชย อีเมล: kongkarn@gmaejo.mju.ac.th
ชื่อวารสาร วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม 2568
บทคัดย่อ

         งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา (Development Research) มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการ ได้แก่ (1) การพัฒนาระบบสถิติการตรวจสอบใบเสร็จการโอนเงินเพื่อช่วยในการตัดสินใจของพนักงานร้านค้าและผู้ดูแลระบบ และ (2) การศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานต่อระบบดังกล่าว โดยทำการทดสอบระบบกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 14 คน ซึ่งประกอบด้วยพนักงานภายในบริษัท 8 คน และลูกค้าสมาชิก 6 คน การเก็บข้อมูลดำเนินการผ่านแบบสอบถามวัดระดับความพึงพอใจ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านเนื้อหา ด้านการออกแบบ และด้านการใช้งาน โดยใช้มาตราส่วน Likert 5 ระดับ ผลการประเมินความพึงพอใจพบว่า ค่าเฉลี่ยด้านเนื้อหาอยู่ที่ 4.65 ด้านการออกแบบอยู่ที่ 4.13 และด้านการใช้งานอยู่ที่ 4.67 โดยมีค่าเฉลี่ยรวม เท่ากับ 4.48 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้ทดสอบมีความพึงพอใจในระดับสูง ระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถช่วยให้ผู้บริหารและพนักงานติดตามผลการดำเนินงานได้แบบเรียลไทม์ ลดข้อผิดพลาดจากการตรวจสอบด้วยตนเอง และเพิ่มความแม่นยำในการประเมินธุรกรรม นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้ดูแลระบบสามารถจัดการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพและสะดวกมากยิ่งขึ้น แม้ว่าระบบจะได้รับความพึงพอใจในระดับสูง แต่ยังมีข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาต่อไป ได้แก่ การเพิ่มฟังก์ชันการแจ้งเตือนอัตโนมัติ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก และการปรับแต่งแดชบอร์ดให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์การใช้งานในระยะยาว

คำสำคัญ สถิติการตรวจสอบ; การสนับสนุนการตัดสินใจ; ระบบการแสดงผล
ปี พ.ศ. 2568
ปีที่ (Vol.) 11
ฉบับที่ (No.) 2
เดือนที่พิมพ์ พฤษภาคม - สิงหาคม
เลขที่หน้า (Page) 224-249
ISSN ISSN 3027-7280 (Online)
DOI
ORCID_ID 0009-0005-2802-2871
ไฟล์บทความ https://mitij.mju.ac.th/ARTICLE/R68019F.pdf
  
เอกสารอ้างอิง 
  กรมตำรวจ. (2567). สลิปปลอม vs. สลิปจริง: เทคนิคสังเกตความผิดปกติ หลีกเลี่ยงบัญชี มิจฉาชีพ. Retrieved from https://www.police9.go.th/สลิปปลอม-vs-สลิปจริง-เทคนิ/
  ฉัตร ชูชื่น. (2565). การพัฒนาระบบแสดงข้อมูลผลการดำเนินงานกลุ่มธุรกิจเกษตรรุ่นใหม่ จังหวัดลำพูน โดยใช้แนวคิดระบบธุรกิจอัจฉริยะ. วารสารแม่โจ้, 2565(2): 66-86.
  ดวงใจ ใจกล้า, ชวลิต ชนินทรสงขลา, ปภาอร เขียวสีมา, & สมบูรณ์ ใจประการ. (2567). การวิเคราะห์ข้อมูลผลการดำเนินงานโรงพยาบาลทันตกรรม โดยใช้รูปแบบของระบบ ธุรกิจอัจฉริยะ. วารสารแม่โจ้, 2567(4): 18-41.
  ธนาคารแห่งประเทศไทย. (n.d.). รู้จัก Mobile Banking. Retrieved from https://www.bot.or.th/th/satang-story/digital-fin-lit/mobile-payment.html
  ธีรภพ แสงศร. (2566). การพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับธุรกิจรักษาความปลอดภัย: กรณีศึกษาห้างหุ้นส่วนสามัญมาเนื่องจำกัด. วารสารแม่โจ้, 2566(1): 36-54.
  เบญจวรรณ นิรมิตวสุ, จันทนา จันทโร, ไชยะ แช่มช้อย. (2016). การประยุกต์ใช้เครื่องมือ ทางสถิติเพื่อการตรวจติดตามผลการอนุรักษ์พลังงาน. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/energy-research/article/view/49284/0
  พันธะกานต์ ยืนยง, กัมปนาท ฉายชูวงษ์, ศุภร น้อยใจบุญ, ชุติกาญจน์ ถาวรเจริญ. (2023). การประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป และเทคโนโลยีแดชบอร์ด เพื่อนำเสนอข้อมูลผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jkkpho/article/view/263488
  มัธยม อ่อนจันทร์, บังอร พลมิตร, และ ศรารัตน์ วรรณแจ่ม (2024). Skeuomorphism and Flat Design: การออกแบบ UX/UI เพื่อให้สอดคล้องกับกระบวนการรับรู้ของมนุษย์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 1(1), 42-54. Retrieved from https://doi.org/10.14456/ksti.2024.16
  สมชาย อารยพิทยา & นนท์ ปิ่นเงิน. (2566). การพัฒนาระบบธุรกิจอัจฉริยะเพื่อสนับสนุน ระบบเกษตรนาแปลงใหญ่ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในเขตภาคเหนือตอนบน. วารสารแม่โจ้, 2566(2): 83-104.
  Benjamin Bach, Euan Freeman, Alfie Abdul-Rahman, Cagatay Turkay, Saiful Khan, Yulei Fan, & Min Chen (2023). Dashboard Design Patterns. IEEE Transactions on Visualization and Computer Graphics, 29(1), 102-112. Retrieved from https://ieeexplore.ieee.org/abstract/document/9903550
  Eckerson, W. W. (2010). Performance Dashboards: Measuring, Monitoring, and Managing Your Business. Wiley.
  Few, S. (2006). Information Dashboard Design: The Effective Visual Communication of Data. O'Reilly Media.
  Kimball, R., & Ross, M. (2013). The Data Warehouse Toolkit: The Definitive Guide to Dimensional Modeling. Wiley.
  Sedrakyan, G., Mannens, E., & Verbert, K. (2019). Guiding the choice of learning dashboard visualizations: Linking dashboard design and data visualization concepts. International Journal of Human-Computer Studies, 126, 89-100. Retrieved from https://doi.org/10.1016/j.jvlc.2018.11.002
  Techsauce. (2023, March 27). ทำความรู้จัก Dashboard คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร ทำไมควรทำ? Retrieved from https://techsauce.co/tech-and-biz/what-is-dashboard
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กลับสู่ เมนูค้นหา
       
กองบรรณาธิการวารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290  mitij@mju.ac.th