วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม 
Maejo Information Technology and Innovation Journal (MITIJ)
 ค้นหา | หน้าแรก   
 
 
 
» หน้าแรก
» ฉบับปัจจุบัน
» ฉบับย้อนหลัง
» ค้นหาวารสาร/บทความ
» ลงทะเบียน (OJS/PKP)
 

                               :: รายละเอียดบทความ ::
กลับสู่เมนูค้นหา 
ชื่อบทความ
การพัฒนาระบบสารสนเทศพรรณไม้ ในพื้นที่เส้นทางศึกษาธรรมชาติน้ำตกมณฑาธาร
ชื่อบทความ(English)
Development of The Information system for Plant Data Montha Than Waterfall Nature Trail
ประเภทบทความ
บทความวิจัย
ชื่อผู้แต่ง พรวนา รัตนชูโชค(1*) และ จุฬาวลี มณีเลิศ(1)
หน่วยงาน ภาควิชาคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่(1) (Department of Computer, Faculty of Science and Technology, Chiang Mai Rajabhat University(1)) *Corresponding author: ponwana.r@g.cmru.ac.th
ชื่อวารสาร วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม 2568
บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างระบบสารสนเทศพรรณไม้  2) พัฒนาแอปพลิเคชันโลกเสมือนผสานโลกจริงแสดงข้อมูลพรรณไม้ และ 3) ประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบสารสนเทศพรรณไม้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างให้ข้อมูล และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลพรรณไม้ ได้แก่ ตัวแทนจากอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จำนวน 2 คน ซึ่งได้มาจากวิธีการแบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่างประเมินประสิทธิภาพของระบบ ได้แก่ ตัวแทนจากอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จำนวน 2 คน ตัวแทนนักวิชาการจากสถาบันอุดมศึกษาจำนวน 3 คน ซึ่งได้มาจากวิธีการแบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่างประเมินความพึงพอใจของระบบ ได้แก่ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และตัวแทนจากอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากวิธีการสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วย การสัมภาษณ์ การใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ความถี่ ร้อยละ
          ผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่า 1) ระบบสารสนเทศพรรณไม้ สามารถแสดงรายละเอียดข้อมูลพรรณไม้ จำนวน 92 ชนิด 2) แอปพลิเคชันเทคโนโลยีเสมือนจริงแสดงข้อมูลพรรณไม้ จำนวน 6 ชนิด ระบบสารสนเทศ ผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.75 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานต่อระบบสารสนเทศพรรณไม้ที่พัฒนาขึ้น โดยผลการประเมินภาพรวมอยู่ในระดับ 4.26 อยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ แอปพลิเคชัน; พรรณไม้; มณฑาธาร
ปี พ.ศ. 2568
ปีที่ (Vol.) 11
ฉบับที่ (No.) 2
เดือนที่พิมพ์ พฤษภาคม - สิงหาคม
เลขที่หน้า (Page) 276-288
ISSN ISSN 3027-7280 (Online)
DOI
ORCID_ID 0009-0004-8693-840X
ไฟล์บทความ https://mitij.mju.ac.th/ARTICLE/R68019H.pdf
  
เอกสารอ้างอิง 
  เกษศินี กุยวารี ธัญญารัตน์ คำบุญเรือง และธิดาภัทร อนุชาญ. (2568). การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่อจัดเก็บข้อมูลพรรณไม้ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม กรณีศึกษา โรงเรียนน้ำดิบวิทยาคม จังหวัดลำพูน. วารสารวิชาการเพื่อการพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่(JSID) 6(1): 55-63.
  ชนะชัย อวนวัง. (2563). ระบบสารสนเทศการจัดเก็บคลังพืชสมุนไพรบนแผนที่ออนไลน์ในพื้นที่สวนสมุนไพร 90 พรรษาพระบารมีปกเกล้า ประชารัฐร่วมใจถวายพ่อหลวง. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 17(76): 300-306.
  บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
  วันประชา นวนสร้อย สุภาวดี มากอ้น และวันดี นวนสร้อย. (2567). แอปพลิเคชันจัดการข้อมูลต้นไม้ในสวนพฤกษศาสตร์วรรณคดีภาคใต้โดยใช้คิวอาร์โค้ด. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย 16(2): 375-388.
  สุชาติ แสนพิช และพิสิษฐ์ ณัฎประเสริฐ. (2567). การพัฒนาโมเดล 3 มิติ ซากดึกดำบรรพ์ของไทยด้วยเทคนิคโฟโตแกรมเมทรี. วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม 10(4): 83-99.
  สุภักตร์ ปัญญา สมชาย อารยพิทยา และสนิท สิทธิ. (2562). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลพืชสมุนไพรกัญชง มหาวิทยาลัยแม่โจ้. วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม 5(1): 75-89.
  สำนักอุทยานแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย (Doi Suthep - Pui). ค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2568 ค้นจาก https://portal.dnp.go.th/Content/nationalpark?contentId =914.
  Arena, F., Collotta, M., Pau, G., and Termine, F. (2022). An Overview of Augmented Reality. Computers 11(2): 1-15.
  Likert, R. (1932). A Technique for the Measurement of Attitudes. Archives of Psychology 22(140): 1–55.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กลับสู่ เมนูค้นหา
       
กองบรรณาธิการวารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290  mitij@mju.ac.th