วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม 
Maejo Information Technology and Innovation Journal (MITIJ)
 ค้นหา | หน้าแรก   
 
 
 
» หน้าแรก
» ฉบับปัจจุบัน
» ฉบับย้อนหลัง
» ค้นหาวารสาร/บทความ
» ลงทะเบียน (OJS/PKP)
 

                               :: รายละเอียดบทความ ::
กลับสู่เมนูค้นหา 
ชื่อบทความ
การยอมรับการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ด้านการวินิจฉัยศัตรูพืชระดับพื้นที่ของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อบทความ(English)
Acceptance of E-Learning on Field Pest Diagnosis of Agricultural Extensionist, Department of Agricultural Extension
ประเภทบทความ
บทความวิจัย
ชื่อผู้แต่ง อภิญญา เย็นสบาย(1), สุพัตรา ศรีสุวรรณ(1*) และ ปรีดา สามงามยา(1) (Apinya Yensabai(1), Supattra Srisuwan(1*) and Preeda Samngamya(1))
หน่วยงาน ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(1) (Department of Agricultural Extension and Communication, Faculty of Agriculture, Kasetsart University(1)) *Corresponding author: agrstsw@ku.ac.th
ชื่อวารสาร วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ปีที่ 11 ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม 2568
บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยการใช้งานการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ด้านการวินิจฉัยศัตรูพืชระดับพื้นที่ 2) ศึกษาการยอมรับการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ด้านการวินิจฉัยศัตรูพืชระดับพื้นที่ 3) เปรียบเทียบการยอมรับการเรียนอิเล็กทรอนิกส์จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และจำแนกตามปัจจัยการใช้งานการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ด้านการวินิจฉัยศัตรูพืชระดับพื้นที่ที่แตกต่างกัน โดยนำแบบจำลองการยอมรับเทคโนโลยีของ Davis (1989) มาประยุกต์ใช้ในการศึกษา การยอมรับการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร จำนวน 223 คน ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่ายด้วยวิธีการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ระบบการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ หลักสูตรรายวิชาด้านการวินิจฉัยศัตรูพืชระดับพื้นที่ และแบบสอบถามออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่า t - test, F - test และ LSD

      ผลการวิจัย พบว่า 1) นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 38.96 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี อายุราชการเฉลี่ย 8.30 ปี มีประสบการณ์การใช้งานคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเฉลี่ย 16.14 ปี และมีระยะเวลาการใช้งานเฉลี่ย 6.79 ชั่วโมงต่อวัน มีประสบการณ์การใช้งานการเรียนอิเล็กทรอนิกส์เฉลี่ย 5.63 ปี มีระยะเวลาการใช้งานการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ด้านการวินิจฉัยศัตรูพืชระดับพื้นที่เฉลี่ย 1.47 ชั่วโมงต่อครั้ง ส่วนใหญ่มีการใช้งานการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่บ้านหรือที่พักอาศัย โดยใช้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก  2) นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรมีการยอมรับการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ด้านการวินิจฉัยศัตรูพืชระดับพื้นที่ในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.38  3) นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีการยอมรับการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ในด้านความตั้งใจในการใช้งานการเรียนอิเล็กทรอนิกส์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรที่มีประสบการณ์การใช้งานคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตแตกต่างกันมีการยอมรับการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ในด้านการรับรู้ประโยชน์ในการใช้งานการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ด้านความตั้งใจในการใช้งานการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ และในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สถานที่ในการใช้งานการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่แตกต่างกันมีการยอมรับการเรียนอิเล็กทรอนิกส์แตกต่างกันในด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้งานการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ด้านความตั้งใจในการใช้งานการเรียนอิเล็กทรอนิกส์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านการรับรู้ประโยชน์ในการใช้งานการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ และในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

 

คำสำคัญ การยอมรับ; การเรียนอิเล็กทรอนิกส์; การวินิจฉัยศัตรูพืชระดับพื้นที่; กรมส่งเสริมการเกษตร
ปี พ.ศ. 2568
ปีที่ (Vol.) 11
ฉบับที่ (No.) 3
เดือนที่พิมพ์ กันยายน - ธันวาคม
เลขที่หน้า (Page) 120-138
ISSN ISSN 3027-7280 (Online)
DOI
ORCID_ID 0009-0005-8488-6877
ไฟล์บทความ https://mitij.mju.ac.th/ARTICLE/R68026.pdf
  
เอกสารอ้างอิง 
  กรมส่งเสริมการเกษตร. (2566). การเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ กรมส่งเสริมการเกษตร. ค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2566 ค้นจาก https://e-learning.doae.go.th.
  กรมส่งเสริมการเกษตร. (2566). หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรมส่งเสริมการเกษตร. ค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2566 ค้นจาก https://www.doae.go.th/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/.
  ชีวรัตน์ ชัยสำโรง. (2562). การยอมรับเทคโนโลยีการเรียนภาษาผ่านแอปพลิเคชันออนไลน์ของ ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. ค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2566 ค้นจาก https://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2018/TU_2018_6002030259 _9845_9783.pdf.
  ประภัสรา เนียมรุ่ง. (2560). ปัจจัยความพร้อมของพนักงานและขององค์กรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ การใช้ e-Learning กรณีศึกษา ธนาคารกรุงเทพ (จำกัด) มหาชน. ค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2566 ค้นจาก https://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2017/TU_2017_5902036085 _7785_6873.pdf.
  มนัสนันท์ น้ำสมบูรณ์. (2566). การวิเคราะห์โปรไฟล์แฝงของการยอมรับการเรียนรู้ผ่านสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์. Journal of Roi Kaensarn Academi. 8(12): 272-289.
  วรางค์รัตน์ วัฒนพิศุทธ์. (2560). การยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการปฏิบัติงานของ ข้าราชการและลูกจ้าง กองการเจ้าหน้าที่ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคม ส่งเสริมการวิจัย. 8(2): 25-31.
  ศศิวิมล บุญประเสริฐ. (2562). แนวทางการพัฒนาการเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) กรมส่งเสริมการเกษตร สำหรับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร. (วิทยานิพนธ์ ปริญญา กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร)). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
  ศิริวรรณ หวังดี. (2561). ระบบการเรียนรู้ทางไกลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร. ค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2566 ค้นจาก http://library.doae.go.th/multimedia/68183_2.pdf.
  อัครเดช เกตุฉ่ำ. (2564). การทดสอบอิทธิพลกำกับของเพศต่อโมเดลการยอมรับการเรียนรู้ผ่านสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษา. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 13(2): 461 479.
  Davis, F.D. (1989). Perceived usefulness perceived ease of use and user acceptance of information technology. Management Information Systems Quarterly. 13(3): 319-339.
  Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper & Row.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กลับสู่ เมนูค้นหา
       
กองบรรณาธิการวารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290  mitij@mju.ac.th