วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม 
Maejo Information Technology and Innovation Journal (MITIJ)
 ค้นหา | หน้าแรก   
 
 
 
» หน้าแรก
» ฉบับปัจจุบัน
» ฉบับย้อนหลัง
» ค้นหาวารสาร/บทความ
» ลงทะเบียน (OJS/PKP)
 

                               :: รายละเอียดบทความ ::
กลับสู่เมนูค้นหา 
ชื่อบทความ
การพัฒนากรอบการวางแผนและดำเนินงาน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
ชื่อบทความ(English)
Development of a Framework for Planning and Implementation: School of Dentistry, University of Phayao
ประเภทบทความ
บทความวิชาการ
ชื่อผู้แต่ง ดวงใจ ใจกล้า(1), สุภาพร วงศ์แก้ว(1), ชวลิต ชนินทรสงขลา(1), เกวรินทร์ จันทร์ดำ(2) และ ปภาอร เขียวสีมา(1*) (Duangjai Jaikla(1), Supaporn Wongkaew(1), Chawalit Chanintonsongkhla(1), Kaewarin Jandum(2) and Paphaon Kheawseema(1*))
หน่วยงาน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา(1), คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา(2) (School of Dentistry, University of Phayao(1), School of Information and Communication Technology, University of Phayao(2)) * Corresponding author: paphaon.kh@up.ac.th
ชื่อวารสาร วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2569
บทคัดย่อ

      งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และกำหนดกรอบการวางแผนและดำเนินงานตามกรอบสถาปัตยกรรมองค์กรและเพื่อออกแบบพิมพ์เขียวองค์กร (Enterprise Blueprint) ของคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา โดยใช้ TOGAF Architecture Framework แบ่งการวิเคราะห์ออกเป็นด้านและทำการออกแบบพิมพ์เขียวองค์กร (Enterprise Blueprint) เพื่อให้เห็นภาพรวมขององค์กรและสามารถบริหารจัดการอย่างเป็นระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ นำมาใช้ในการสนับสนุนและการตัดสินใจของผู้บริหาร ผลการวิจัยพบว่า ด้านธุรกิจมีการกำหนดแผนงานและกระบวนการทางธุรกิจที่ชัดเจน โดยประกอบด้วยกระบวนการปฏิบัติงานตามพันธกิจหลักและกระบวนการสนับสนุนที่มีการกำหนดไว้อย่างเหมาะสม ด้านโปรแกรมมีการใช้ระบบงานจำนวน 11 โปรแกรมเพื่อสนับสนุนการวางแผนและดำเนินงานของคณะฯ และอีก 6 โปรแกรมในการจัดการบริหารภายในองค์กร ส่วนข้อมูลที่ใช้ในกระบวนการธุรกิจมีการจัดเก็บในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ข้อมูลด้านการวิจัย งบประมาณ ข้อมูลส่วนบุคคล และข้อมูลนักศึกษา ด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้รับการดูแลจากศูนย์บริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของมหาวิทยาลัย โดยประกอบด้วยระบบเครือข่ายศูนย์กลางและระบบให้บริการโครงสร้างพื้นฐานที่ครอบคลุมทุกหน่วยงานในมหาวิทยาลัย ข้อเสนอแนะจากผลการวิเคราะห์ ได้แก่ การนำสถาปัตยกรรมด้านธุรกิจไปใช้ในการวางแผนการบริหารจัดการบุคลากรและการพัฒนาศักยภาพการบริการ การนำสถาปัตยกรรมด้านข้อมูลในการวางแผนและพัฒนางานต่าง ๆ เช่น บุคลากร งานวิจัย และบริการวิชาการ การใช้สถาปัตยกรรมด้านโปรแกรมเพื่ออำนวยความสะดวกในกระบวนการทำงาน และการใช้สถาปัตยกรรมด้านเทคโนโลยีในการสนับสนุนการบริหารจัดการข้อมูลและโปรแกรมต่าง ๆ จากการศึกษาพบว่า พิมพ์เขียวองค์กรที่ได้สามารถนำมาใช้เพื่อยกระดับการดำเนินงานของหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น เกิดการบูรณาการด้านสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทำงาน และการวางแผนในการปฏิบัติงาน สร้างความเชื่อมโยงของกระบวนการปฏิบัติงานของหน่วยงาน ที่ได้กำหนดไว้และการวางแผนเพื่อพัฒนาในอนาคต อีกทั้งลดความซ้ำซ้อนด้านข้อมูลสารสนเทศกับระบบโปรแกรมประยุกต์ สนับสนุนการดำเนินงานต่าง ๆ

คำสำคัญ สถาปัตยกรรมองค์กร; พิมพ์เขียวองค์กร; มหาวิทยาลัยพะเยา
ปี พ.ศ. 2569
ปีที่ (Vol.) 12
ฉบับที่ (No.) 1
เดือนที่พิมพ์ มกราคม - เมษายน
เลขที่หน้า (Page) 24-46
ISSN ISSN 3027-7280 (Online)
DOI
ORCID_ID 0009-0000-5392-1151
ไฟล์บทความ https://mitij.mju.ac.th/ARTICLE/R69002.pdf
  
เอกสารอ้างอิง 
  กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2558) “นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT2020)”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://komchai27.blogspot.com/2015/04/ict2020.html.
  ชวนิตย์ ไพรีแกง และวรภัทร สุภาศักดิ์. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการนำสถาปัตยกรรมองค์กรไปใช้สำหรับองค์กรภาครัฐ. วารสารกิจการสื่อสารดิจิทัล. 5(5), 357-376. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBTC_Journal/article/view/251245
  ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี. (2567). Enterprise Architecture enables Digital Innovation. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.igpthai.org/wp-content/uploads/2021/06/001_EA_Workshop_v1069_DT.pdf
  พิชัย ไชยกุล และคณะ. (2566). การวิเคราะห์สถาปัตยกรรมองค์กร กรณีศึกษา กองคลัง มหาวิทยาลัยพะเยา. Journal of Information Science and Technology. 13(2): 50-61.
  ยืน ภู่วรวรรณ. Enterprise Architecture ของหน่วยงานภาครัฐความท้าทายเพื่อขับเคลื่อนไอทีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มาhttps://www.dga.or.th/upload/download/file_ebbb854ee09ff9092ab59bda288faedf.pdf.
  เสาวณี จันทร์รอด และโษฑศ์รัตต ธรรมบุษดี. (2560). การออกแบบและการประเมินพิมพ์เขียวสถาปัตยกรรมทางธุรกิจและสารสนเทศของระบบการออกใบอนุญาตประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิง. Veridian E-Journal, สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยศิลปากร. 4(3): 138-156.
  อรรณพ ตาคะนานันท์ และสมิทธิ ดารากร ณ อยุธยา. (2562). การออกแบบสถาปัตยกรรมองค์กรทางพระพุทธศาสนา. วารสารแสงอีสาน มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน. 16(2): 203-222.
  อดิสร ผลศุภรักษ์ และคณะ. (2524). การวิเคราะห์สถาปัตยกรรมองค์กร กองกลาง มหาวิทยาลัยพะเยาด้วยสถาปัตยกรรมองค์กร โทกาฟโมเดล. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 14(2): 528-544.
  Dian Fransiska, L. & Ardiyanto, D. (2024). Enterprise Architecture Model of the New Student Admission System at Stella Maris University Sumba. Journal of Applied Informatics and Computing (JAIC). 8(1): 30-38.
  Djarot, H., R. Eko, I,. & Erick, D. (2021). Sustainability of Implementing Enterprise Architecture in the Solar Power Generation Manufacturing Industry. Journal dan Penelitian Teknik Informatika. 6: 13-24.
  Djarot H. (2023). Application Of Customer Service Enterprise Architecture in The Transportation Industry. Journal of Computer Networks, Architecture and High-Performance Computing. 5: 682-692.
  Graeme, S., Marianne, G., & Ida, A. (2018). Achieving benefits with enterprise architecture. The Journal of Strategic Information Systems. 27, 1-2.
  Igor, V., Anastasia I, L., Alissa S, D., & Alain, A. (2021). Investment Models for Enterprise Architecture (EA) and IT Architecture Projects within the Open Innovation Concept. Journal of Open Innovation: Technology, Market, and Complexity. 7: 1-18.
  Ledi, D. F., & Dapadeda, A. (2024). Enterprise Architecture Model of the New Student Admission System at Stella Maris University Sumba. Journal of Applied Informatics and Computing. 8(1): 30-38.
  Martin, B., Raymond, S., & Marlies, S. (2019). How enterprise architecture improves the quality of IT investment decisions. Journal of Systems and Software. 152: 134-150.
  Nihayah, A., & Djarot, H., (2023). The Proposed Implementation of Enterprise Architecture in E-Government Development and Services. International Journal Software Engineering and Computer Science (IJSECS). 3: 219-229.
  Ross, J. W., Weill, P., & Robertson, D. (2006). Enterprise architecture as strategy: Creating a foundation for business execution. Harvard Business Review Press.
  TOGAF 9. (2009). TOGAF 9 For Partitioners (Level 1&2) Supporting Materials. The Open Group Architecture Framework. 10-11
  Yiwei, G., Jun, Y., & Xiaojie, S. (2020). Towards a comprehensive understanding of digital transformation in government: Analysis of flexibility and enterprise architecture. Government Information Quarterly. 37(3): 1-2.
  YiWei, G., & Marijn, J. (2021). Roles and Capabilities of Enterprise Architecture in Big Data Analytics Technology Adoption and Implementation. Journal of theoretical and applied electronic commerce research. 16(1): 37-51.
 
 
 
 
 
 
 
กลับสู่ เมนูค้นหา
       
กองบรรณาธิการวารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290  mitij@mju.ac.th