วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม 
Maejo Information Technology and Innovation Journal (MITIJ)
 ค้นหา | หน้าแรก   
 
 
 
» หน้าแรก
» ฉบับปัจจุบัน
» ฉบับย้อนหลัง
» ค้นหาวารสาร/บทความ
» ลงทะเบียน (OJS/PKP)
 

                               :: รายละเอียดบทความ ::
กลับสู่เมนูค้นหา 
ชื่อบทความ
การพัฒนาสื่อการเล่าเรื่องดิจิทัลด้วยโมชันกราฟิกเพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
ชื่อบทความ(English)
Development of Digital Storytelling Media with Motion Graphic to Enhance Media Literacy for Undergraduate Students in Educational Technology and Communications
ประเภทบทความ
บทความวิจัย
ชื่อผู้แต่ง ธิดารัตน์ กุลณัฐรวงศ์(1*) และ โอบเอื้อ ต่อสกุล(2)
หน่วยงาน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี(1*,2) (Faculty of Technical Education, Rajamangala University of Technology Thanyaburi(1*,2)) *Corresponding author: thidarat_c@rmutt.ac.th
ชื่อวารสาร วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2569
บทคัดย่อ

             งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อการเล่าเรื่องดิจิทัลด้วยโมชันกราฟิกเพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ที่มีต่อสื่อการเล่าเรื่องดิจิทัลด้วยโมชันกราฟิกเพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน  30 คน ในปีการศึกษา 2566 โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) สื่อการเล่าเรื่องดิจิทัลด้วยโมชันกราฟิกเพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา 2) แบบประเมินคุณภาพด้านเนื้อหา 3) แบบประเมินคุณภาพด้านสื่อ และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สื่อการเล่าเรื่องดิจิทัลด้วยโมชันกราฟิกเพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มีคุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดีมาก (=3.57, SD = 0.29) มีคุณภาพด้านสื่ออยู่ในระดับดี (=3.43, SD = 0.35) และ 2) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อสื่อการเล่าเรื่องดิจิทัลด้วยโมชันกราฟิกเพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่ออยู่ในระดับมากที่สุด (=3.74, SD = 0.49)

คำสำคัญ สื่อดิจิทัล; การเล่าเรื่องดิจิทัล; โมชันกราฟิก; การรู้เท่าทันสื่อ
ปี พ.ศ. 2569
ปีที่ (Vol.) 12
ฉบับที่ (No.) 1
เดือนที่พิมพ์ มกราคม - เมษายน
เลขที่หน้า (Page) 42-61
ISSN ISSN 3027-7280 (Online)
DOI
ORCID_ID 0009-0000-2292-7665
ไฟล์บทความ https://mitij.mju.ac.th/ARTICLE/R69003.pdf
  
เอกสารอ้างอิง 
  กิ่งกาญจน์ สุพรศิริสินและคณะ. (2563). ประสิทธิผลของสื่อดิจิทัลเพื่อการเล่าเรื่องผ่านภาพที่มีต่อ แรงจูงใจของผู้เรียนและความสามารถด้านภาษาอังกฤษ. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัย สวนดุสิต 16(1): 131-145.
  ชนกพร ยอดดี และกรวิภา สรรพกิจจำนง. (2565). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง ลักษณะทางกายภาพของจังหวัดของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างการสอนด้วยบทเรียนโมชันกราฟิกชุดท่องแดนมหัศจรรย์ กับการสอนแบบปกติ. Journal of Modern Learning Development 7(10): 172-183.
  ชัยรัตน์ ทับบุรี. (2560). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้โมชันกราฟิกบนเทคโนโลยีประมวลผลบน กลุ่มเมฆ เรื่อง สาระควรรู้ในการศึกษาในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ. (วิทยานิพนธ์ปริญญา คอ.ม. (เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์)). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
  ฉัตรพงศ์ ชูแสงนิล. (2564). การรู้เท่าทันสื่อ. ค้นเมื่อ 14 มกราคม 2566 ค้นจาก https://www.scimath.org/article-technology/item/11534-2020-05-01-03-32-41.
  ธาดา จันตะคุณ. (2561). สภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบดื่มด่ำเสมือนจริงด้วยการเล่าเรื่องดิจิทัล เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เชิงลึกของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญา ปร.ด. (เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา)). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
  ณัฏฐกาญน์ ศุกลรัตนเมธี และนุชประภา โมกข์ศาสตร์. (2562). การรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ ของเยาวชนเพื่อการเป็นพลเมืองในสังคมประชาธิปไตย. สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบัน พระปกเกล้า. ค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2565 ค้นจาก https://www.kpi.ac.th/knowledge/research/data/380.
  พรพิหค พูนใจสม. (2562). การใช้กิจกรรมเล่านิทานเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการฟังภาษา อังกฤษของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย 10(10): 147-165.
  บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
  ภัทรี ภัทรโสภสกุล. (2561). การเล่าเรื่องโดยใช้สื่อดิจิทัล (Digital Storytelling) ในการรายงาน ข่าวภัยพิบัติของสำนักข่าว CNN. (วิทยานิพนธ์ปริญญา นศ.ม. (นิเทศศาสตร์)). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
  ภานุชนาฎ นรินทร์. (2564). การพัฒนาสื่อโมชันกราฟิกร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะเพื่อ เสริมศักยภาพการเรียนรู้ รายวิชาสังคมศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญา คอ.ม. (คอมพิวเตอร์ศึกษา)). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
  ราตรี เอี่ยมประดิษฐ์ และคณะ. (2565). การพัฒนาสื่อโมชันกราฟิกส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัด อ่างทอง. รายงานวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา วาสุกรี.
  ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์เพื่อสุขภาวะ. (2563). 10 วิธีรู้ให้เท่าทันสื่อ. ค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2565 ค้นจาก https://m.facebook.com/AntiFakeNewsCenter/posts/396054915162021.
  ศิริโสภา แสนบุญเวช และคณะ. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยการเล่าเรื่องผ่านสื่อ ดิจิทัลเพื่อพัฒนาการออกเสียงภาษาอังกฤษและความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับ ปริญญาตรี. สักทอง : วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.) 26(2): 193-208.
  สุชีรา พระมาลา และรุจเรข อัศวจิตต์ภักดี. (2559). การวิเคราะห์ประเภท รูปแบบ เนื้อหา และการ ใช้สื่อออนไลน์ของผู้ใช้ กรณีศึกษา : มหาวิทยาลัยราชธานี. การประชุมวิชาการและเสนอ ผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 วิทยาลัยนครราชสีมา. 17 มิถุนายน 2559. pp.453-460.
  สุภาพรรณ อนุตรกุล. (2564). ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital literacy). ค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2565 ค้นจาก https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1246&fbclid=IwAR2OKfpScV7QGvE 7w15xtDYpuMlihc7GbwSyU_EsIM-IO1HCRzyIssaPt10.
  สาธิต กานต์กนกกร. (2564). การพัฒนาสื่อการสอนออนไลน์ เรื่อง การเล่าเรื่องกิจกรรมภายใน องค์กรผ่านสื่อดิจิทัลของพนักงาน กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีตั้งตรงจิตรพณิชยการ. (วิทยานิพนธ์ปริญญา คอ.ม. (เทคโนโลยีการเรียนรู้และสื่อสารมวลชน)). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
  สภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรม 20 ปี (พ.ศ.2560-2579). กรุงเทพฯ: บริษัท โคคูน แอนด์ โค จำกัด.
  สภาองค์กรของผู้บริโภค. (2565). คนใต้ ‘กว่าครึ่ง’ พบปัญหาซื้อของออนไลน์. ค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2566 ค้นจาก https://www.tcc.or.th/onlineshopping-survey.
  Bull, G. and Kajder, S. (2004). Digital Storytelling: in the Language Arts Classroom. Learning and Leading with Technology. International Society for Technology in Education. 32(4): pp 46-49.
  Robin, B. (2006). The Educational Uses of Digital Storytelling. In C. Crawford, R. Carlsen, K. McFerrin, J. Price, R. Weber & D. Willis (Eds.), Proceedings of SITE 2006--Society for Information Technology & Teacher Education International Conference. pp. 709-716.
 
 
 
 
 
 
 
กลับสู่ เมนูค้นหา
       
กองบรรณาธิการวารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290  mitij@mju.ac.th