วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม 
Maejo Information Technology and Innovation Journal (MITIJ)
 ค้นหา | หน้าแรก   
 
 
 
» หน้าแรก
» ฉบับปัจจุบัน
» ฉบับย้อนหลัง
» ค้นหาวารสาร/บทความ
» ลงทะเบียน (OJS/PKP)
 

                               :: รายละเอียดบทความ ::
กลับสู่เมนูค้นหา 
ชื่อบทความ
การพัฒนาระบบ Chatbot สำหรับการจัดการข้อมูลการจัดฝึกอบรมด้านอาชีพของศูนย์วงเดือน อาคมสุรทัณฑ์
ชื่อบทความ(English)
Development of a Chatbot system for data management about occupation training of Wongduean ArkhomSuratun center
ประเภทบทความ
บทความวิจัย
ชื่อผู้แต่ง ชวัลพัชร เพียรกสิกรรม(1) และ สัญญา เครือหงษ์(1*) (Chawanpat Peankasikam(1) and Sanya Khruahong(1*))
หน่วยงาน หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาลัยนเรศวร (1) (Information Technology Course Department of Computer Science and Information Technology Faculty of Science, Naresuan University(1)) *Corresponding author: sanyak@nu.ac.th
ชื่อวารสาร วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2569
บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มุ่งพัฒนาและประเมินระบบ Chatbot เพื่อใช้ในการสื่อสารข้อมูลการจัดฝึกอบรม  ด้านอาชีพของศูนย์วงเดือน อาคมสุรทัณฑ์ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับการฝึกอบรม อาทิ รายละเอียดหลักสูตร วิธีการสมัคร และคำถามเกี่ยวกับการเข้าร่วมอบรม ระบบ Chatbot ถูกพัฒนาด้วยเทคโนโลยี AI for Thai ที่รองรับการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing NLP)      โดยใช้ภาษา Python หรือ JavaScript ข้อมูลเกี่ยวกับการฝึกอบรมจะถูกจัดเก็บในฐานข้อมูล MySQL เพื่อให้สามารถดึงข้อมูลได้ทันทีและมีความแม่นยำ ระบบ Chatbot จะทำงานโดยการตอบคำถามจากผู้ใช้ในลักษณะข้อความ โดยสามารถให้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบันและถูกต้องเกี่ยวกับการฝึกอบรม เช่น วันเวลาการอบรม            จำนวนที่นั่งว่าง และขั้นตอนการสมัคร นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์การแจ้งเตือนเมื่อมีการเปิดรับสมัครฝึกอบรมหรือข้อมูลสำคัญเปลี่ยนแปลง รวมทั้งสามารถทำงานอัตโนมัติในการตอบคำถามที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ                   ซึ่งช่วยลดภาระงานของเจ้าหน้าที่ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารงาน     ศูนย์วงเดือน อาคมสุรทัณฑ์ จำนวน 500 คน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้มาจากการเลือกสุ่มอย่างง่าย (Sampling Random) จำนวน 5 กลุ่ม นำมาเทียบเคียงตารางของ Krejcie & Morgan ได้กลุ่มตัวอย่าง 217 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

            ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบจากผู้ใช้งาน พบว่า ผู้ใช้มีความพึงพอใจในประสิทธิภาพของระบบ Chatbot โดยประเมินในระดับดีมาก (= 4.87, S.D.= 0.69) และมีความคิดเห็นในเชิงบวกเกี่ยวกับความสะดวกสบายในการเข้าถึงข้อมูลและความเร็วในการตอบคำถาม โดยเฉพาะในกรณีที่ต้องการข้อมูลด่วน ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า ระบบ Chatbot ที่พัฒนาขึ้นสามารถให้บริการข้อมูลการฝึกอบรมได้อย่างมีประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้อย่างดีเยี่ยม ซึ่งเหมาะสมสำหรับการนำไปใช้ในศูนย์ฝึกอบรมอาชีพหรือหน่วยงานที่ต้องการการสื่อสารข้อมูลแบบอัตโนมัติ

คำสำคัญ ระบบ Chatbot; การสื่อสารข้อมูล; การฝึกอบรมด้านอาชีพ; ศูนย์วงเดือน อาคมสุรทัณฑ์; เทคโนโลยีการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (NLP)
ปี พ.ศ. 2569
ปีที่ (Vol.) 12
ฉบับที่ (No.) 1
เดือนที่พิมพ์ มกราคม - เมษายน
เลขที่หน้า (Page) 60-79
ISSN ISSN 3027-7280 (Online)
DOI
ORCID_ID 0000-0001-8332-7559
ไฟล์บทความ https://mitij.mju.ac.th/ARTICLE/R69004.pdf
  
เอกสารอ้างอิง 
  ณภัทร ไชยพราหมณ์, ณัฐวุฒิ ทุมนัต และชูพันธุ์ รัตนโภคา. (2563). ระบบตอบกลับและแจ้งข้อมูล ทางการศึกษาผ่านไลน์บอท. วารสารวิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ 10(2).59-70.
  ณัฐวุฒิ พงศ์สิริ. (2563). ผู้นำในยุค Digital economy. HR Society Magazine,15,172(เม.ย.2563) 20-23.
  บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
  วสุ บัวแก้ว และปณิธิ เนตินันทน์. (2563). การพัฒนาระบบ Line Bot สำหรับบัณฑิตวิทยาลัย. ในการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 15 ปีการศึกษา 2563 (หน้า 2406-2413). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิตม บัณฑิตวิทยาลัย.
  ศรัณย์ศิริ คัมภิรานนท์. (2562). AI เทคโนโลยอนาคตของประเทศไทย (Artificial Intelligence in Thailand). กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.
  อุทัยวรรณ โพธิ์กระจ่าง. (2564). การประเมินโครงการฝึกอบรมอาชีของศูนย์วงเดือนอาคม สุรทัณฑ์ ศูนย์ฝึกอาชีพราษฎรตามพระราชดำริ จังหวัดอุทัยธานี ประจำปีงบประมาณ 2563 อุทัยธานี: สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ.
  Kankann. (2020, July 8). What is Chatbot? How many types of Chatbot are useful?. Retrieved from https://tips.thaiware.com/1323.html. [In Thai]
  Menell, P. S. (2016). API copyrightability bleak house: Unraveling and repairing the Oracle v. Google jurisdictional mess. Berkeley Tech. LJ, 31, 1515.
  PCmag. (2016). chatbot Definition from PC Magazine Encyclopedia. Retrieved from http://www.pcmag.com/encyclopedia/term/64353/chatbo.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กลับสู่ เมนูค้นหา
       
กองบรรณาธิการวารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290  mitij@mju.ac.th