วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม 
Maejo Information Technology and Innovation Journal (MITIJ)
 ค้นหา | หน้าแรก   
 
 
 
» หน้าแรก
» ฉบับปัจจุบัน
» ฉบับย้อนหลัง
» ค้นหาวารสาร/บทความ
» ลงทะเบียน (OJS/PKP)
 

                               :: รายละเอียดบทความ ::
กลับสู่เมนูค้นหา 
ชื่อบทความ
ความต้องการฐานข้อมูลเพื่อการพัฒนาระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์พื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา
ชื่อบทความ(English)
Database Demand for Database System of Sakaerat Biosphere Reserve, Nakhon Ratchasima Province
ประเภทบทความ
บทความวิชาการ
ชื่อผู้แต่ง นิธินา แก้วทองคำ(1*), ปภาวรินท์ รื่นปาน(1), สุรชิต แวงโสธรณ์(1), กนกทิพย์ สมศิริ(2), พราววิไล แสงสุกวาว(1), วีระ ชาติจันทึก(3) และ กุลธิดา เมืองคำ(2) (Nithina Kaewtongkum(1*), Paphawarin Ruenpan(1), Surachit Waengsothorn(1), Kanoktip Somsiri(2), Prowvilai Sangsookwaw(1), Weera Chatjantuek(3) and Kullatida Muangkhum(2))
หน่วยงาน สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช (สสส.)(1), ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมพลังงานสะอาดและสิ่งแวดล้อม (ศนพ.)(2), กองพัฒนาระบบดิจิทัล (กพท.)(3) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) (Sakaerat Environmental Research Station (SERS)(1), Expert Centre of Innovative Clean Energy and Environment (InnoEN)(2), Digital System Development Division (DSD)(3), Thailand Institute of Scientific and Technological Research (TISTR)) *Corresponding author: nithina@tistr.or.th
ชื่อวารสาร วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม 2569
บทคัดย่อ

        งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและวิเคราะห์ความต้องการระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของพื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราช เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถามคำถามปลายเปิดในระบบออนไลน์และการประชุมระดมความคิด มีผู้ตอบแบบสอบถาม 423 คน แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์และนักวิจัย และประชาชนทั่วไป คำตอบจากแบบสอบถามถูกนำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาโดยการกำหนดคำสำคัญเพื่อหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าคะแนนความสำคัญด้วยวิธีวิเคราะห์การตัดสินใจแบบถ่วงน้ำหนัก (Pugh matrix analysis: PMA) ผลความต้องการฐานข้อมูลจากค่าคะแนนความสำคัญสูงสุดแต่ละด้าน ดังนี้ ด้านกายภาพ คือ ขนาดพื้นที่ ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ คือ บัญชีรายชื่อสิ่งมีชีวิตและอนุกรมวิธาน ด้านอุตุนิยมวิทยา คือ พยากรณ์อากาศรายวัน ด้านนักวิจัยและงานวิจัย คือ ความเชี่ยวชาญของนักวิจัย หัวข้องานวิจัย ชื่อ-สกุลนักวิจัย และด้านค่ายวิทยาศาสตร์ฯ คือ พันธกิจและรายละเอียดกิจกรรม เส้นทางการเดินทาง โดยรูปแบบการนำเสนอที่ต้องการมากที่สุดคือรูปภาพและวิดีโอ ในขณะที่ข้อมูลอุตุนิยมวิทยาและผลงานวิจัยกลุ่มตัวอย่างต้องการไฟล์ข้อมูลเพิ่มเติม ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปออกแบบและพัฒนาระบบฐานข้อมูลพื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราชได้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน

คำสำคัญ สำรวจความต้องการ; ระบบฐานข้อมูล; พื้นที่สงวนชีวมณฑล
ปี พ.ศ. 2569
ปีที่ (Vol.) 12
ฉบับที่ (No.) 2
เดือนที่พิมพ์ พฤษภาคม - สิงหาคม
เลขที่หน้า (Page) 1-13
ISSN ISSN 3027-7280 (Online)
DOI
ORCID_ID 0009-0001-8782-3055
ไฟล์บทความ https://mitij.mju.ac.th/ARTICLE/R69010.pdf
  
เอกสารอ้างอิง 
  กัญญ์สิริ จันทร์เจริญ. (2552). การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง. ใน ประกาย จิโรจน์กุล (บรรณาธิการ). การวิจัยทางการพยาบาล:แนวคิด หลักการ และวิธีปฏิบัติ (หน้า 85-114). สถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.
  คัดคณัฐ ชื่นวงศ์อรุณ และณภัทรดนัย. (2565). สัตว์แต่ละชนิดย่อมมีพฤติกรรมที่แสดงออกแตกต่างกันออกไป โดยมีปัจจัยต่างๆ เป็นสิ่งเร้า การศึกษา พฤติกรรมของสัตว์ จึงเป็นการศึกษาที่ต้องอาศัยการสังเกตและเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่อง. พฤติกรรมของสัตว์. NATIONAL GEOGRAPHIC ฉบับภาษาไทย [เว็บบล็อก]. ค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2567 ค้นจาก https://ngthai.com/science/43413/animal-behavior/.
  จรณิต แก้วกังวาล. (2536). การออกแบบและจัดการฐานข้อมูล. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
  จำเนียร จวงตระกูล และ นวัสนันท์ วงศ์ประสิทธิ์. (2562). การวิเคราะห์เนื้อหาในการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพ. สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย 2(2): 1-14.
  จิติมนต์ อั่งสกุล. (2555). การออกแบบและพัฒนาตัวแทนอัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย. (รายงานการวิจัย). สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ, สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
  จุฑามาศ ศรีปัญญา และ นิศารัตน์ ตั้งไพโรจน์วงศ์. (2559). ความหลากชนิดของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินในห้วยหญ้าเครือและห้วยพรมแล้ง อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 18(1): 60-74.
  ชาย โพธิสิตา (ผู้แต่ง). (2554). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งฯ.
  ชโนภาส ชนลักษณ์ดาว, วฤชา ประจงศักดิ์, รัศมี แสงศิริมงคลยิ่ง และ ธัชชา รัมมะศักดิ์. (2567). สถานการณ์ความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2566. Journal of Roi Kaensarn Academi 9(6): 1068-1086.
  เชิดศักดิ์ ทัพใหญ่. (2551). การศึกษาทางอนุกรมวิธานของพืชวงศ์กระดังงา บริเวณสถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าพิษณุโลก อ. วังทอง จ. พิษณุโลก. (รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์). ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
  ฐาปนี เลขาพันธ์. (2564). ความต้องการสารสนเทศดิจิทัลของผู้ใช้บริการ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารบรรณศาสตร์ 14(1): 64-77.
  ดาริกา เชื้อสมัน. (2563). ความต้องการใช้หนังสือฉบับพิมพ์และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของผู้ใช้บริการในเครือข่ายห้องสมุดแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล. ค้นจาก https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/60707.
  ธญา ตันติวราภา. (2561). การใช้และความต้องการใช้ฐานข้อมูลเอกสารฉบับเต็มในรูปอิเล็กทรอนิกส์ (Thai Digital Collection : TDC) ของนักศึกษาบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พ.ศ. 2560.
  นัทนิชา หาสุนทรี. (2564). การจัดการตลาด Marketing Management (MPP 5607). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. ค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2567 ค้นจากhttps://elcpg.ssru.ac.th/natnicha_ha/pluginfile.php/26/block_html/content/MPP5607%20(1%20and%202)%201_64.pdf.
  พงศ์เทพ สุวรรณวารี. (2556). ความหลากหลายของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม นก สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก และปลา ในพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืช อพ.สธ. เขื่อนน้ำพุง จังหวัดสกลนคร. (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
  พัณณิตา นันทะกาล. (2560). ความต้องการพัฒนาฐานข้อมูลเอกสารจดหมายเหตุ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. วารสารวิชาการ มนุษย์และสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. 1(1): 112-125.
  พินิจนันท์ เนื่องจากอวน, กันตพัฒน์ กิตติอัชวาลย์, ทวีศักดิ์ ขวัญไตรรงค์, วันวิสาข์ ลิจ้วน, และ อาทิตย์ เนื่องอุดม. (2566). แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบฐานสมรรถนะเชิงรุก : สภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการของครูวิทยาศาสตร์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 19(1): 59-67.
  ศุภฤกษ์ โออินทร์, สมคิด ภูมิโคกรักษ์, อภิเศก ปั้นสุวรรณ, ยงยุทธ วิถีไตรรงค์, คมสัน คีรีวงศ์วัฒนา, อาคีรัต อับดุลกาเดร์, ... อริศา จิระศิริโชติ. (2566). แนวทางการพัฒนาฐานข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของจังหวัดสมุทรสงคราม. Journal of Arts and Thai Studies 45(3): 1-12.
  สิทธิ์ ธีรสรณ์. (2555). จากงานวิจัยสู่บทความทางวิชาการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  สุกัญชลิกา บุญมาธรรม. (2563). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลปัญหาและความต้องการของชุมชนในจังหวัดเพชรบุรีกรณีศึกษาอำเภอบ้านลาด (บ้านลาดโมเดล). วารสารวิชาการนวัตกรรมการจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 7(1): 51-62.
  อังคณา จัตตามาศ และ อัชฌาพร กว้างสวาสดิ์. (2560). การพัฒนาแอปพลิเคชันด้วยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อใช้ค้นหาเส้นทางที่เหมาะสมสำหรับแหล่งท่องเที่ยวชุมชนในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. นิพนธ์ต้นฉบับ 37(3): 431-438.
  อาภรณ์ รับไซ. (2560). ภูมิปัญญาชาวบ้านกับความหลากหลายทางชีวภาพ. คลังความรู้ SciMath [เว็ปไซต์]. ค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2567 ค้นจาก https://www.scimath.org/lesson-biology/item/7051-2017-05-23-14-19-46.
  อุทุมพร จามรมาน. (2544). การวิจัยของครู. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  Brookhart, S. M. (1999). The Art and Science of Classroom Assessment: The Missing Part of Pedagogy. 27(1). Washington, D.C.: ERIC Publications.
  Cervone, H. F. (2009). Applied digital library project management: Using Pugh matrix analysis in complex decision-making situations. OCLC Systems & Services: International digital library perspectives 25(4), 228-232. DOI: 10.1108/10650750911001815.
  Cochran, W. G. (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons. Inc.
  Jaisuk, T. and Thawesaengskulthai, N. (2018). Inventive problem solving for automotive part defective reduction. In Proceedings of the 2nd International Conference on High Performance Compilation, Computing and Communications 106-111.
  Miles, M. and Huberman, A. M. (1994). Qualitative Data Analysis: An Expanded Sourcebook (2nd ed.). Thousand Oaks, California: SAGE Publications Inc.
กลับสู่ เมนูค้นหา
       
กองบรรณาธิการวารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290  mitij@mju.ac.th