วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม 
Maejo Information Technology and Innovation Journal (MITIJ)
 ค้นหา | หน้าแรก   
 
 
 
» หน้าแรก
» ฉบับปัจจุบัน
» ฉบับย้อนหลัง
» ค้นหาวารสาร/บทความ
» ลงทะเบียน (OJS/PKP)
 

                               :: รายละเอียดบทความ ::
กลับสู่เมนูค้นหา 
ชื่อบทความ
การพัฒนาระบบธุรกิจอัจฉริยะเพื่อสนับสนุนระบบเกษตรนาแปลงใหญ่ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในเขตภาคเหนือตอนบน
ชื่อผู้แต่ง สมชาย อารยพิทยา(1*) และ นนท์ ปิ่นเงิน(2) (Somchai Arayapitaya(1*) and Non Pinngern (2))
หน่วยงาน กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้(1) คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้(2) (Technology Digital Division, Office of University, Maejo University(1) Faculty of Business Administration, Maejo University(2)) *Corresponding author: somchai@mju.ac.th
ชื่อวารสาร วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2566
บทคัดย่อ

         บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบธุรกิจอัจฉริยะสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับระบบเกษตรนาแปลงใหญ่ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในเขตภาคเหนือตอนบน เพื่อใช้ในการช่วยตัดสินใจแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการทำนาแปลงใหญ่ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร มีการพัฒนาในรูปแบบของเว็บแอพพลิเคชั่น โดยใช้เทคนิคการประมวลผลในเชิงวิเคราะห์แบบออนไลน์ มีการสกัด  แปลงรูปแบบและนำไปบันทึกในคลังข้อมูล เพื่อให้สามารถนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของแดชบอร์ดและมีการแสดงผลข้อมูลแบบเจาะลึกเฉพาะส่วนโดยการใช้ลูกบาศก์ข้อมูลในประเด็นสำคัญที่ใช้ในการตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ได้แก่ ราคาตลาด ผลผลิต ต้นทุนการผลิต การเก็บเกี่ยว ปัจจัยการผลิต เทคนิคการเพาะปลูก แหล่งทรัพยากรในชุมชน สภาพอากาศในแต่ละพื้นที่ เป็นต้น ได้ทำการประเมินความพึงพอใจของระบบ จากผู้ใช้บริการด้วยวิธีการทางสถิติตามมาตรวัดของลิเคิร์ท (Likert Rating Scale) โดยใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลจากเกษตรกร จำนวน 5 คน เจ้าหน้าที่และนักวิชาการเกษตร จำนวน 6 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบคอมพิวเตอร์ จำนวน 15 คน นักศึกษาหลักสูตรพืชไร่ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวน 29 คน และ ผู้ใช้งานทั่วไป จำนวน 25 คน ทำการประเมินความพึงพอใจของระบบจากผู้ใช้บริการจากตัวแทนผู้ใช้ในกลุ่มต่าง ๆ จำนวนทั้งสิ้น 80 คน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ใช้มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก แสดงให้เห็นว่า การพัฒนาระบบธุรกิจอัจฉริยะเพื่อสนับสนุนระบบเกษตรนาแปลงใหญ่ของเกษตรกร ผู้ปลูกข้าวในเขตภาคเหนือตอนบน สามารถนำไปใช้เพื่อช่วยสนับสนุนการตัดสินใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คำสำคัญ คลังข้อมูล, ระบบธุรกิจอัจฉริยะ, ระบบเกษตรนาแปลงใหญ่, ข้าว, พืชไร่
ปี พ.ศ. 2556
ปีที่ (Vol.) 9
ฉบับที่ (No.) 2
เดือนที่พิมพ์ กรกฎาคม - ธันวาคม
เลขที่หน้า (Page) 83-104
ISSN ISSN 3027-7280 (Online)
DOI 10.14456/mitij.2023.11
ORCID iD 0009-0007-5009-1106
ไฟล์บทความ https://mitij.mju.ac.th/ARTICLE/R66016.pdf
  
เอกสารอ้างอิง 
  กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2560. รายงานสถานการณ์ข้าวในประเทศ และ ต่างประเทศ ปี 59 และ ปี 60. จาก http://www.ricethailand.go.th/rice_report/index.php/2016-12-14-03-24-45 [10 สิงหาคม 2563].
  กุสุมา สีดาเพ็ง. 2560. การวิเคราะห์ความเคลื่อนไหวของอุตสาหกรรมในจังหวัดเชียงใหม่ตาม หลักการของระบบธุรกิจอัจฉริยะ. จาก http://www.chefile.cmru.ac.th/curriculum/2560/manage/manage_curriculum6/SAR4/KPI4.2/4.2-3-5.pdf [12 พฤษภาคม 2566].
  ฉัตร ชูชื่น. 2565. การพัฒนาระบบแสดงข้อมูลผลการดำเนินงานกลุ่มธุรกิจเกษตรรุ่นใหม่ จังหวัด ลำพูน โดยใช้แนวคิดระบบธุรกิจอัจฉริยะ. วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและ นวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 8(2): 66-86.
  บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้นฉบับปรับปรุงใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 9 กรุงเทพ ฯ: สุวีริยาสาสน์.
  บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน). 2559. “เกษตรแปลงใหญ่” จุดเปลี่ยนสู่ความเข้มแข็งของชาวนาไทย. จาก https://www.technologychaoban.com/marketing/article_6681 [12 พฤษภาคม 2566].
  ปัทมา เที่ยงสมบุญ และนิเวศ จิระวิชิตชัย. 2561. การพัฒนาระบบธุรกิจอัจฉริยะเพื่อสนับสนุนการ พยากรณ์และการตัดสินใจของผู้บริหาร กรณีศึกษากลุ่มโรงพยาบาล. จาก https://ph01.tci- thaijo.org/index.php/VESTSU/article/view/148906 [16 มกราคม 2564].
  พิพัฒน์ เกียรติ์กมลรัตน์. 2560. ระบบธุรกิจอัจฉริยะเพื่อสนับสนุนงานขายของผู้บริหาร. จาก http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5124 [24 กรกฏาคม 2566].
  พีระพงษ์ พิพัฒน์เจษฎากุล และ เอื้อน ปิ่นเงิน. 2562. การพัฒนาระบบธุรกิจอัจฉริยะเพื่อสนับสนุน งานจำหน่ายไฟฟ้า. จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project- journal/article/download/204706/158462/ [16 มกราคม 2564].
  ระวีวรรณ แก้ววิทย์ และ ศรีสมบัติ แวงชิน. 2554. การพัฒนาธุรกิจอัจฉริยะด้วยคลังข้อมูล. จาก http://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/jan_mar_11/pdf/aw22.pdf [25 กรกฎาคม 2566].
  วารุณี แต้มคู และกฤษณะ ไวยมัย. 2560. ชุดเครื่องมือโอเพนซอร์สระบบธุรกิจอัจฉริยะสำหรับ ธุรกิจการศึกษา. จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project- journal/article/download/204706/158462/ [16 มกราคม 2564].
  สมชาย ชาญณรงค์กุล. 2559. ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่. จาก https://www.moac.go.th/article_attach/4_27Feb58).pdf [7 สิงหาคม 2566].
  สมชาย อารยพิทยา. 2565. การพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับระบบเกษตรนาแปลง ใหญ่ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในเขตภาคเหนือตอนบน. วารสารวิชาการสถาบันการ อาชีวศึกษาภาคใต้ 1 7(1): 71-81.
  อารีย์ เชื้อเมืองพาน และคณะ. 2563. การพัฒนาระบบเกษตรนาแปลงใหญ่เพื่อเพิ่มขีด ความสามารถการแข่งขันของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน. รายงานผลการวิจัย. มหาวิทยาลัยแม่โจ้. เชียงใหม่.
  Bogdan Mohor Dumitrita. 2011. BUSINESS INTELLIGENCE. Retrieved July 24, 2023 from http://jisom.rau.ro/Jisom_pdf/JISOMVol5No1.pdf#page=175.
  Per Westerlund. 2008. Business Intelligence: Multidimensional Data Analysis. Retrieved July 15, 2020 Available from: https://www.diva- portal.org/smash/get/diva2:1137039/FULLTEXT01.pdf
  TOBIAS HULTGREN and ROBERT JERNBERG. 2013. Flexible Data Extraction for Analysis using Multidimensional Databases and OLAP Cubes. Retrieved July 15, 2020 Available from: https://www.diva-portal.org/smash/get/diva2:628562/fulltext01.pdf
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กลับสู่ หน้าจอหลัก
       
กองบรรณาธิการวารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290  mitij@mju.ac.th