วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม 
Maejo Information Technology and Innovation Journal (MITIJ)
 ค้นหา | หน้าแรก   
 
 
 
» หน้าแรก
» ฉบับปัจจุบัน
» ฉบับย้อนหลัง
» ค้นหาวารสาร/บทความ
» ลงทะเบียน (OJS/PKP)
 

                               :: รายละเอียดบทความ ::
กลับสู่เมนูค้นหา 
ชื่อบทความ
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
ชื่อผู้แต่ง อภิรดี มวลคำลา และ เยาวเรศ จันทะคัต (Apiradee Muankhamla and Yaowaret Jantakat)
หน่วยงาน สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (Applied Information and Communication Technology, Faculty of Sciences and Liberal Arts, Rajamangala University of Technology ISAN)
ชื่อวารสาร วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2563
บทคัดย่อ

           วัตถุประสงค์ของบทความนี้เพื่อศึกษาหาแนวทางการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา สำหรับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร.อีสาน) ในการศึกษานี้การพัฒนาระบบบสารสนเทศนี้จะพัฒนาโดยหลักการวงจรพัฒนาระบบสารสนเทศด้วยแบบจำลองการสร้างโปรแกรมต้นแบบอย่างรวดเร็ว เพราะผู้พัฒนาระบบนี้มีประสบการณ์ของการจัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาเป็นอย่างดี รวมถึงการทราบปัญหาและความต้องการของผู้ใช้งานในระบบด้วย ดังนั้นการพัฒนาระบบสารสนเทศนี้ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ (1) การสร้างโปรแกรมต้นแบบ (2) การออกแบบระบบ (3) การพัฒนาระบบ และ (4) การนำไปใช้และการบำรุงรักษาระบบ ทั้งนี้เพื่อให้ได้ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา สำหรับมทร.อีสาน และใช้ในการเชื่อมโยงระหว่างนักศึกษาที่มีความประสงค์จะขอกู้ยืม อาจารย์ที่ปรึกษา เจ้าหน้าที่แผนกกองทุน คณะกรรมการพิจารณาทุน และผู้บริหาร ได้อย่างรวดเร็วขึ้นทุกขั้นตอนของการดำเนินงานของผู้ใช้งานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการไหลของข้อมูลและสารสนเทศจะช่วยให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง และการรับข่าวสารที่รวดเร็ว และการรายงานผลอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อใช้ในการทำสัญญารับทุนและส่งต่อให้ธนาคารดำเนินการต่อไป            

คำสำคัญ การกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา, การพัฒนาระบบสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
ปี พ.ศ. 2563
ปีที่ (Vol.) 6
ฉบับที่ (No.) 1
เดือนที่พิมพ์ มกราคม - มิถุนายน
เลขที่หน้า (Page) 27-40
ISSN 2672-9008 (Online)
DOI 10.14456/mitij.2020.3
ORCID_ID
ไฟล์บทความ https://mitij.mju.ac.th/ARTICLE/R63003.pdf
  
เอกสารอ้างอิง 
  กิตติ ภักดีวัฒนกุล และ พนิดา พานิชกุล. (2546). คัมภีร์การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. กรุงเทพฯ: เคทีพี แอนด์คอนซัลท์ จำกัด.
  เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ. (2560). วงจรการพัฒนาระบบ. ค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2562. ค้นจาก http://www.logistics.go.th/index.php/en/news-article/Bol-article/9386-2017-03-09-01-34.
  ชัยรัตน์ รอดเคราะห์. (2555). การพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อการบริหารจัดการงานปริญญานิพนธ์และสารนิพนธ์บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ. (วิทยานิพนธ์ปริญญ วท.ม. (การจัดการทางวิศวกรรม)). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
  ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์ และ ไพบูลย์ เกียรติโกมล. (2542). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  พิรพร เขียวเขิน และ สำรวย กมลายุตต์. (2560). ระบบสารสนเทศเพื่อติดตามความก้าวหน้าในการจัดทำดุษฎีนิพนธ์วิทยานิพนธ์และการศึกษาค้นคว้าอิสระของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์ สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. รังสิตสารสนเทศ 23(2): 35-58.
  รุ่งลักษมี รอดข้อ. (2561). ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ. ค้นเมื่อ 3 เมษายน 2563 ค้นจาก http://www.elfms.ssru.ac.th/runglaksamee_ro/file.php/1/ACC4205_61/_.pdf
  สมพร พุทธาพิทักษ์ผล. (2546). การจัดการสารสนเทศ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
  สาวิตรี พิพิธกุล และ ฤทธิชัย ผานาค. (2560). การพัฒนาโปรแกรมเว็บไซต์ระบบศูนย์ข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. วารสารชุมชนวิจัย 11(1): 17-27.
  อรยา ปรีชาพานิช. (2557). คู่มือเรียน การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. นนทบุรี: บริษัท ไอดีซี พรีเมียร์ จำกัด.
  โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2548). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. กรุงเทพฯ: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).
  ElysiumAcademy Private Limited. (2019). What are the Software Development Life Cycle (SDLC) phases? Retrieved on 8 July 2019 from https://www.linkedin.com/pulse/What-software-development-life-cycle-sdlc-phases-private-limited.
  Half, R. (2019). 6 Basic SDLC Methodologies: Which One is Best? Retrieved on 8 July 2019 from https://www.roberthalf.com/blog/salaries-and-skills/6-basic-sdlc-methodologies-which-one-is-best.
  Howard, M. and Lipner, S. (2006). The Security Development Lifecycle. Unitecd State: Microsoft Press.
  Olajide, A. O. (2016). Software Engineering Lecture Notes on SDLC Models. Retrieved on 4 April 2020 from https://www.researchgate.net/publication/311559089_Software_Engineering_Lecture_Notes_on_SDLC_Models.
  SOFTWARETESTINGHELP. (2019). What is Software Development Life Cycle (SDLC): Definition and Phases. Retrieved on 8 July 2019 from https://www.softwaretestinghelp.com/software-development-life-cycle-sdlc/
  Swersky, D. (2018), The SDLC: 7 phases, popular models, benefits & more. Retrieved on 2 June 2019 from https://raygun.com/blog/software-development-life-cycle/
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กลับสู่ เมนูค้นหา
       
กองบรรณาธิการวารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290  mitij@mju.ac.th