วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม 
Maejo Information Technology and Innovation Journal (MITIJ)
 ค้นหา | หน้าแรก   
 
 
 
» หน้าแรก
» ฉบับปัจจุบัน
» ฉบับย้อนหลัง
» ค้นหาวารสาร/บทความ
» ลงทะเบียน (OJS/PKP)
 

                               :: รายละเอียดบทความ ::
กลับสู่เมนูค้นหา 
ชื่อบทความ
การพัฒนาเว็บไซต์สำเร็จรูปเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง หลักการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลท่าเรือประชานุกูล
ชื่อผู้แต่ง ศิริพล แสนบุญส่ง, ชื่นกมล เพ็ชรมณี และธนารีย์ ปี่ทอง (Siripon Saenboonsong, Chuenkamol Phetmanee and Thanaree Peethong)
หน่วยงาน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา (Department of Computer Education, Faculty of Education, Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University)
ชื่อวารสาร วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2563
บทคัดย่อ

            งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเว็บไซต์สำเร็จรูปเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง หลักการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลท่าเรือประชานุกูล 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยเว็บไซต์สำเร็จรูปเพื่อการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยเว็บไซต์สำเร็จรูปเพื่อการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลท่าเรือประชานุกูล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 20 คน โดยการใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) เว็บไซต์สำเร็จรูปเพื่อการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าทดสอบที
            ผลการวิจัยพบว่า 1) เว็บไซต์สำเร็จรูปเพื่อการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.51 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.59 2) นักเรียนที่เรียนด้วยเว็บไซต์สำเร็จรูปเพื่อการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยเว็บไซต์สำเร็จรูปเพื่อการเรียนรู้ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.42 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.75       

คำสำคัญ เว็บไซต์สำเร็จรูปเพื่อการเรียนรู้, หลักการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์, สื่อการเรียนรู้
ปี พ.ศ. 2563
ปีที่ (Vol.) 6
ฉบับที่ (No.) 1
เดือนที่พิมพ์ มกราคม - มิถุนายน
เลขที่หน้า (Page) 41-53
ISSN 2672-9008 (Online)
DOI 10.14456/mitij.2020.4
ORCID_ID 0009-0009-6174-199X
ไฟล์บทความ https://mitij.mju.ac.th/ARTICLE/R63004.pdf
  
เอกสารอ้างอิง 
  กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
  ณัฏฐพงษ์ สายพิณ. (2560). บทบาทของการสื่อสารอินโฟกราฟิกต่อสังคมไทย. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์ 11(2), 145-179.
  นิตยา วงศ์ใหญ่. (2560). แนวทางการพัฒนาทักษะการรู้ดิจิทัลของดิจิทัลเนทีฟ. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ 10(2), 1630-1642.
  ตันติกร จันทรวิบูลย์ จุฑามาศ เมืองวงศ์ และบริบูรณ์ ชอบทำดี. (2559). การพัฒนาสื่อแอนิเมชั่นอินโฟกราฟิก เรื่อง หลักการทำงาน บทบาท และประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอยุธยานุสรณ์. วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม 2(2), 70-82.
  ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2545). หลักการออกแบบและการสร้างเว็บเพื่อการเรียนการสอน.กรุงเทพฯ: อรุณกราฟิก.
  พรรณเชษฐ ณ ลำพูน. (2560). การประยุกต์ใช้เกมิฟิเคชั่นในวิชาการจัดการโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, 12(12-13), 4-14.
  พัชราภรณ์ วรโชติกำจร และฐะณุพงศ์ ศรีกาฬสินธุ์. (2558). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต:ระบบการจัดการฐานข้อมูล. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม 3(1): 51-66.
  พินิจ มีคำทอง. (2561). กูเกิ้ลแอปพลิเคชั่น : นวัตกรรมทางการศึกษาสำหรับครูยุคศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 8(3), 72-80.
  วิจารณ์ วานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
  วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2542). แผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: คอมพิวเตอร์กราฟฟิต.
  ราชกิจจานุเบกษา. (วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2562). ข้อบังคับคุรุสภา. ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. เล่ม 136 ตอนพิเศษ 69 ง : 18-20.
  ลัดดาวรรณ ศรีฉิม และบัญชา สำรวยรื่น. (2559). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ผ่านเว็บด้วยโปรแกรม Google Siteตามแนวทฤษฎีสร้างสรรค์ความรู้ เรื่อง หลักการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 10(1), 129-144.
  สุภิดา เที่ยงจันทร และศิวนิต อรรถวุฒิกุล. (2560). ผลการเรียนรู้ผ่านบทเรียนออนไลน์ด้วยกลวิธีการแก้ปัญหา STAR วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องพื้นที่ผิวและปริมาตรของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดธรรมศาลา (หลวงพ่อน้อยอุปถัมภ์). Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ 10(2), 1643-1656.
  อดิศักดิ์ คันธโรรส. (2559). การพัฒนาเว็บเพจเพื่อการศึกษารายวิชาคอมพิวเตอร์ เรื่อง การใช้งานคอมพิวเตอร์ในการค้นหาข้อมูล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
  Dikmen, C. (2019). “The Effect of Web-Based Instruction Designed by Dick and Carey Model on Academic Achievement, Attitude and Motivation of Students in Science Education”. Journal of Learning and Teaching in Digital Age 4(1) : 34-40.
  Ebrahimi, S. S. (2020). “Environmental Sciences Students Achievements via Conventional and Technology-Based Instructions”. Journal of Environmental Treatment Techniques 8(1): 437-441.
  Ismail, M. N., & Mamat, N. (2019). “Multimedia Web-Based Constructivist Learning Application for Information Literacy Skills Development”. Journal of ICT in Education 1: 16-27.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กลับสู่ เมนูค้นหา
       
กองบรรณาธิการวารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290  mitij@mju.ac.th