วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม 
Maejo Information Technology and Innovation Journal (MITIJ)
 ค้นหา | หน้าแรก   
 
 
 
» หน้าแรก
» ฉบับปัจจุบัน
» ฉบับย้อนหลัง
» ค้นหาวารสาร/บทความ
» ลงทะเบียน (OJS/PKP)
 

                               :: รายละเอียดบทความ ::
กลับสู่เมนูค้นหา 
ชื่อบทความ
การพัฒนาระบบแสดงข้อมูลผลการดำเนินงานกลุ่มธุรกิจเกษตรรุ่นใหม่ จังหวัดลำพูน โดยใช้แนวคิดระบบธุรกิจอัจฉริยะ
ชื่อบทความ(English)
The Development of Operation Data Visualization System of Lamphun Young Smart Farmer (YSF) by Business Intelligence Concept
ประเภทบทความ
บทความวิจัย
ชื่อผู้แต่ง ฉัตร ชูชื่น (Chat Chuchuen)
หน่วยงาน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (Faculty of Business Administration Maejo university)
ชื่อวารสาร วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2565
บทคัดย่อ

            งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ ออกแบบและพัฒนาระบบแสดงข้อมูลผลการดำเนินงานกลุ่มธุรกิจเกษตรรุ่นใหม่ จังหวัดลำพูน โดยใช้แนวคิดระบบธุรกิจอัจฉริยะ และวัดประสิทธิภาพในการแสดงผลการใช้งานสารสนเทศเชิงวิเคราะห์โดยใช้ระบบแสดงข้อมูลผลการดำเนินงานกลุ่มธุรกิจเกษตรรุ่นใหม่ จังหวัดลำพูน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือกลุ่มธุรกิจเกษตรรุ่นใหม่ จังหวัดลำพูน ที่ได้ทำการขึ้นทะเบียนกับสำนักงานเกษตรจังหวัดลำพูน จำนวน 20 กลุ่ม เพื่อใช้ข้อมูลการดำเนินงานในการวิเคราะห์และพัฒนาเป็นส่วนระบบแสดงผล (Dashboard) โดยใช้แนวคิดระบบธุรกิจอัจฉริยะ ผ่านโปรแกรม Microsoft Power BI Desktop โดยได้แบ่งส่วนการแสดงผลเป็น ส่วนข้อมูลพื้นฐาน ส่วนวิเคราะห์ข้อมูลผลประกอบการรายได้ของกิจการ และส่วนวิเคราะห์การพยากรณ์รายได้ของกิจการในอนาคต โดยการคำนวณความแม่นยำตามค่าเฉลี่ยของร้อยละความผิดพลาด (MPE) ของการพยากรณ์ของระบบแสดงข้อมูลผลการดำเนินงานกลุ่มธุรกิจเกษตรรุ่นใหม่ จังหวัดลำพูน โดยใช้แนวคิดระบบธุรกิจอัจฉริยะ พบว่ามีค่าความแม่นยำเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 96.44  โดยใช้ข้อมูลผลการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจเกษตร ระหว่างปี พ.ศ. 2563 – 2564   ในส่วนนี้เป็นการแสดงให้เห็นว่าข้อมูลการพยากรณ์ที่ได้จากการวิเคราะห์และนำเสนอโดยระบบแสดงข้อมูลผลการดำเนินงานกลุ่มธุรกิจเกษตรรุ่นใหม่ จังหวัดลำพูน โดยใช้แนวคิดระบบธุรกิจอัจฉริยะ สามารถที่จะนำเอาไปใช้งานได้อย่างน่าเชื่อถือและมีประสิทธิภาพเพียงพอในการประกอบการตัดสินใจ

คำสำคัญ ระบบแสดงข้อมูลผลการดำเนินงาน, การพยากรณ์, ระบบธุรกิจอัจฉริยะ, ค่าเฉลี่ยของร้อยละความผิดพลาด, กลุ่มธุรกิจเกษตรรุ่นใหม่ จังหวัดลำพูน
ปี พ.ศ. 2565
ปีที่ (Vol.) 8
ฉบับที่ (No.) 2
เดือนที่พิมพ์ กรกฎาคม - ธันวาคม
เลขที่หน้า (Page) 66-86
ISSN ISSN 2672-9008 (Online)
DOI 10.14456/mitij.2022.10
ORCID_ID 0000-0002-4893-9848
ไฟล์บทความ https://mitij.mju.ac.th/ARTICLE/R65012.pdf
  
เอกสารอ้างอิง 
  กุสุมา สีดาเพ็ง. (2560). การวิเคราะห์ความเคลื่อนไหวการขายของวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรผักเชียงดา อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ตามหลักการของระบบธุรกิจอัจฉริยะ. การประชุมวิชาการ วิทยาการจัดการวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 10 และนานาชาติครั้งที่ 3 ภายใต้หัวข้อ “การจัดการนวัตกรรมสู่การยกระดับเศรษฐกิจฐานราก”, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
  ณัฐพล วีระชาลี. (2561). การประยุกต์ใช้เทคนิคการพยากรณ์สำหรับบริษัทผู้ผลิตสินค้าเคมีเพื่อการเกษตรกร. [การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.]
  ธีระพงษ์ ทับพร ยอดนภา เกษเมือง เอกพล ทับพร และ พัชรดิษฐ์ แปงจิตต์. (2561).การพยากรณ์ยอดขายและการบริหารสินค้าคงคลังของสินค้าคางหมึกยักษ์แช่แข็ง : บริษัท สยามแม๊คโคร จำกัด มหาชน.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี), 2, หน้า 28 – 41.
  นรวัฒน์ เหลืองทอง และ นันทชัย กานตานันทะ. (2559). การเลือกตัวแบบพยากรณ์ผลผลิตการเกษตรที่เหมาะสม. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 3, หน้า 372 – 381.
  ปัทมา เที่ยงสมบุญ และ นิเวศ จิระวิชิตชัย. (2561). การพัฒนาระบบธุรกิจอัจฉริยะเพื่อสนับสนุนการพยากรณ์และการตัดสินใจของผู้บริหาร กรณีศึกษากลุ่มโรงพยาบาล. [วิทยานิพนธ์หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.]
  พิพัฒน์ เกียรติ์กมลรัตน์ (2560). ระบบธุรกิจอัจฉริยะเพื่อสนับสนุนงานขายของผู้บริหาร กรณีศึกษา กลุ่มธุรกิจค้าปลีก. [วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.]
  พีระพงษ์ พิพัฒน์เจษฏากุล และ เอื้อน ปิ่นเงิน. (2562). การพัฒนาระบบธุรกิจอัจฉริยะเพื่อสนับสนุนงานจำหน่ายไฟฟ้า. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2562. หน้า 48 - 56.
  สาครรัตน์ นักปราชญ์ และ คัดนางค์ จามะริก. (2559) . การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐในรูปแบบ Business Intelligence (BI) ในยุค Big Data. วารสาร กสทช, หน้า 553-577.
  สุทธิดา ไชยกิจ และ ชูศักดิ์ พรสิงห์. (2564). การลดระยะเวลาการสั่งซื้อวัตถุดิบเพื่อลดต้นทุนการจัดเก็บ.วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 17, หน้า 15-30.
  Etaati, L. (2019). R Visualization in Power BI. In L. Etaati (Ed.), Machine Learning with Microsoft Technologies: Selecting the Right Architecture and Tools for Your Project (pp. 37–64). Apress. https://doi.org/10.1007/978-1-4842-3658-1_4
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กลับสู่ เมนูค้นหา
       
กองบรรณาธิการวารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290  mitij@mju.ac.th