วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม 
Maejo Information Technology and Innovation Journal (MITIJ)
 ค้นหา | หน้าแรก   
 
 
 
» หน้าแรก
» ฉบับปัจจุบัน
» ฉบับย้อนหลัง
» ค้นหาวารสาร/บทความ
» ลงทะเบียน (OJS/PKP)
 

                               :: รายละเอียดบทความ ::
กลับสู่เมนูค้นหา 
ชื่อบทความ
การพัฒนาระบบฐานข้อมูลท่องเที่ยงเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อผู้แต่ง ชัยทัศน์ เกียรติยากุล(1), กาญจนา ขัติทะจักร์(2*), กาญจนา ทองบุญนาค(3), เกษรา ปัญญา(4) และศุภกฤษ เมธีโภคพงษ์(5) (Chaiyathad Kiattiyakul(1), Kanchana Khatthachak(2*), Kanjana Thongboonnak(3), Ketsara Punya(4) and Supakrit Meteebhokpong(5))
หน่วยงาน ภาควิชาคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่(1,2,3,4,5) (Computer Department, Faculty of Science and Technology, Chiang Mai Rajabhat University) (1,2,3,4,5) *Corresponding author: Kanjana_kat@g.cmru.ac.th
ชื่อวารสาร วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ปีที่ 10 ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม 2567
บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบฐานข้อมูลท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ และ 2) เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบฐานข้อมูลท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่ ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยโดยการประเมินความพึงพอใจ ทำโดยการคัดเลือกเลือกผู้ทดลองใช้งานระบบจำนวน 60 คนแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบฐานข้อมูลท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่าระบบที่พัฒนาขึ้นในรูปแบบเว็บแอปพลิเคชัน (Web-Based Application) โดยใช้ภาษาพีเอชพี (PHP) ร่วมกับระบบจัดการฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล (MySQL Database Management System) ซึ่งสามารถเพิ่มข้อมูล การลบข้อมูล การค้นหาข้อมูล การปรับปรุงแก้ไขข้อมูล และการแสดงผลข้อมูลท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และผลจากการประเมินความพึงพอใจในการใช้งานระบบฐานข้อมูล พบว่าผู้ใช้งานฐานข้อมูลท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.38 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.63

คำสำคัญ ระบบฐานข้อมูล; วัฒนธรรม; ท่องเที่ยว; ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
ปี พ.ศ. 2567
ปีที่ (Vol.) 10
ฉบับที่ (No.) 3
เดือนที่พิมพ์ กันยายน - ธันวาคม
เลขที่หน้า (Page) 87-99
ISSN ISSN 3027-7280 (Online)
DOI
ORCID_ID 0009-0003-7577-0712
ไฟล์บทความ https://mitij.mju.ac.th/ARTICLE/R67036.pdf
  
เอกสารอ้างอิง 
  ธิดาลักษณ์ อยู่เย็น วิจิตรา มนตรีและณรงค์ศักดิ์ ศรีสม. (2560). การพัฒนาฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวชุมชนชาติพันธุ์ในเขตพื้นที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย. วารสารการวิจัยกาสะลองคำ. 11(3):11-18.
  นรสิงห์ สวัสดิ์วงษ์, สำรวย กมลายุตต์ และทรงลักษณ์ สกุลวิจิตร์สินธุ. (2563). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการจัดการงานภาพถ่ายและวีดิทัศน์ของงานเวชนิทัศน์ กลุ่มงานส่งเสริมและเผยแพร่วิชาการ สถาบันโรคทรวงอก. การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาครั้งที่ 25 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต (13 สิงหาคม 2563). 2414-2425.
  ประภาส อินทนู, วิภวานี เผือกบัวขาว, สมนึก ชูปานกลีบ. (2565). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนวัดเกาะ ตำบลท่าราบ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี. วารสารมหาจุฬาวิชาการ. 9(1). 21-36.
  บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น
  พีรณัฐ ทองมีและทัศนันท์ ชูโตศรี. (2562). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลนักศึกษาและศิษย์เก่า แขนงวิชาสารสนเทศศึกษา สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติของนักศึกษาด้านมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ครั้งที่ 2 ประจำปี 2562 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กรุงเทพ (19 มกราคม 2562), 1816-1830.
  ศักดา ปินตาวงค์. (2563). การพัฒนาระบบจัดการฐานข้อมูลงานวิจัยผ่านเว็บแอปพลิเคชันของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพรเกียรติ. วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม. 6(2): 55-70.
  ศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมในภาวะวิกฤต. (ม.ป.ป.). กลุ่มชาติพันธุ์ (Ethnic group). ค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2566 ค้นจาก https://langrevival.mahidol.ac.th/ethnic-groups/.
  รสิกา อังกูร, วิทยาธร ท่อแก้ว และสุภาภรณ์ ศรีดี. (2562). การสื่อสารภูมิปัญญาด้วยการท่องเที่ยวโดยชุมชน. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม. 9(1): 129-154.
  สุกัญชลิกา บุญมาธรรม. (2563). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลปัญหาและความต้องการของชุมชนในจังหวัดเพชรบุรี กรณีศึกษาอำเภอบ้านลาด (บ้านลาดโมเดล). วารสารวิชาการนวัตกรรมการจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 7(1): 51-62.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กลับสู่ เมนูค้นหา
       
กองบรรณาธิการวารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290  mitij@mju.ac.th