ชื่อบทความ |
การพัฒนาไลน์บอตช้างน้อยเมืองกื้ด สนับสนุนการเรียนรู้สาระวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย
|
ชื่อบทความ(English) |
Developing Line bot Changnoi Muangkued to support learning of social studies religion and culture for upper primary school students
|
|
|
ประเภทบทความ |
บทความวิจัย
|
ชื่อผู้แต่ง |
ไพรสันต์ สุวรรณศรี(1) และ พิมพ์ชนก สุวรรณศรี(2*) (Praisun Suwannasri(1) and Pimchanok Suwannasri(2*))
|
หน่วยงาน |
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (1), ภาควิชาคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่(2) (Chiangmai Rajabhat University Demonstration School(1), (Department of Computer, Faculty of Science and Technology, Chiang Mai Rajabhat University)) * Corresponding author: pimchanok_tham@cmru.ac.th
|
ชื่อวารสาร |
วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม 2568
|
บทคัดย่อ |
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาไลน์บอตช้างน้อยเมืองกื้ด ที่มีคุณภาพสนับสนุนการเรียนรู้สาระวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยสื่อไลน์บอตช้างน้อย เมืองกื้ด และ 3) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อไลน์บอตช้างน้อยเมืองกื้ด กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 โรงเรียนบ้านเมืองกื้ด จำนวน 30 คน ได้มาตามความสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ไลน์บอตช้างน้อยเมืองกื้ด 2) แบบประเมินคุณภาพไลน์บอตช้างน้อยเมืองกื้ด 3) แบบทดสอบ และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิตที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test มีผลการวิจัยดังนี้ 1) สื่อไลน์บอตช้างน้อยเมืองกื้ดสนับสนุนการเรียนการสอนของโรงเรียนบ้านเมืองกื้ดที่สร้างขึ้นมีคุณภาพในระดับมากที่สุดในทุกด้าน 2)ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนก่อนและหลังเรียนด้วยนวัตกรรมมีค่าเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 3) สอบถามความถึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อไลน์บอตช้างน้อยเมืองกื้ด ในภาพรวมโดยเฉลี่ยเท่ากับ 4.53 (S.D. = 0.71) ซึ่งอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก ดังนั้นไลน์บอตช้างน้อยเมืองกื้ดจึงเป็นสื่อที่มีคุณภาพและช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลบนแอปพลิเคชันไลน์ให้กับนักเรียนได้เป็นอย่างดีและยังสามารถดำเนินการขยายผลต่อยอดองค์ความรู้ที่ได้ในการดำเนินโครงการไปยังกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นและกลุ่มเป้าหมายอื่นได้อีกเป็นจำนวนมากด้วย
|
คำสำคัญ |
ไลน์บอต; นวัตกรรม; สังคมศึกษา
|
ปี พ.ศ. |
2568
|
ปีที่ (Vol.) |
11
|
ฉบับที่ (No.) |
2
|
เดือนที่พิมพ์ |
พฤษภาคม - สิงหาคม
|
เลขที่หน้า (Page) |
172-187
|
ISSN |
ISSN 3027-7280 (Online)
|
DOI |
|
ORCID_ID |
0009-0001-8531-8207
|
ไฟล์บทความ |
https://mitij.mju.ac.th/ARTICLE/R68019.pdf
|
| |
เอกสารอ้างอิง | |
|
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13. ค้นเมื่อ 12 มกราคม 2566 ค้นจาก https://mocplan.ops.moc.go.th/th/content/category/ detail/id/94/iid/6024
|
|
กิตติ ภักดีวัฒนะกุล และ พนิดา พานิชกุล. (2551). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. กรุงเทพฯ: เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์.
|
|
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
|
|
ถนอมพร (ตันพิพัฒน์) เลาหจรัสแสง. (2561). นวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาในยุคการเรียนรู้ 4.0. เชียงใหม่: ตองสาม ดีไซน์.
|
|
นวลจันทร์ ฤทธิ์ขำ. (2568). แชทบอทการศึกษา ตัวช่วยในการเรียนรู้. ค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2568 ค้นจาก https://www.scimath.org/article-mathematics/item/18301-07-01-2025
|
|
พิชชาพร คำทำ และ ประศาสตร์ บุญสนอง. (2564). แชทบอทสำหรับการบริการข้อมูลด้านสุขภาพ. ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 4 (หน้า 39 – 44). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
|
|
พิชญะ พรมลา และ สรเดช ครุฑจ้อน. (2563). ผลการใช้แชทบอทช่วยในการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานสำหรับผู้เรียนระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพในสถานศึกษาสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม 19(2): 100-109.
|
|
พิศาล สุขขี และ เจษฎา ชาตรี. (2567). การพัฒนาแอปพลิเคชัน “น้องลำดวน” ไลน์แชทบอทเพื่อแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิชาการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 10(1): 83-95.
|
|
มนต์ทิชา รัตนพันธ์ และ ฉัตรวดี สายใยทอง. (2566). การพัฒนา LineChatbot สำหรับงานบริการด้านงานวิจัยกรณีศึกษาสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. Journal of Applied Research on Science and Technology (JARST) 22(1): 78-89.
|
|
วสุ บัวแก้ว และ ปณิธิ เนตินันทน์. (2563). การพัฒนาระบบ LINE BOT สำหรับบัณฑิตวิทยาลัย. ใน การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15 (หน้า 2406 – 2413). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต.
|
|
สุมนา บุษบก และคณะ (2563). การพัฒนาแอปพลิเคชัน Chatbot สำหรับงานบริการนักศึกษา กรณีศึกษากองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 19: 85–94.
|
|
อภิชัย ตระหง่านศรี. (2566). การพัฒนาระบบสนทนาอัตโนมัติเพื่อแสดงผลข้อมูลการเรียนผ่านไลน์แชทบอท. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร 6(2): 127–138.
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|